Search

อยากมีลูกต้องทำยังไง? 20 ขั้นตอนเสกลูกเข้าท้องสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

คุณแม่หลายๆ ท่าน อยากมีลูก และกำลังวางแผนการ ตั้งครรภ์ อยู่ใช่หรือไม่? คุณแม่ไม่แน่ใจใช่ไหมว่า ต้องทำยังไง ถึงจะเพิ่มโอกาสในการท้องได้ ไม่ต้องห่วง เราได้เตรียมคู่มือ วางแผนการตั้งครรภ์ ให้มีสุขภาพดีแบบฉบับสมบูรณ์มาฝากให้กับคุณแม่ทุกท่านกันแล้วค่ะ

เพียงแค่ทำตาม 20 ขั้นตอนเหล่านี้เพื่อเตรียมร่างกายของคุณแม่และคุณพ่อให้มีสุขภาพดี ปลอดภัย และพร้อมสำหรับการ ตั้งครรภ์ เจ้าตัวน้อยอย่างมีความสุขในอีก 3 เดือนข้างหน้า อ่านให้จบ ห้ามพลาดทุกขั้นตอน!

วางแผน ตั้งครรภ์ อยากมีลูก

 

20 เคล็ดลับเพื่อคน อยากมีลูก เพื่อความสำเร็จในการ ตั้งครรภ์

1. อยากมีลูก ต้องตรวจสุขภาพ

เมื่อคุณแม่ อยากมีลูก และเริ่ม วางแผนการ ตั้งครรภ์ ขั้นตอนแรกที่ควรทำ คือ การไปตรวจสุขภาพ ไม่ใช่แค่คุณแม่เท่านั้น คุณพ่อเองก็ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเช่นเดียวกัน ซึ่งมีรายการที่ต้องตรวจหลักๆ ดังนี้ 

  • ตรวจเลือด
  • วัดระดับคอเลสเตอรอล
  • ตรวจสอบประวัติสุขภาพของคุณแม่และคุณพ่อ
  • ตรวจสอบประวัติการรักษาของบุคคลในครอบครัวของทั้งสองฝ่าย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่คาดหวัง โดยอ้างอิงจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
  • หยุดการวางแผนครอบครัว (เช่น การคุมกำเนิด)
  • ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันอีสุกอีใสและหัดเยอรมัน
  • ปรึกษาเรื่องวิตามินที่ต้องรับประทานเพิ่มเติม
  • ปรึกษากับแพทย์เป็นประจำ

2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่คาดหวังไว้

การมีน้ำหนักน้อยเกินไปหรือมากเกินไปอาจส่งผลต่อการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นแพทย์จะคำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ โดยอ้างอิงจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณแม่ รวมถึงจะช่วยแนะนำเคล็ดลับในการเพิ่มหรือลดน้ำหนักที่เหมาะสมให้กับคุณแม่ด้วย

 

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

คำว่า “เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ” จะได้ยินกันบ่อย ๆ เมื่อคุณแม่มีการวางแผนการตั้งครรภ์ ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงก็มักจะหนีไม่พ้นอาหารจำพวกฟาสฟู้ด อาหารสำเร็จรูป และอาหารแปรรูป ขณะเดียวกัน คุณแม่จำเป็นต้องหันไปเน้นอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ แร่ธาตุ และวิตามิน  ตัวอย่างเช่น การทานไข่ที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงคุณแม่ต้องรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน

จริง ๆ แล้ว การรับประทานไข่ สามารถช่วยบำรุงสุขภาพไข่ในรังไข่ของคุณแม่ได้ด้วย นักโภชนาการ Lily Nichols กล่าวว่า ไข่เป็นอาหารยอดนิยมสำหรับผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ เพราะไข่อุดมไปด้วยโคลีน ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของทารก โดยยังเน้นย้ำอีกว่าคุณแม่ควรรับประทานทั้งไข่ขาวและไข่แดง

ตั้งครรภ์

4. เติมกรดโฟลิกให้ร่างกาย

กรดโฟลิกสามารถเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิระหว่างผู้ชายและผู้หญิง ช่วยป้องกันการแท้งบุตร และป้องกันการเกิดข้อบกพร่องของท่อประสาทในช่วงการตั้งครรภ์ระยะแรก โดยกรมควบคุมและป้องกันโรค (CDC)  ได้แนะนำให้คุณแม่ที่กำลังอยู่ในแผนการตั้งครรภ์ควรเสริมกรดโฟลิกให้กับร่างกาย 400 มก. ต่อวัน ซึ่งเป็นระดับของกรดโฟลิกที่เหมาะสมสำหรับคนท้อง โดยคุณแม่สามารถรับกรดโฟลิกได้จากอาหารเสริมต่าง ๆ และการดื่มนมในระหว่างตั้งครรภ์ หรือคุณแม่อาจขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ก็ได้เช่นกัน

 

5. หลีกเลี่ยงยาที่แพทย์ไม่ได้สั่ง

หลังจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว ให้หลีกเลี่ยงที่จะรับประทานยาที่จำหน่ายตามร้านขายยา เพราะยาบางชนิดไม่ได้ปลอดภัยสำหรับคนท้อง ในกรณีที่คุณแม่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ท้องร่วง อ่อนแรง คลื่นไส้ ปวดท้อง หรือมีอาการอื่น ๆ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

 

6. บันทึกช่วงเวลาเจริญพันธุ์

การรู้ช่วงเวลาเจริญพันธุ์ สามารถช่วยให้คุณแม่วางแผนการตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น เพราะนอกจากจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นแล้ว คุณแม่ยังสามารถระบุปัญหาที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ได้อีกด้วย

รายการที่คุณแม่ต้องจดบันทึก:

  • บันทึกระยะห่างของรอบประจำเดือนแบบเดือนต่อเดือนเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง
  • บันทึกช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน
  • บันทึกอาการที่เกิดขึ้นก่อนและหลังมีประจำเดือน เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก มีเลือดออกแบบกระปริบกระปรอย และอื่นๆ

โดยปกติวงรอบของประจำเดือนจะห่างกันประมาณ 28 วัน แต่ก็สามารถห่างกันประมาณ 21 ถึง 35 วันได้เช่นกัน หลังจากนั้นคุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในปัจจุบัน คุณแม่สามารถใช้แอปพลิเคชั่นในการช่วยบันทึกรอบประจำเดือน โดยมีหลายแอพลิเคชั่นที่เปิดให้ใช้ได้ฟรี

7. มีเพศสัมพันธ์อย่างมีความสุข

ในระหว่างแผนการตั้งครรภ์ คุณแม่และคุณพ่อควรมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันอย่างน้อย 2 ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยสิ่งสำคัญ คือ คุณทั้งคู่จะต้องไม่ใช้ท่าที่มีการบังคับ ทำให้รู้สึกเหนื่อย หรือเกิดความเครียด และพยายามสนุกไปกับการทำกิจกรรมนี้ร่วมกัน

ขณะเดียวกัน คุณแม่และคุณพ่อควรมีเพศสัมพันธ์กัน 1 ถึง 3 วันก่อนไข่ตกหรือในช่วงเวลา 12 ถึง 24 ชั่วโมงหลังจากการตกไข่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะมีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุดและการปฏิสนธิก็จะมีโอกาสสำเร็จมากขึ้นเช่นกัน

 

8. พักผ่อนให้เพียงพอ

ตามรายงานของสถาบันการเจริญพันธุ์แห่งรัฐแคโรไลนา จากการวิจัยพบว่าผู้หญิงที่นอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าผู้หญิงที่นอนหลับ 7 ถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน มากถึง 15%

ดังนั้นคุณแม่ควรนอนหลับให้เพียงพอและตรงเวลาทุกวัน เพราะการนอนหลับที่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้อย่างสมดุลและถูกต้อง รวมถึงฮอร์โมนที่มีหน้าที่ในการเจริญพันธุ์และการสืบพันธุ์ด้วยเช่นกัน

 

9. จัดการความเครียด

ยุ่งเกินไป? เต็มไปด้วยแรงกดดันในการทำงาน? หรือคิดมากเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้คุณแม่เป็นกังวล? การจัดการกับความเครียด เป็นหนึ่งในเคล็ดลับของการวางแผนการตั้งครรภ์ที่ไม่ยุ่งยาก

คุณแม่สามารถออกไปเดินเล่นในตอนเช้า เล่นโยคะเป็นประจำ หรือทำกิจกรรมที่ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายใจและมีความสุข การจัดการกับความเครียดโดยการเชิญชวนให้คุณพ่อเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ความรู้สึกของคุณแม่ ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่จะช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกสบายใจได้มากยิ่งขึ้น

10. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

หากอ้างอิงจากเว็บไซต์ Parents ที่กล่าวว่า คู่รักที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโยคะ พิลาทิส ว่ายน้ำ หรือเดิน ก็ล้วนแต่เป็นทางเลือกในการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ก่อนตั้งครรภ์ เพราะหลังจากที่ร่างกายคุ้นเคยกับการทำกิจกรรมเหล่านี้แล้ว เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะสามารถทำกิจกรรมได้อย่างคุ้นชิน เพียงแต่ต้องลดระดับความหนักของการออกกำลังกายให้เบาลง

 

11. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

คุณแม่เชื่อหรือไม่ว่าการสูบบุหรี่สามารถเร่งการสูญเสียของไข่ในรังไข่ได้ ขณะเดียวกันสารเคมีในบุหรี่ก็สามารถเปลี่ยน DNA ในไข่ ทำให้ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังส่งผลให้คุณแม่มีความต้องการทางเพศที่ต่ำลง ส่งผลต่อรอบเดือน และทำให้คุณภาพไข่ของคุณแม่ลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้น ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงทั้งสองสิ่งนี้ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์

 

12. พบทันตแพทย์

ในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์จะทำให้ฟันและเหงือกของคุณแม่บอบบางมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด คือ มีอาการปวดฟัน ฟันผุ มีภาวะน้ำลายไหลมากเกินไป และมีเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งการดูแลฟันอย่างเป็นประจำวันทุกวัน โดยใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากสูตรเฉพาะสำหรับสตรีมีครรภ์สามารถช่วยได้

สุขภาพฟันและช่องปากของคุณแม่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น อย่ารอช้าที่จะเข้าไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากให้เร็วที่สุด

Mama's Choice Non-fluoride Toothpaste

13. จำกัดคาเฟอีน

คุณแม่คุ้นเคยกับการดื่มกาแฟในตอนเช้าใช่หรือไม่? ถ้าใช่! ถึงเวลาที่จะต้องเริ่มลดการดื่มกาแฟลงให้เหลืออย่างน้อยทุก ๆ 2 วัน เพราะอะไร? คำตอบคือ เพราะหลังจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้วนั้น ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟหรือชาจะถูกจำกัดเหลือเพียงแค่สองถ้วยเล็กต่อวันเท่านั้น ดังนั้น ในช่วงที่คุณแม่กำลังวางแผนการตั้งครรภ์อยู่ ก็ควรเริ่มทำให้ร่างกายเกิดความคุ้นชิน โดยเริ่มจากค่อย ๆ ลดปริมาณของการดื่มกาแฟลงทีละน้อย

 

14. ดื่มน้ำให้มากขึ้น

สถาบันการเจริญพันธุ์ CNY ได้กล่าวว่า การรักษาความชุ่มชื้นในระหว่างตั้งครรภ์สามารถช่วยปกป้องและหล่อลื่นเนื้อเยื่อและอวัยวะทั้งหมดในร่างกายได้ สามารถช่วยกระตุ้นการส่งฮอร์โมนไปทั่วร่างกาย และช่วยเพิ่มรูขุมขน (อวัยวะที่สร้างไข่และปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจน) ที่สำคัญ น้ำยังเป็นตัวช่วยให้ผลิตมูกปากมดลูกได้ดีขึ้นอีกด้วย

ดังนั้นคุณแม่จำเป็นต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร หรือ 8 แก้วต่อวัน เพราะหากดื่มน้อยกว่านั้นอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลงได้ ขณะเดียวกัน คุณพ่อก็ควรดื่มน้ำในปริมาณเท่านี้เช่นเดียวกัน เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำอสุจิ การได้รับน้ำไม่เพียงพออาจทำให้คุณภาพของตัวอสุจิลดลงได้

 

15. เสริมความรู้ให้กับตัวคุณ

การอ่านข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการสืบพันธุ์และภาวะเจริญพันธุ์ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจได้ว่าจะสามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้กับตัวเองได้เมื่อไหร่และอย่างไร ซึ่งคุณแม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากการอ่านบล็อกของ Mama’s Choice! 🙂

16. คุณพ่อต้องมีส่วนร่วมด้วย

แม้ว่าการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นในร่างกายของคุณแม่ แต่คุณพ่อเองก็มีบทบาทในแผนการตั้งครรภ์ไม่แพ้กัน รายงานจาก Healthline พบว่า 30% ของคุณแม่ที่มีภาวะมีบุตรยากหรือมีปัญหาในการตั้งครรภ์ มักเกิดจากปัจจัยด้านการเจริญพันธุ์ของผู้ชาย ซึ่งหากคุณพ่อเองต้องการที่จะมีเจ้าตัวน้อยก็ควรที่จะให้ความร่วมมือกับคุณแม่ในการปรับปรุงไลฟ์สไตล์ของตนเองด้วยเช่นกัน

 

17. รักษาภูมิคุ้มกันของร่างกาย

หลังจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ด้วยเหตุนี้ เราจึงแนะนำให้คุณแม่ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการทำ “กิจกรรมพิเศษ” เพิ่มเติมเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์อาจสั่งวิตามินซีหรือแนะนำอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับแผนตั้งครรภ์ให้คุณแม่รับประทานเพิ่มเติม

 

18. วางแผนการเงิน

การเงิน เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญและจำเป็นต้องนำมาพิจารณาในแผนการตั้งครรภ์ด้วยเสมอ เพราะหลังจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว การไปพบแพทย์เพื่อตรวจพัฒนาการของมดลูกอย่างสม่ำเสมอตลอดจนถึงวันคลอดเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น คุณแม่ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเงินหรือประกันสุขภาพได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเงินในครอบครัว

19. การสื่อสารที่ดี

ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร ชีวิตคู่ คือ ความมุ่งมั่นในการยอมรับทุก ๆ รูปแบบ ดังนั้น คุณแม่และคุณพ่อควรช่วยกันวางแผนการตั้งครรภ์ รับฟังกันอย่างใจกว้าง และสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อให้คุณแม่มีสุขภาพดี รู้สึกสบายใจ และมีความสุขตลอดการตั้งครรภ์

 

20. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารพิษ

โดยทั่วไป เราจะไม่สามารถรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากสารพิษได้โดยตรง แต่การปล่อยให้สารพิษสะสมในร่างกายมากเกินไปนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะสารพิษเหล่านี้สามารถส่งผลเสียต่อมดลูกของคุณแม่ในช่วงระหว่างที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ได้

สารพิษสามารถพบได้ง่ายในชีวิตประจำวันของเรา แม้ว่าเราอาจมองไม่เห็นก็ตาม เช่น จากอากาศ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน และอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ คุณแม่และคุณพ่อที่ต้องการจะมีเจ้าตัวเล็กจึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงกับการสัมผัสสารพิษเหล่านี้ โดยสามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้:

  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่อทำกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับมลภาวะ
  • เลือกน้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือนที่ปราศจากสารพิษและสารเคมีที่เป็นอันตราย
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ปลอดภัยและปราศจาก SLS, parabens, phthalates, BPA, triclosan
  • ระบุสารเคมีที่เป็นอันตรายและตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้มีอยู่บนฉลากของผลิตภัณฑ์ที่คุณแม่ต้องการใช้

สร้างความปลอดภัยให้กับแผนการตั้งครรภ์ของคุณล่วงหน้า

จำไว้ว่าทุกสิ่งที่เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ เช่นเดียวกับสารพิษที่สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้

ดังนั้น การเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลจาก Mama’s Choice ที่ปลอดภัย 100% ปราศจากสารพิษ มีเครื่องหมายฮาลาล และเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งสามารถมั่นใจได้เลยว่าการดูแลของคุณแม่ต่อจากนี้จะปลอดภัยอย่างแน่นอน 

เราหวังว่าเดือนหน้าจะได้รับฟังข่าวดีจากคุณแม่กันนะคะ! 🙂

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

15 อาการคนท้อง ที่บอกได้เลยว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อ่อนๆ

อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไร? คุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่จะรับมืออย่างไรดี?

อาการคนท้องแต่ละสัปดาห์เป็นอย่างไร? ต้องดูแลอย่างไรให้เหมาะสม?


Mama's Choice Blog

Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า