Search

เผยเคล็ดลับ! การทำละลายน้ำนมแม่แช่แข็งอย่างถูกวิธี

คุณแม่หลายคนต้องมีสต๊อกน้ำนมแม่เก็บไว้ในช่องแช่แข็งกันอย่างแน่นอนใช่หรือไม่? แต่แน่ใจหรือไม่ว่าคุณแม่ได้ทำละลายน้ำนมอย่างถูกวิธี? ถ้าไม่แน่ใจลองมาอ่านบทความนี้กันเลยค่ะ!

 

ในช่วงหกเดือนแรกน้ำนมแม่ถือเป็นสิ่งที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเจ้าตัวเล็กมาก เพราะฉะนั้น การสต๊อกน้ำนมแม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ที่ใกล้จะหมดวันลาคลอดและต้องกลับไปทำงานในเร็ววัน

 

เปิดคู่มือการทำละลายน้ำนมแม่!

 

การทำละลายน้ำนมแม่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็มีเงื่อนไขบางประการที่ต้องพิจารณาแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานการณ์ และในบทความนี้ Mama’s Choice ได้รวบรวมเคล็ดลับทั้งหมดมาให้แล้วค่ะ 

 

1. เลือกทำละลายน้ำนมแม่ที่มีอายุการเก็บนานที่สุด

 

การทำละลายน้ำนมแม่ที่ถูกเก็บไว้ในช่องแช่แข็งจะง่ายขึ้นมากกว่าเดิม หากคุณแม่ระบุวันและเวลาที่ปั๊มและจัดเก็บน้ำนม ที่สำคัญอย่าลืมจัดเรียงลำดับถุงเก็บน้ำนมจากใหม่ไปเก่าให้เรียบร้อย 

 

จากนั้น เมื่อคุณแม่ต้องการทำละลายน้ำนมแม่จากช่องแช่แข็งก็แค่เลือกหยิบถุงที่เก่าที่สุดออกมาทำละลายก่อน หรือ จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบ FIFO (เข้าก่อนออกก่อน) เพียงเท่านี้คุณแม่ก็สามารถเลือกทำละลายน้ำนมแม่จากช่องแช่แข็งได้อย่างเหมาะสมแล้วค่ะ

 

2. ทำละลายโดยการแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา

 

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำละลายน้ำนมแม่ได้ คือการย้ายน้ำนมจากช่องแช่แข็งลงมายังตู้เย็นในช่องแช่ธรรมดา ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะสำหรับคุณแม่ที่ไม่รีบร้อน เนื่องจากโดยปกติแล้ววิธีนี้จะใช้เวลาราวๆ 12 ชั่วโมงในการละลายน้ำนมแม่

 

อย่างไรก็ตาม หากอ้างอิงตามข้อมูลของ CDC แนะนำว่า คุณแม่ควรใช้น้ำนมที่ทำละลายด้วยวิธีนี้ภายใน 24 ชั่วโมง โดยสามารถเริ่มนับเวลาได้หลังจากที่น้ำนมแม่ละลายจนหมด ไม่ใช่ตั้งแต่ตอนเริ่มนำน้ำนมออกจากช่องแช่แข็งนะคะ

 

3. ทำละลายโดยการแช่ในภาชนะที่มีน้ำอุ่น

 

หากคุณแม่ต้องการทำละลายน้ำนมอย่างรวดเร็ว การแช่น้ำนมในภาชนะที่มีน้ำอุ่นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพราะจะใช้เวลาเพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้นค่ะ อย่างไรก็ตาม เราขอเน้นย้ำว่าคุณแม่ต้องใช้น้ำอุ่นเท่านั้นนะคะ ไม่ใช่น้ำร้อน โดยสามารถทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

 

  • นำถุงเก็บน้ำนมแม่แช่ลงในน้ำอุ่น
  • รักษาระดับน้ำไว้ให้อยู่ต่ำกว่าปากถุงเก็บน้ำนมเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
  • หลังจากแช่ไปสักพัก แล้วพบว่าน้ำในภาชนะเย็นลง ให้รีบเปลี่ยนน้ำอุ่นใหม่ทันที
  • ทำต่อไปจนกว่าน้ำนมในถุงจะละลายทั้งหมด

 

4. ทำละลายโดยการปล่อยให้น้ำไหลผ่านถุงเก็บน้ำนม 

ถุงเก็บน้ำนม รีวิวถุงเก็บน้ำนม

วิธีสุดท้ายสำหรับการละลายน้ำนมแม่ คือ การปล่อยให้น้ำไหลผ่านถุงเก็บน้ำนม เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีเครื่องทำน้ำอุ่นหรือก๊อกน้ำที่สามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้ อีกทั้งวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการละลายน้ำนมแม่อีกด้วยค่ะ โดยคุณแม่สามารถทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลย

 

  • เปิดน้ำอุณหภูมิปกติผ่านก๊อกน้ำและวางถุงเก็บน้ำนมแม่ไว้ใต้น้ำเพื่อปล่อยให้น้ำไหลผ่าน 
  • ค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิของน้ำให้อุ่นขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้น้ำนมละลายเร็วขึ้น แต่ต้องควบคุมอุณหภูมิไว้ไม่ให้ร้อนเกินไปนะคะ 
  • ถือถุงเก็บน้ำนมแม่ค้างไว้จนกว่าน้ำนมจะละลายทั้งหมด

 

แน่นอนว่าบางครั้งน้ำนมแม่ที่ได้จากการทำละลายในลักษณะต่างๆ ที่เราได้กล่าวไปข้างต้นอาจทำน้ำนมแม่มีกลิ่นและรสชาติเปลี่ยนไปเล็กน้อย เนื่องจากเกิดการย่อยสลายไขมันตามธรรมชาติในน้ำนมแม่ของเอนไซม์ไลเปส (Lipase Enzyme) ในระหว่างการเก็บรักษา 

 

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณภาพของน้ำนมแม่จะลดลงนะคะ ดังนั้น คุณแม่ยังสามารถป้อนให้กับเจ้าตัวเล็กได้ตามปกติ แต่อาจจะทำให้เจ้าตัวเล็กของคุณแม่รู้สึกไม่ชอบใจในรสชาติรสอยู่สักหน่อย

 

สำคัญ! ข้อควรระวังในการทำละลายน้ำนมแม่

 

นอกจากวิธีที่เราได้กล่าวกันไปข้างต้นแล้ว เรายังมีข้อควรระวังอีกเล็กน้อยมาฝากให้กับคุณแม่กันด้วย มีอะไรบ้าง? ตามเรามาเลยค่ะ 

1. ห้ามนำไปอุ่นด้วยการใช้ไมโครเวฟหรือการต้ม

ถุงเก็บน้ำนม รีวิวถุงเก็บน้ำนม

CDC เตือนว่าการทำละลายด้วยวิธีทั้งสองอย่างนี้สามารถทำลายสารอาหารที่สำคัญในน้ำนมแม่ได้ อีกทั้งยังให้อุณหภูมิของน้ำนมแม่ไม่สม่ำเสมอ อาจจะมีบางส่วนร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป ซึ่งอาจส่งผลทำให้ปากและลำคอของเจ้าตัวเล็กเป็นแผลหรือโดนลวกได้ ดังนั้น ห้ามอุ่นน้ำนมด้วยวิธีนี้กันนะคะ

 

2. ห้ามทิ้งนมแม่เกิน 2 ชั่วโมง

ถุงเก็บน้ำนม รีวิวถุงเก็บน้ำนม

หลังจากทำละลายน้ำนมแม่เรียบร้อยแล้ว คุณแม่สามารถป้อนนมให้ลูกน้อยได้ทันทีหรืออาจเก็บไว้ในตู้เย็นเป็นเวลา 4 ชั่วโมง แต่หากคุณแม่เลือกวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องหลังจากทำละลายเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 2 ชั่วโมงนะคะ ซึ่งหากเกินระยะเวลาควรนำน้ำนมไปทิ้งทันที 

 

3. ห้ามแช่แข็งน้ำนมแม่ซ้ำ

 

น้ำนมแม่ที่ผ่านการแช่แข็งและทำละลายด้วยวิธีต่างๆ ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งซ้ำอีกครั้ง ดังนั้น คุณแม่ควรวางแผนการทำละลายน้ำนมแม่ให้ดี เพื่อลดการสูญเสียน้ำนมโดยเปล่าประโยชน์ 

 

รักษาคุณภาพน้ำนมแม่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงแค่เลือกใช้ด้วยถุงเก็บน้ำนมแม่ที่ดี

 

เตรียมพบกับ Mama’s Choice Breastmilk Storage Bag ถุงเก็บน้ำนมแม่ จาก Mama’s Choice ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดจากเรา มีฟังก์ชันการใช้งานตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ให้นมบุตร ช่วยรักษาคุณภาพของน้ำนมแม่ได้นานขึ้น ผ่านการฆ่าเชื้อทุกชิ้น ปลอดภัย สามารถหยิบจับมาใช้งานได้ทันที

 

นอกจากนี้ Mama’s Choice Breastmilk Storage Bag ยังผลิตจากวัสดุ Food Grade ที่มีความหนา ทนทาน ดีไซน์สวยงาม ปราศจากสาร BPA ป้องกันการจับเกาะของฝุ่น มาพร้อมกับซิปล็อก 2 ชั้น ไม่ต้องกลัวว่าจะเผลอทำน้ำนมแม่หกเลอะเทอะ และที่สำคัญถุงเก็บน้ำนมแม่ของเรามีเทคโนโลยีป้องกันออกซิเจนขั้นสูงทำให้รักษาคุณค่าทางโภชนาการของน้ำนมแม่ได้ยาวนานขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

ฟังแล้วเป็นอย่างไรกันบ้างคะ? หากคุณแม่คนไหนสนใจเชิญมารวมตัวกันตรงนี้และตั้งตารอคอยกับการเปิดตัว Mama’s Choice Breastmilk Storage Bag จากเราได้เร็วๆ นี้! 

 

 

ทั้งหมดนี้เป็นเคล็ดลับการทำละลายน้ำนมแม่แช่แข็งอย่างถูกวิธีที่เราได้นำมาฝากกัน หากบทความนี้เป็นประโยชน์ อย่าลืมกดแชร์ไปให้กับคุณแม่คนอื่นๆ ด้วยนะคะ 🙂

ถุงเก็บน้ำนม รีวิวถุงเก็บน้ำนม

อ้างอิง:

cdc.gov

verywellfamily.com

 

Author Wanvisa

Wanvisa

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า