การมีลูกคือโลกใบใหม่ของคุณแม่ที่มาพร้อมกับความสุขและความเจ็บปวดพร้อมๆ กัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องเรียนรู้สำหรับคุณและลูกน้อยอยู่ดี และจากการศึกษาของ CDC เปิดเผยว่า คุณแม่ให้นม มากกว่า 75% ต้องเจ็บหัวนมจากการให้นมลูกในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอดมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่กำลังตัดสินใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มันอาจจะดีกว่าหากคุณแม่ได้รู้วิธีในการบรรเทาอาการเจ็บหัวนมตั้งแต่เนิ่นๆ และ Mama’s Choice ก็ขอบอกไว้เลยว่าคุณแม่ไม่ได้ต่อสู้กับอาการเจ็บหัวนมอยู่คนเดียว และเพื่อเป็นการช่วยคุณแม่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ วันนี้เราจึงนำสาเหตุของการเจ็บหัวนม และวิธีในการบรรเทาอาการเจ็บหัวนมมาฝากคุณแม่ทุกคนค่ะ
สาเหตุที่ 1: ทารกอยู่ผิดท่า
หากลูกน้อยไม่ได้อยู่ในท่าหรือตำแหน่งที่ถูกต้องตอนที่ คุณแม่ให้นม ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกดูดน้ำนมได้น้อย และเมื่อน้ำนมของคุณแม่ไม่ได้ไหลออกมาตามปกติ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะคัดนม และโรคเต้านมอักเสบได้
ควรทำอย่างไร: ลองอุ้มทารกให้อยู่ในท่าและตำแหน่งที่ถูกต้อง เช่น ท่าให้ลูกนอนขวางบนตัก, ท่าให้ลูกอยู่ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งนอนหงาย, ท่าแม่ลูกนอนตะแคงเข้าหากัน นอกจากนี้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกดูดนมคุณแม่โดยที่เพดานปากของลูกได้สัมผัสกับหัวนมของคุณแม่ด้วย นอกจากนี้คุณแม่ก็อาจจะไปปรึกษาเรื่องการให้นมบุตรกับผู้ที่เชี่ยวชาญได้ เพื่อช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยอยู่ในท่าที่ถูกต้องที่สุดเมื่อต้องให้นมค่ะ
สาเหตุที่ 2: ภาวะคัดเต้านม
ภาวะคัดเต้านมมักเกิดจากการที่ทารกดูดนมของคุณแม่น้อยเกินไป หรือคุณแม่เว้นระยะการให้นมลูกนาน ลูกดูดนมคุณแม่ไม่บ่อยพอ คุณแม่จำกัดเวลาการดูดนมของลูก หรือคุณแม่ไม่ได้ระบายน้ำนมออกในช่วงที่ไม่ได้ให้นมลูก ทำให้มีปริมาณน้ำนมสะสมในเต้านมมาก ซึ่งสาเหตุนี้ก็อาจทำให้เต้านมของคุณแม่มีขนาดใหญ่ขึ้น แข็งตึง เจ็บ และร้อนได้ค่ะ
ควรทำอย่างไร: ก่อนให้นมลูกคุณแม่อาจต้องประคบร้อนเพื่อทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น และหลังจากให้นมลูกหากหน้าอกของคุณแม่บวมให้ประคบเย็นตาม เพราะจะช่วยลดอาการปวดและบวมของเต้านมได้ นอกจากนี้คุณแม่ควรให้นมลูกมากขึ้น และนวดหน้าอกเบาๆ แต่หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ คุณแม่ก็ต้องใช้วิธีระบายน้ำนมออก โดยอาจจะใช้มือบีบน้ำนมออกมา หรือใช้เครื่องปั๊มน้ำนมเป็นตัวช่วยค่ะ
สาเหตุที่ 3: ท่อน้ำนมอุดตัน
ความรู้สึกจะคล้ายๆ กับภาวะคัดเต้านม แต่ท่อน้ำนมอุดตันจะเป็นก้อนไตแข็งๆ ที่บริเวณเต้านม ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เต้านมได้ นอกจากนี้ยังมีลักษณะตึงๆ แข็งๆ และไวต่อการสัมผัส พร้อมกับมีรอยแดงบริเวณเต้านม ท่อน้ำนมอุดตันมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่ให้นมลูกไม่เพียงพอ หรือเมื่อลูกน้อยอยู่ในท่าดูดนมที่ไม่ถูกต้อง ทำให้น้ำนมไหลออกมาได้น้อยค่ะ
ควรทำอย่างไร: ก่อนให้นมลูกคุณแม่อาจต้องประคบร้อนเพื่อทำให้น้ำนมไหลดีขึ้น และพยายามนวดคลึงเต้านมบ่อยๆ ในการนวดคลึงเต้านม ให้นวดบริเวณหลังก้อนไตที่ท่อน้ำนมอุดตัน และนวดคลึงไปทางหัวนมเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลออกมา นอกจากนี้หากมีอาการนานกว่า 2 วัน คุณแม่ก็อาจทำการคลายท่อน้ำนมได้ แต่ก็ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนนะคะ
สาเหตุที่ 4: หัวนมแตก เจ็บหัวนม
อาการเจ็บหัวนมแล้วมีเลือดออกเป็นเรื่องธรรมดามากในบรรดาคุณแม่มือใหม่ค่ะ และมักเกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด และในช่วงนี้หัวนมของคุณแม่ก็จะมีความไวต่อการสัมผัสเป็นพิเศษ นอกจากนี้ร่างกายของคุณแม่จะยังไม่คุ้นชินกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมถึงการที่ทารกยังดูดนมไม่เต็มปาก และการวางตำแหน่งในการให้นมของทารกไม่ถูกต้อง บางครั้งปัญหาเหล่านี้ก็นำมาสู่อาการเจ็บหัวนมได้ง่าย ๆ
ควรทำอย่างไร: คุณแม่ควรรักษาผิวหนังรอบๆ เต้านมและหัวนมให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ อย่างการทาครีมรักษาหัวนม Mama’s Choice Intensive Nipple Cream ที่ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนมซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในช่วงแรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ในช่วงนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใส่ยกทรงที่แน่นเกินไป และเมื่อลูกน้อยเริ่มมีฟันขึ้นก็ยิ่งจะทำให้อาการเจ็บหัวนมแย่ลง ซึ่งอาจทำให้หัวนมของคุณแม่แตกและมีเลือดออกได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นคุณแม่อาจลองเอายางกัดให้ลูกน้อยกัดก่อนที่จะให้นม และหากลูกน้อยกัดหัวนมให้คุณแม่เอานิ้วแหย่เข้าไปตรงมุมปากของลูก แล้วหยุดให้นมทันที นอกจากนี้องค์กร La Leche League International ยังเตือนด้วยว่าการใช้สบู่ แชมพู และแอลกอฮอล์อาจทำให้หัวนมแห้งมากขึ้น
สาเหตุที่ 5: โรคเต้านมอักเสบ
โรคเต้านมอักเสบร้ายแรงกว่าภาวะคัดเต้านมหรืออาการเจ็บหัวนม มักเกิดจากการที่แบคทีเรียเข้าสู่เต้านมผ่านตุ่มหรือรอยแตกในหัวนม หากคุณแม่เป็นโรคเต้านมอักเสบแล้วไปให้นมบุตร ก็จะมีความรู้สึกเจ็บหัวนมมากขึ้น และเต้านมก็จะมีลักษณะบวมแดง และทำให้รู้สึกเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่อีกด้วย
ควรทำอย่างไร: หากคุณแม่รู้สึกเจ็บปวดทรมานจากโรคเต้านมอักเสบก็ให้ไปพบแพทย์ทันที โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และถึงคุณแม่จะเจ็บปวดแค่ไหน คุณแม่ก็อย่าลืมดูแลเต้านมให้ดีอยู่เสมอ เพื่อเร่งการฟื้นตัวของคุณแม่ให้กลับมาหายปกติค่ะ
สาเหตุที่ 6: ติดเชื้อรา
อีกสาเหตุของความเจ็บปวดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือการที่เต้านมแม่ติดเชื้อราที่ผ่านเข้ามาทางผิวหนังของหัวนมที่แตก ความเจ็บปวดจากการที่หัวนมติดเชื้อรา เป็นความเจ็บปวดที่คุณแม่หลายๆ คนแทบทนกันไม่ได้ นอกจากนี้เชื้อรายังสามารถทำให้ลิ้นของลูกน้อยเป็นแผล ทำให้ริมฝีปากเกิดความระคายเคือง หรือทำให้ปากของลูกน้อยแตกได้
ควรทำอย่างไร: หากหัวนมคุณแม่ติดเชื้อราก็ต้องได้รับการรักษา ดังนั้นควรไปหาหมอทันทีที่รู้สึกไม่ดีกับหัวนม เพื่อที่จะได้รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วลูกน้อยก็จะไม่ได้รับผลกระทบตรงนี้ด้วยค่ะ
อาการเจ็บปวดจากการให้นมบุตรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณแม่สามารถเอาชนะมันได้!
ในช่วงแรกของการให้นม ไม่มีคุณแม่คนไหนให้นมลูกได้ถูกต้องหมดทุกคน ดังนั้นคุณแม่ควรเรียนรู้และภูมิใจที่ได้มีวันนี้ และเตือนตัวเองเสมอว่าความเจ็บปวดอันเลวร้ายจากการให้นมลูกนั้นมันจะไม่อยู่กับคุณแม่นานหรอก หากคุณแม่ได้รับการสนับสนุนจากคนที่คุณรัก และใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมก็จะช่วยให้คุณแม่ผ่านฝันร้ายนี้ไปได้ค่ะ
Mama’s Choice Intensive Nipple Cream ครีมบำรุงหัวนมแตกแบบเข้มข้นของ Mama’s Choice จะช่วยบรรเทาและมอบความชุ่มชื้นให้กับหัวนมที่แห้งแตกของคุณแม่ได้ดี ด้วยเพราะมีส่วนผสมจากธรรมชาติ อย่างอินทผลัม (Date Palm) และน้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil) ซึ่งสกัดจากธรรมชาติ และยังเป็นเกรดอาหาร ทำให้มีความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อย โดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องล้างออกก่อนที่จะให้นมลูกเลยค่ะ
Kankanid
Content Manager at Mama's Choice