Search

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่มือใหม่! บอกลาปัญหา หัวนมแตก ช่วงให้นมลูก

“ช่วงเวลาของการให้นมลูก คือช่วงเวลาแสนพิเศษที่คุณแม่และลูกน้อยจะได้สื่อสายใยความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่ช่วงเวลาแห่งความสุขนี้ อาจทำให้เจ็บปวดได้เช่นกัน หากคุณแม่มีอาการบริเวณเจ็บหัวนมเพราะ หัวนมแตก หรือเป็นแผล  แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลกับอาหารเหล่านี้ เพราะถือเป็นเรื่องปกติ และมีวิธีมากมายในการดูแลและป้องกันอาการเจ็บหัวนมให้หมดไป”

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงมากมายในร่างกาย สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม น้ำนมที่รั่วจากอก การเจ็บตึงบริเวณเต้านม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ คุณแม่บางท่านอาจประสบปัญหาอื่นๆ เช่น เต้านมอักเสบ เจ็บหัวนม ท่อน้ำนมอุดตันและอาการคัดตึง อีกทั้งคุณแม่อาจพบว่า มีผิวแตกและแห้งเป็นขุยบริเวณหัวนม

 

สาเหตุของอาการ หัวนมแตก

อาการเจ็บหัวนมระหว่างให้นมบุตรเกิดได้จากหลายสาเหตุและเกิดขึ้นกับคุณแม่หลายๆ คน ทั้งในเรื่องของขนาดของเต้านมที่มีการเปลี่ยนแปลง อาการเจ็บเล็กน้อยที่หัวนม หรือรอยแตกบางๆ บริเวณผิว อาการเหล่านี้สามารถจัดการได้เพียงทำตามแนวคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทาหัวนมที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อครีมหรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์ ดังนั้น ขั้นตอนในการป้องกันก่อนเกิดปัญหาหัวนมแตกจึงสำคัญมาก

แต่อย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีอาการเจ็บหัวนมอย่างรุนแรง มีอาการติดเชื้อท่อน้ำนมอุดตัน และอาการอื่น ๆ ที่เจ็บจนทนไม่ไหว แนะนำว่า ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขปัญหาเจ็บในระยะเริ่มต้นจะดีที่สุด

 

สาเหตุทั่วไปที่ทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บหัวนม

  • ลูกดูดแรง หรือนานเกินไป
  • การวางตำแหน่งปากของลูกไม่ถูกต้องระหว่างขณะป้อนนม
  • ผิวของคุณแม่บริเวณหัวนมแห้งมาก
  • คุณแม่ใส่เสื้อชั้นในรัดรูปหรือผิดประเภท
  • การก่อตัวของเชื้อราหรือการติดเชื้อยีสต์
  • ท่อน้ำนมอุดตัน
  • การใช้เครื่องปั๊มนมที่ขนาดไม่เหมาะสม
  • เต้านมอักเสบ
  • ลูกดูดนมแรงเนื่องจากปล่อยให้หิวมากเกินไป อาจทำให้เกิดการดูดที่หงุดหงิด / โกรธได้

 

เคล็ดลับลดอาการเจ็บหัวนมแบบง่ายๆ ที่คุณแม่ทำได้ที่บ้าน 

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความไวต่อความรู้สึกของหัวนมเป็นเรื่องปกติในช่วงสัปดาห์แรกของการให้นมบุตร อย่างไรก็ตามอาจกลายเป็นเรื่องน่ากังวล หากคุณแม่อาการเจ็บหัวนมเป็นเวลาติดต่อกันทุกวัน ซึ่งอาจทำให้คุณแม่กลัวการให้นมลูกเลยก็เป็นได้ วันนี้ เราจึงมีเคล็ดลับช่วงให้นมบุตรมาฝากคุณแม่ เพื่อดูแลเต้านมและบรรเทาอาการเจ็บหัวนมของคุณแม่ได้ 

 

สุขอนามัยต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

เมื่อคุณแม่อาบน้ำ แนะนำให้ล้างหน้าอกด้วยน้ำอุ่น หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ถู  เนื่องจากเจลหรือสบู่อาบน้ำ มีแนวโน้มที่จะชะล้างน้ำมันธรรมชาติที่ผลิตโดยต่อมมอนต์โกเมอรี่ (ในบริเวณ Areolar ของเต้านม) ส่งผลให้ผิวแห้งแตกและระคายเคือง

 

ก่อนให้นม 

คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดหัวนมหรือเต้านมก่อนให้นมลูก เพราะแบคทีเรียที่ผิวหน้าอกของคุณมีประโยชน์ในการพัฒนาจุลินทรีย์ในลำไส้ของลูกน้อย


แผ่นซับน้ำนม

หากคุณแม่ใช้แผ่นซับน้ำนม ให้หมั่นเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อให้บริเวณหัวนมและเต้านมนั้นแห้งสนิทอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และป้องกันการเป็นเชื้อรา

 

Feeding Gap หรือ การเว้นระยะการให้นม

คุณแม่ต้องสังเกตให้ดีว่า ช่วงเวลาการให้นมลูกต้องไม่ทิ้งระยะห่างนานเกินไป เพราะการให้นมลูกตรงเวลา และตามความต้องการประมาณ 8 – 12 ครั้งต่อวัน ไม่เพียงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก แต่ยังจำเป็นต่อการรักษาปริมาณน้ำนมของคุณแม่ให้สม่ำเสมออีกด้วย

 

สวมใส่เสื้อชั้นในเฉพาะสำหรับคุณแม่

คุณแม่ควรเลือกเสื้อชั้นในสำหรับคุณแม่ที่สวมใส่สบาย ผลิตจากผ้าฝ้าย ซึ่งอ่อนโยนกับผิวหนังช่วยดูดซับความชื้น และปกป้องหน้าอกของคุณแม่จากการติดเชื้อหรือการเป็นเชื้อรา

 

ใช้ครีมทาหัวนม บรรเทาอาการ หัวนมแตก

การใช้ครีมทาหัวนมเพื่อบรรเทาอาหารหัวนมแตก จะช่วยทำให้ผิวนุ่มและลดการแตกของหัวนม ที่มักส่งผลให้หัวนมเจ็บ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บเวลาให้นมลูก และอ่อนโยนต่อบริเวณผิวที่บอบบางของคุณแม่อีกด้วย 

หัวนมแตก

 

วิธีการเลือก ครีมทาหัวนม แก้ หัวนมแตก ให้ปลอดภัยสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

  1. มีส่วนผสมจากธรรมชาติ 100% 
  2. ผ่านการทดสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  
  3. ผลิตจากวัตถุดิบที่เป็นมาตรฐานเดียวกับอาหาร (Food Grade) เพื่อความปลอดภัยต่สุขภาพ และไม่เป็นอันตรายหากลูกน้อยกลืนกินขณะให้นม
  4. ไม่มีสารอันตราย ปราศจากแอลกอฮอล์

ครีมทาหัวนม

หากคุณแม่ทำตามวิธีข้างต้นที่แล้ว อาการเจ็บเต้านมหรือเจ็บหัวนมยังไม่ทุเลาลง หรือมีอาการเจ็บมากขึ้น แนะนำให้คุณแม่หยุดให้นมบุตรหรือปั้มนมชั่วคราว เพื่อให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อหาวิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถดื่มนมแม่ได้โดยไม่ส่งผลต่ออาการบาดเจ็บ และในระหว่างนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการเสียดสีที่บริเวณหัวนมเพื่อให้แผลค่อย ๆ รักษาตัวเอง อีกทั้งยังต้องปิดบาดแผลเพื่อกันเชื้อโรค เนื่องจากหากปล่อยให้แผลเปิดอาจส่งผลการติดเชื้อ เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอาการเต้านมอักเสบได้นั่นเอง

Author ratchadaporn

ratchadaporn

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า