คุณกำลัง วางแผนตั้งครรภ์ อยากมีลูก หรือรอผลอยู่ใช่หรือไม่? Mama’s Choice ได้จัดทำคู่มือเฉพาะสำหรับแม่ที่กำลังอยากมีลูก อยากท้องอย่างมีคุณภาพ แม่นำไปใช้ได้เลย!
20 ข้อปฏิบัติต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนจากนี้ เพื่อเตรียมร่างกายของแม่ให้พร้อม เพื่อการตั้งครรภ์ที่ราบรื่นและมีความสุข
1. ตรวจสุขภาพอย่างละเอียด
เมื่อวางแผนการตั้งครรภ์ ขั้นตอนแรกที่ต้องทำคือการตรวจสุขภาพ และไม่ใช่เฉพาะสำหรับฝ่ายผู้หญิงเท่านั้น ฝ่ายผู้ชายก็ต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ด้วย การตรวจสุขภาพต้องทำในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ตามรายการดังต่อไปนี้ :
- ตรวจเลือด
- ระดับคอเลสเตอรอล
- ประวัติสุขภาพส่วนตัวของว่าที่คุณแม่และคุณพ่อ
- ประวัติสุขภาพครอบครัวของทั้งสองฝ่าย
- ตรวจสอบน้ำหนักตามดัชนีมวลกาย (BMI) เพื่อคำนวณหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น
- ยกเลิกวิธีการคุมกำเนิดชั่วคราวทุกประเภท
- ฉีดวัคซีนที่จำเป็นสำหรับการเริ่มตั้งครรภ์ เช่น วัคซีนโรคอีสุกอีใสและโรคหัดเยอรมัน
- ขอคำปรึกษาจากแพทย์เรื่องการรับประทานวิตามินเสริม
- นัดพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามแผนการตั้งครรภ์
2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
แพทย์จะคำนวณน้ำหนักของคุณตามดัชนีมวลกาย (BMI) ที่แนะนำ และอาจแนะนำเคล็ดลับในการเพิ่มหรือลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย
3. เลือกอาหารที่ดีกว่า
หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารขยะ อาหารสำเร็จรูป และอาหารที่ผสมสารกันบูด เพิ่มปริมาณการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยไฟเบอร์ แร่ธาตุ และวิตามิน โดยเฉพาะประเภทผักและผลไม้ ต้องรับประทานให้ได้ทุกวัน ใช่แล้วค่ะ ทุกวัน!
4. สะสมกรดโฟลิค
กรดโฟลิคสามารถเพิ่มความโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ทั้งจากฝั่งผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนี้ กรดโฟลิคยังสามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย ดังนั้น ผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรือ กำลังเริ่มตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรับประทานกรดโฟลิก โดยควรบริโภคให้ได้อย่างน้อย 400-800 มก. ต่อวัน
5. หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง
ขณะวางแผนตั้งครรภ์ ไม่ควรประมาทกับการรับประทานยา โดยเฉพาะยาที่ซื้อมารับประทานแก้อาการต่าง ๆ ที่ซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป เพราะอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ หรืออาจเป็นอันตรายต่อทารกหากเริ่มตั้งครรภ์ไปแล้วโดยไม่รู้ตัว หากมีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ระหว่างช่วงวางแผนตั้งครรภ์ เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ ท้องเสีย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดท้อง ฯลฯ จะต้องได้รับการรักษาด้วยยาตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น
6. บันทึกช่วงเวลาไข่ตก
การรู้ระยะเวลาที่ไข่ตกแน่นอนเป็นผลดีต่อการวางแผนการตั้งครรภ์มาก เพราะนอกจากทำให้รู้ว่าเมื่อใดที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุดแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าปัญหาอาจเกิดจากขั้นตอนการปฏิสนธิ ในกรณีที่พยายามตั้งครรภ์ตามรอบไข่ตกอย่างแม่นยำแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่สำเร็จ
ต้องแน่ใจว่าบันทึกสิ่งเหล่านี้อย่างถูกต้องทุกครั้ง:
- จำนวนวันหรือรอบของประจำเดือน
- อาการทางร่างกายช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน เช่น ปวดท้อง มีเลือดออกเป็นจุด และอื่น ๆ
โดยปกติรอบประจำเดือนจะเกิดขึ้นประมาณ 28 วัน แต่ก็สามารถอยู่ในช่วงระหว่าง 21-35 วัน ซึ่งสามารถใช้แอปพลิเคชั่นติดตามรอบประจำเดือนได้ฟรี หากประจำเดือนทิ้งช่วงไปนานกว่า 21 – 35 วัน ควรปรึกษาแพทย์
7. มีเพศสัมพันธ์อย่างเป็นธรรมชาติ
เป็นมีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ถือว่าเป็นจำนวนที่กำลังเหมาะสม และที่สำคัญที่สุด ร่างกายของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะต้องอยู่ในสภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เคร่งเครียด หรือ ฝืนจนรู้สึกอ่อนล้า
ควรมีเพศสัมพันธ์ 1-3 วันก่อนไข่ตก และอาจสามารถมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 12-24 ชั่วโมงหลังจากการตกไข่ หรือเรียกได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของช่วงเวลาที่ไข่พร้อมที่สุด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิมากขึ้น
8. พักผ่อนให้เพียงพอ
ทั้งสองฝ่ายควรนอนพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การอดหลับอดนอนจะทำให้สุขภาพร่างกายของคุณแย่ลง และนอกจากนี้ หลังจากตั้งครรภ์แล้ว แม่จะนอนหลับยากขึ้น ดังนั้น แม่ควรทำความคุ้นเคยกับตารางการนอนแบบปกติ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้เมื่อเริ่มตั้งครรภ์
9. จัดการความเครียดอย่างถูกวิธี
การใช้ชีวิตที่ยุ่งเกินไป เต็มไปด้วยความกดดันจากที่ทำงาน หรือคิดกังวลเรื่องต่าง ๆ มากเกินไป เหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคในการวางแผนมีลูก และควรหาวิธีจัดการกับความเครียดอย่างถูกต้อง
คุณสามารถเดินออกกำลังเบา ๆ ในตอนเช้า เล่นโยคะเป็นประจำ หรือทำกิจกรรมที่ทำให้คุณสงบและมีความสุขได้ง่าย ๆ การจัดการความเครียดควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสามารถทำร่วมกันกับว่าที่คุณพ่อได้ เพื่อสร้างบรรยากาศและช่วงเวลาที่ดีด้วยกัน
10. ออกกำลังกายเป็นประจำ
โยคะ พิลาทีส ว่ายน้ำ หรือเดินในตอนเช้า เป็นทางเลือกของการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อให้ร่างกายคุ้นเคยกับกิจวัตรประจำวันแบบนี้ และเมื่อตั้งครรภ์แล้วค่อยลดความเข้มข้นของแต่ละกิจกรรมตามความเหมาะสม โดยขณะตั้งครรภ์ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน
11. หลีกเลี่ยงบุหรี่และแอลกอฮอล์
บุหรี่และแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ควรงดทันที ไม่เพียงแค่ในระหว่างตั้งครรภ์ แต่เมื่อเริ่มวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ก็ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุหรี่และแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาดทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย การได้รับสารนิโคตินในบุหรี่ และการรับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายในช่วงพยายามตั้งครรภ์ จะส่งผลให้โอกาสในการตั้งครรภ์น้อยลง และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้แท้งบุตร หรือทารกพิการแต่กำเนิดได้
12. ดูแลสุขภาพเหงือกและฟันให้ดี
เนื่องจากในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์จะทำให้ฟันและเหงือกของคุณมีปัญหามากขึ้น หรือเจ็บปวดได้บ่อยขึ้น เช่น ฟันผุ เลือดออกที่เหงือก ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในคนท้อง
ดังนั้น เพื่อลดปัญหาสุขภาพปากและฟัน ว่าที่คุณแม่ควรควบคุมดูแลสุขภาพช่องปากล่วงหน้า โดยการเข้ารับคำปรึกษากับทันตแพทย์เพื่อทำการอุดฟัน หรือทำความสะอาดหินปูนโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อตั้งครรภ์แล้ว การรักษาด้านทันตกรรมบางอย่างอาจไม่สามารถทำได้
13. จำกัดคาเฟอีน
หากเคยดื่มกาแฟเป็นประจำทุกเช้าจนติดเป็นนิสัย ถึงเวลาที่จะต้องงดหรือลดมันลงแล้ว อย่างน้อยควรเว้นความถี่ในการดื่มเป็นทุก ๆ 2 วัน เพราะเมื่อคุณเริ่มตั้งครรภ์เมื่อไร การดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะต้องถูกจำกัดอย่างเข้มงวด โดยสามารถดื่มได้อย่างมากที่สุด 2 แก้วเล็กต่อวัน และจะต้องทำแบบนี้ไปจนกระทั่งหลังคลอดบุตร เพื่อรักษาสุขภาพของทารกในครรภ์
14. ดื่มน้ำให้มากขึ้น
มากกว่า 60% ของร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำ ดังนั้นอย่าลืมดื่มน้ำให้มากกว่า 9 แก้วต่อวัน ในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้สุขภาพโดยรวมของแม่สมบูรณ์ และควรทำให้เป็นนิสัยตั้งแต่นี้ไปได้เลย!
15. ศึกษาวิธีการตั้งครรภ์ซ้ำ ๆ
การอ่านข้อมูลพื้นฐานของกระบวนการในการตั้งครรภ์จนเข้าใจอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้แม่วางแผนวันที่เหมาะสมสำหรับการพยายามตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำที่สุด
ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ได้ใน บทความ ของ Mama’s Choice
16. ว่าที่คุณพ่อต้องมีส่วนร่วมด้วย
แม้ว่าการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นในร่างกายของแม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายไม่มีบทบาทในการวางแผนการตั้งครรภ์ ดังนั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าว่าที่คุณพ่อก็ศึกษาข้อมูลจำเป็นนี้ไปพร้อม ๆ กันด้วย
การรายงานจาก Healthline 30% ของผู้มีบุตรยาก หรือมีปัญหาในการตั้งครรภ์นั้น มาจากปัจจัยด้านความพร้อมของเพศชาย ดังนั้น อย่าลืมชวนว่าที่คุณพ่อมารับทราบข้อมูลส่วนนี้ด้วยกัน
17. พยายามสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
เมื่อคุณตั้งครรภ์แล้วร่างกายอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพบ่อยขึ้น ดังนั้น เราจึงขอแนะนำให้คุณดูแลสุขภาพของตัวเอง ‘มากขึ้นเป็นพิเศษ’ เพื่อรักษาภูมิต้านทานที่ดีของร่างกาย โดยปกติแพทย์จะสั่งวิตามินซีหรือแนะนำอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับโปรแกรมการตั้งครรภ์เพื่อช่วยในเรื่องนี้
18. ตรวจสอบประกันสุขภาพ
ก่อนจะตั้งครรภ์สำเร็จ คุณควรให้ความสำคัญกับเรื่องประกันสุขภาพ เพราะหลังจากตั้งครรภ์แล้ว ทั้งว่าที่คุณพ่อและคุณแม่จะมีภาระเพิ่มเติมมากขึ้น ดังนั้น ประกันสุขภาพควรครอบคลุมถึงการตรวจติดตามพัฒนาการในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ และการรักษาหากจำเป็น เพื่อให้การสร้างครอบครัวใหม่เป็นไปอย่างราบรื่น
19. การสื่อสารที่ดี
การใช้ชีวิตคู่เป็นเรื่องที่จะต้องร่วมมือกัน และยอมรับกันและกันในทุกแง่มุม การวางแผนการตั้งครรภ์ควรเป็นไปอย่างเปิดเผย และควรได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างมีความสุข
20. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารพิษ
ฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคงไม่มีใครที่ต้องการสัมผัสกับสารพิษโดยตรงอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า เรามีโอกาสรับเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกายได้กว่า 300 ชนิด ต่อวัน เพียงแค่ใช้ชีวิตตามปกติ โดยเราอาจสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายจากสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษจากอากาศ หรือจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เป็นต้น
วางแผนตั้งครรภ์ อยากมีลูก ต้องมีความรู้เรื่องสารพิษอันตราย!
อย่างไรก็ตาม การได้รับสารพิษที่สะสมในปริมาณสูงในร่างกายทำให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่ดีต่อมดลูกของแม่ ซึ่งมีผลต่อการเตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ ทั้งว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ ควรปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษ ดังนี้:
- ใช้หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมข้างนอกอาคาร เพื่อไม่ให้สัมผัสกับมลพิษทางอากาศ
- เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายหรือผิวหน้า เช่น สบู่ แชมพู โลชั่น ยาสีฟัน ฯลฯ ที่ไม่มีสารพิษและสารเคมีอันตรายในส่วนผสม
- หลีกเลี่ยงสาร SLS พาราเบน พทาเลท ไตรโคลซาน และ BPA ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางที่ใช้ ไม่มีส่วนผสมของสารพาราเบน ไฮโดรควิโนน หรือสารปรอท
- หาความรู้เรื่องสารเคมีอันตราย และตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งที่ใช้อุปโภคบริโภคอยู่ ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีเหล่านั้น โดยอ่านได้จากฉลากข้างบรรจุภัณฑ์
โปรดจำไว้ว่าสิ่งที่เข้ามาในร่างกายไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมจะมีผลต่อสุขภาพของคุณทั้งสิ้น โดยเฉพาะสารพิษที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง
การสัมผัสสารพิษบางชนิดอาจยังไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติในทันที แต่การสะสมสารพิษในร่างกายระยะยาว ย่อมเป็นผลเสียต่อระบบและอวัยวะในร่างกายอย่างแน่นอน ดังนั้นหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากอันตรายของสารพิษเพื่อให้การตั้งครรภ์ของคุณเป็นการตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพและมีความสุข
เมื่อได้ค้นพบบทความนี้แล้ว เราหวังว่าผลการทดสอบการตั้งครรภ์ของคุณจะเป็นบวก
ติดตามข่าวสาร สาระ และเกร็ดความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพคุณแม่ และวิธีเลี้ยงลูก ได้ที่ Mama’s Choice Blog
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของ Mama’s Choice Thailand ได้ที่ Shopee Official Store
ratchadaporn