Search

สาเหตุวิธีที่ทำให้คุณแม่เจ็บหัวนมเวลาให้นมบุตร พร้อมวิธีป้องกัน!

อยากให้นมลูกโดยตรง แต่ก็เจ็บหัวนมจนคุณแม่หลายคนต้องขอโบกมือยอมแพ้ และหันไปให้นมลูกผ่านขวดนมแทน  

 

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยๆ สำหรับคุณแม่ให้นมบุตรและทำให้คุณแม่หลายคนถอดใจยอมแพ้การเลี้ยงลูกด้วยการให้นมแม่โดยตรง แต่จริงๆ แล้วอาการเจ็บหัวนมเป็นเรื่องปกติมากสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรค่ะ 

 

มีข้อมูลจาก CDC เผยว่า มีคุณแม่มากกว่า 75% ที่ประสบกับอาการเจ็บหัวนมเช่นนี้ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด และคุณแม่ส่วนมากมักไม่ยอมเข้าไปขอรับคำแนะนำจากแพทย์ แต่เลือกที่จะล้มเลิกการให้นมบุตรโดยตรงแทน 

 

อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องเลยค่ะ เนื่องจากอาการเจ็บหัวนมแบบนี้มีวิธีป้องกันและสามารถรักษาได้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนม ตัวอย่างเช่น ทารกดูดนมได้ไม่ดี หัวนมเป็นแผลถลอกจากการดูดนมของลูกน้อย หัวนมติดเชื้อรา คุณแม่ไม่ชินกับให้นมลูก เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนม ซึ่งในบทความนี้ Mama’s Choice ก็ได้รวบรวมทั้งสาเหตุและวิธีการรักษามาให้กันแล้ว มีอะไรบ้าง? มาดูกันเลยค่ะ 

 

12 สาเหตุของอาการเจ็บหัวนมพร้อมวิธีป้องกันและรักษา

 

1. ลักษณะการดูดนมของลูกไม่ถูกต้อง

เจ็บหัวนม ครีมทาหัวนม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้นมบุตร ที่ทั้งคุณแม่และลูกน้อยจะต้องศึกษาเรียนรู้กันและกันเพื่อให้เจ้าตัวเล็กได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่อย่างเต็มที่และหลีกเลี่ยงไม่ให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนม  

 

โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุด คือ ลูกน้อยดูดนมตื้นเกินไป และเมื่อปากของเขางับได้เพียงแค่หัวนม นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณแม่เจ็บหัวนมและมีอาการหัวนมช้ำ 

 

ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณแม่ให้นมลูก อย่าลืมตรวจสอบให้ดีว่าปากเขาไม่ได้งับเพียงแค่หัวนม แต่ริมฝีปากของเขาควรอยู่ในบริเวณส่วนใหญ่หรือทั้งหมดของลานนม โดยคุณแม่สามารถทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้ 

 

  1. ค่อยๆ กดคางของลูกน้อยลงเพื่อให้เขาเปิดปากออกและพร้อมสำหรับการป้อนนม
  2. จิ้มที่ริมฝีปากบนของเขาด้วยหัวนมและรอจนกว่าเขาจะอ้าปากกว้างคล้ายกับการหาว คุณแม่จึงค่อยขยับหัวนมเข้าไปในปากของเขาให้ลึกถึงลานนม
  3. หากคุณแม่รู้สึกว่าลักษณะการดูดออกเขายังไม่ถูกต้อง ให้ใช้นิ้วจิ้มที่มุมปากของเขาเบาๆ ให้เขาหยุดดูดนม ก่อนจะดึงเต้านมออกแล้วเริ่มใหม่อีกครั้ง
  4. หากเป็นช่วงที่คุณแม่พักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล อาจขอให้พยาบาลช่วยแนะนำและตรวจสอบให้ได้ว่าคุณแม่ให้นมลูกด้วยท่าทางที่ถูกต้องหรือไม่
  5. คุณแม่สามารถเลือกใช้ที่ครอบหัวนมชั่วคราวได้เพื่อป้องกันอาการเจ็บหัวนมของคุณแม่ แต่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นนะคะ

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ยังคงมีอาการเจ็บหัวนมหรือพบปัญหาอื่นๆ เพิ่มเติม เราขอแนะนำให้คุณแม่ไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตรจะดีกว่านะคะ 

 

2. ให้ลูกหยุดดูดนมไม่ถูกวิธี

เจ็บหัวนม ครีมทาหัวนม

มีคุณแม่หลายคนที่ต้องให้ลูกหยุดดูดนมกะทันหัน แต่ดันทำแบบไม่ถูกวิธี ตัวอย่างเช่น ดึงเต้านมออกจากปากของเจ้าตัวเล็กทันทีในขณะที่เขากำลังดูดนมแม่อยู่ ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้หัวนมของคุณแม่เกิดการถลอก มีอาการเจ็บหัวนมตามมา และอาจมีเลือดออกในบางครั้ง 

 

ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดเมื่อต้องการให้ลูกหยุดดูดนม คือ ให้คุณแม่ใช้นิ้วจิ้มที่มุมปากของเขาเบาๆ เพื่อให้เขาอ้าปากออก จากนั้นจึงค่อยหันศีรษะของเขาออกจากเต้านมของคุณแม่

 

3. ลูกน้อยมีภาวะลิ้นติด 

 

อาการเจ็บหัวนมอย่างต่อเนื่องอาจเกิดขึ้นได้หากเจ้าตัวเล็กของคุณแม่ตกอยู่ในภาวะลิ้นติด (Tongue Tie)ที่มักพบบ่อยในเด็กแรกเกิด ลักษณะของอาการ คือ จะมีเส้นพังผืดหนาๆ มายึดเกาะแน่นระหว่างใต้ลิ้นและพื้นล่างช่องปาก ทำให้เด็กๆ เกิดปัญหาด้านการพูด การรับประทานอาหาร การกลืน รวมไปถึงการดูดนมแม่ 

 

มีข้อมูลจาก Medical News Today เผยว่า มีเด็กแรกเกิดประมาณ 4 ถึง 11 เปอร์เซ็นต์ที่ประสบกับปัญหาภาวะลิ้นติด โดยจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และในจำนวนครึ่งหนึ่งนี้จะมีลิ้นสั้นลงและส่งผลให้พวกเขาเกิดปัญหาในการรับประทานอาหาร และจะไม่สามารถออกเสียงตัวพยัญชนะ ‘t’, ‘d’ และ ‘n’ ได้อย่างชัดเจน      

 

ดังนั้น หากคุณแม่พบว่าเจ้าตัวเล็กมีอาการแบบนี้ ควรรีบพาเขาไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำวินิจฉัยและทำการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม 

 

4. ท่าอุ้มลูกน้อยไม่ถูกต้อง

เจ็บหัวนม ครีมทาหัวนม

ท่านั่งและท่าอุ้มเจ้าตัวเล็กที่ไม่ถูกต้องทำให้ลูกน้อยดูดนมได้ไม่เต็มที่ และส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนมตามมา  ดังนั้น เพื่อให้เจ้าตัวเล็กดูดนมได้ดีและป้องกันไม่ให้คุณแม่เจ็บหัวนม คุณแม่ควรอุ้มเจ้าตัวเล็กด้วยท่าทางที่ถูกต้อง ดังนี้

 

  • จัดท่าทางของลูก โดยให้สะโพกและใบหน้าของทารกหันเข้าหาคุณแม่ขณะให้นมลูก
  • ลองขยับและเปลี่ยนหลายๆ ท่า เพื่อหาท่าที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงอาการเจ็บหัวนม
  • ลองใช้อุปกรณ์เสริม เช่น หมอนพยาบาลหรือแท่นวางเท้า 
  • อุ้มเจ้าตัวเล็กไว้ใกล้เต้านมของคุณแม่แทนที่จะโน้มตัวลงไปหาพวกเขา

 

5. มีอาการคัดตึงหน้าอก

 

อาการคัดตึงหน้าอกเกิดขึ้นเมื่อเต้านมของคุณแม่มีน้ำนมมากเกินไป ซึ่งในกรณีนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณแม่ใช้เวลานานเกินไประหว่างการให้นมลูก หรืออาจเป็นเพราะคุณแม่ยังไม่สามารถปรับตัวและให้นมบุตรได้ตรงตามความต้องการของเจ้าตัวเล็กนั่นเองค่ะ 

 

แน่นอนว่าเมื่อเต้านมเกิดอาการบวมและเจ็บ ก็จะยิ่งทำให้ลูกน้อยของคุณแม่ดูดนมได้ยากขึ้น ดังนั้น ทางแก้ที่ดีที่สุด คือ คุณแม่อาจต้องปั๊มนมออกมาก่อนเล็กน้อยก่อนที่ให้เจ้าตัวเล็กดูดนม โดยคุณแม่สามารถลองใช้วิธีใดวิธีหนึ่งด้านล่างนี้ได้

 

  • พิงอ่างล้างหน้าและใช้ผ้าขนหนูเปียกอุ่นๆ ประคบเต้านมทีละข้าง
  • ใช้เครื่องปั๊มนมเพื่อปั๊มน้ำนมออกมาเล็กน้อย ก่อนให้นมลูก
  • นวดหน้าอกเบา ๆ ในขณะที่คุณแม่อาบน้ำเพื่อปล่อยให้น้ำนมไหลออกมา

 

6. เจ็บหัวนมหลังให้นมลูก

อาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมบวมนั้นเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ซึ่งในกรณีนี้การประคบเย็นสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนมและอาการบวมหลังให้นมลูกได้ 

โดยคุณแม่สามารถใช้ประคบเย็นบริเวณเต้านม หัวนม และใต้วงแขน ด้วยการใช้เศษผ้าห่อก้อนน้ำแข็ง หรือแผ่นเจลเย็นประคบไปตามบริเวณต่างๆ ครั้งละ 2-3 นาที หรือ จนกว่าอาการบวมจะลดลง

 

7. หัวนมติดเชื้อรา

 

น้ำนมที่เปื้อนหัวนมทุกครั้งหลังจากลูกน้อยดูดนม อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวนมเกิดเชื้อราได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อรา คุณแม่ควรเช็ดทำความสะอาดหัวนมให้แห้งหลังการให้นมลูกทุกครั้ง 

 

ขณะเดียวกัน หากคุณแม่มีน้ำนมไหลซึมออกมาบ่อยๆ และมีการใช้แผ่นซับน้ำนม ก็อย่าลืมเปลี่ยนบ่อยๆ ด้วยนะคะ เพราะหากปล่อยให้บริเวณนั้นมีความชื้นอาจทำให้เกิดเชื้อราได้นั่นเองค่ะ 

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบว่าหัวนมมีการติดเชื้อรา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพราะการติดเชื้อราสามารถส่งผ่านไปสู่เจ้าตัวเล็กได้อาจทำให้เขาเกิดแผลที่ลิ้น ระคายเคืองรอบริมฝีปาก หรือริมฝีปากแตกอีกด้วยได้ด้วยนั่นเองค่ะ

 

8. หัวนมแห้ง

 

แน่นอนว่าคุณแม่ควรดูแลหัวนมให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ แต่คุณแม่ก็จำเป็นต้องเพิ่มความชุ่มชื้นกับหัวนมด้วยเช่นกัน เพราะหากปล่อยให้หัวนมแห้งเกินไปอาจทำให้หัวนมแตกและมีเลือดออกระหว่างให้นมลูกได้ค่ะ

 

โดยคุณแม่สามารถหาครีมทาหัวนมตามร้านขายยาหรือร้านค้าออนไลน์มาลองใช้กันได้ แต่สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องเลือกใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย เนื่องจากบริเวณนี้เป็นส่วนที่เจ้าตัวเล็กต้องสัมผัสโดยตรง 

เจ็บหัวนม ครีมทาหัวนม

เราขอแนะนำ Mama’s Choice Intensive Nipple Cream ครีมทาหัวนมที่คิดค้นขึ้นมาสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรโดยเฉพาะ สูตรพิเศษเพื่อคุณแม่ให้นมบุตรและผู้มีปัญหาหัวนมแตกโดยเฉพาะ ผสานพลังจากธรรมชาติอย่างอินทผลัม น้ำมันมะพร้าว และเชียร์บัตเตอร์ ช่วยบำรุงหัวนมแม่ ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความชุ่มชื้น และเสริมเกราะป้องกันอาการแพ้หรืออักเสบให้กับหัวนมแม่ 

เจ็บหัวนม ครีมทาหัวนม

Mama’s Choice Intensive Nipple Cream ใช้ผสมทั้งหมดเป็นแบบพรีเมียม food grade ปราศจากสารเคมีอันตรายต่างๆ เช่น พาราเบน แอลกอฮอล์ น้ำหอม พทาเลท และไตรโคลซาน คุณแม่สามารถทาลงบนหัวนมและให้เจ้าตัวเล็กดูดนมได้ โดยไม่จำเป็นต้องล้างออกเลยค่ะ มั่นใจได้เลยว่าปลอดภัย 100%

 

9. ท่อน้ำนมอุดตัน

 

ท่อน้ำนมอุดตันเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณแม่ให้นมบุตรสามารถพบได้บ่อยๆ โดยปรากฏเป็นตุ่มเล็กๆ สีขาวหรือสีเหลืองที่หัวนม สามารถหายไปเองได้และเกิดขึ้นซ้ำได้เช่นเดียวกัน

 

สำหรับวิธีการป้องกันและรักษาเบื้องต้น คุณแม่สามารถลองใช้ลูกประคบอุ่นๆ แล้วบีบน้ำนมด้วยมือเพื่อดูว่ามีน้ำนมไหลออกมาหรือไม่ แต่หากลองทำแล้วอาการยังไม่ทุเลาลง เราขอแนะนำให้คุณแม่รีบไปพูดคุยกับแพทย์ทันที

 

10. สวมเสื้อชั้นในแน่นเกินไป

เจ็บหัวนม ครีมทาหัวนม

ในช่วงในนมบุตรนั้นคุณแม่ยังไม่สามารถกลับไปใส่เสื้อชั้นในแบบเดิมๆ ได้ เนื่องจากอาจเกิดการรัดแน่น การเสียดสีที่หัวนม และทำให้เกิดอาการเจ็บหัวนมตามมาได้ 

 

ดังนั้น คุณแม่ควรเลือกใส่เสื้อชั้นในสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรโดยเฉพาะ ระบายอากาศได้ดี และหากเป็นไปได้ควรเลือกเสื้อชั้นในที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเข้ากับร่างกายที่เปลี่ยนไปของคุณแม่ได้ตลอดเวลาป้องกันการเสียดสีของหัวนม  

 

11. ลูกน้อยฟันขึ้น

 

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เจ็บหัวนมและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ ฟันของเจ้าตัวเล็กเริ่มขึ้นแล้ว ทำให้เขามีอาการคันเหงือกและอยากลองกัดสิ่งต่างๆ นี่จึงเป็นเหตุที่ทำให้เจ้าตัวเล็กงับหัวนมของคุณแม่แรงขึ้นจนเกิดอาการเจ็บหัวนมตามมา 

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถหายางกัดต่างๆ มาให้เขากัดเล่นก่อนให้นมได้ แต่หากลองทำแล้วเขายังกัดหัวนมของคุณแม่ไม่ยอมปล่อย เราขอแนะนำให้คุณแม่ลองทำตามวิธีด้านบนอีกครั้งเพื่อหยุดการให้นม 

 

12. กรวยปั๊มไม่พอดีกับเต้านม

 

การเลือกใช้เครื่องปั๊มนม แม้จะช่วยให้คุณแม่ปั๊มน้ำนมได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากเลือกขนาดกรวยปั๊มที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้หัวนมของคุณแม่เกิดการระคายเคืองและเจ็บได้ นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่คุณแม่ปั๊มได้อีกด้วยค่ะ 

 

ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ การเปลี่ยนกรวยปั๊มนมอันใหม่ให้มีขนาดไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป ที่สำคัญอย่าลืมเลือกกรวยปั๊มที่ผลิตจากวัสดุ food grade เพื่อให้น้ำนมของของคุณแม่ปลอดภัยต่อเจ้าตัวน้อย 

 

โดยคุณแม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรวยปั๊มแบรนด์ต่างๆ ได้จากบนอินเทอร์เน็ต แต่หากคุณแม่สนใจกรวยปั๊มและเครื่องปั๊มดีๆ จากเรา สามารถแวะเข้าไปดูได้ที่ร้านค้าออนไลน์ของ Mama’s Choice ได้ทุกช่องทางเลยค่ะ  

 

เมื่อไรที่คุณแม่ควรไปพบแพทย์?

 

คุณแม่ส่วนใหญ่มีอาการเจ็บหัวนมเมื่อเริ่มให้นมลูกครั้งแรก แม้จะเป็นเรื่องปกติ แต่คุณแม่อย่าได้รอช้าเพื่อรอรับความช่วยเหลือเพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  

 

นอกจากนี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเจ็บหัวนมของคุณแม่รุนแรงขึ้นหรือมีอาการปวดเต้านม เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคเต้านมอักเสบได้  

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณอื่นๆ ที่สามารถบ่งบอกว่าคุณแม่อาจเป็นโรคเต้านมอักเสบ ได้แก่

 

  • ไข้
  • หน้าอกอุ่นร้อน 
  • หน้าอกบวมหรือเจ็บ
  • เต้านมแดง
  • เต้านมมีหนอง
  • ปวดหรือแสบร้อนขณะให้นม

 

 

ท้ายนี้ อาการเจ็บหัวนมเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร แต่เราก็มีวิธีจัดการและบรรเทาอาการเจ็บนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือคุณแม่ที่มีประสบการณ์ และเราก็หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากกันในบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณแม่ด้วยเช่นกันนะคะ 🙂

เจ็บหัวนม ครีมทาหัวนม

อ้างอิง 

https://bit.ly/3NSMPxQ
https://bit.ly/36TMz1g

https://bit.ly/36QNUG9
https://bit.ly/37gLxvY

https://bit.ly/3u8OwQ1

https://mayocl.in/3NRmlNf

Author Wanvisa

Wanvisa

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า