Search

‘โคลิค’ คืออะไร? พร้อม 9 วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด

เป็นธรรมดาที่ทารกจะร้องไห้เพื่อส่งสัญญาณบอกคุณพ่อคุณแม่ว่ารู้สึกไม่ดี อาทิ หิวนม อยากให้คนอุ้ม ผ้าอ้อมเลอะ เหนื่อย ง่วงนอน รู้สึกเจ็บ (เช่น บางทีอาจมีเส้นด้ายหรือเส้นผมพันรัดรอบนิ้ว) ปวดท้อง ปวดแสบช่วงอกเนื่องจากภาวะกรดไหลย้อน หรือป่วยไม่สบายตัว ซี่งคุณแม่มือใหม่ก็จะพยายามคาดเดาสาเหตุและช่วยให้ลูกน้อยสงบลง แต่หากทารกแรกเกิดจนถึง 3 เดือน มีอาการร้องไห้รุนแรงและร้องเป็นเวลานานในช่วงบ่ายหรือเย็น คุณแม่อาจสงสัยได้ว่าลูกน้อยมีอาการ โคลิค 

 

ถึงแม้ว่าโคลิคจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อยทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาว แต่เนื่องจากลูกน้อยมักมีอาการโคลิคในช่วงเย็น ซึ่งคุณแม่ก็เริ่มเหนื่อยและเพลียจากการเลี้ยงลูกมาทั้งวัน ทำให้คุณแม่เครียดและมีงานวิจัยที่บอกว่าอาจส่งผลให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดเพิ่มมากขึ้น หรือมีโอกาสหยุดให้นมลูกก่อนเวลาที่เหมาะสม หรือความรู้สึกผิด หรือแม้กระทั่งโกรธ เพราะฉะนั้นคุณแม่ต้องเข้าใจอาการและวิธีจัดการเพื่อลดความรุนแรงและระยะเวลาของโคลิค รวมถึงบรรเทาความเครียดของคุณแม่เอง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ และลูก Mama’s Choice จึงรวบรวมทุกเรื่องเกี่ยวกับโคลิคและวิธีรับมือเมื่อลูกน้อยมีอาการโคลิคมาฝากกันค่ะ

 

 

โคลิค คืออะไร?

 

โคลิคคืออาการร้องไห้ต่อเนื่องยาวนานของทารกที่มีสุขภาพดี แต่ไม่มีสาเหตุของการร้องไห้ที่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์แรกของเดือน และหายไปเองเมื่อลูกน้อยอายุ 3-4 เดือน โดยพบว่า 25% ของทารกมักมีอาการโคลิค ซึ่งอาการโคลิคจะแตกต่างจากอาการร้องไห้ทั่วไป ดังนี้

  • ลูกน้อยร้องไห้รุนแรง ร้องแบบแผดเสียง หน้าแดงหรือหน้าซีด กำหมัดแน่น ขางอเข้าหาหน้าท้อง
  • ร้องไห้ต่อเนื่องยาวนานกว่า 3 ชั่วโมงใน 1 วัน
  • ความถี่มากกว่า 3 วันใน 1 สัปดาห์
  • เกิดขึ้นติดต่อกันมากกว่า 3 สัปดาห์

 

 

โคลิค เกิดจากอะไร?

 

สาเหตุของโคลิคยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันของระบบทางเดินอาหาร จิตวิทยาระบบประสาท และพัฒนาการในทารก ดังนี้

โคลิค ร้องไห้ไม่หยุด colic

 

  • ระบบการย่อยอาหารของทารกยังไม่พัฒนาเต็มที่
  • ปริมาณของแบคทีเรียที่ดีในทางเดินอาหารไม่สมดุล
  • แพ้อาหาร ซึ่งมาจากโปรตีนจากนมวัว ทำให้รู้สึกปวดท้อง มักเกิดร่วมกับถ่ายเหลว
  • ปัญหาจากการให้นม อาทิ ได้รับนมมากเกินไป น้อยเกินไป หรือไม่ได้จับเรอบ่อยๆ 
  • ช่วงต้นของอาการไมเกรนในเด็ก
  • ความกังวลหรือความเครียดภายในครอบครัว

งานวิจัยพบว่า ไม่ว่าทารกจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย คลอดตามกำหนดหรือคลอดก่อนกำหนด ทานนมแม่หรือนมผงก็มีโอกาสเกิดโคลิคได้ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่าเด็กที่เกิดจากแม่ที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโคลิค

 

 

สามารถรับมือกับอาการโคลิคได้อย่างไรบ้าง? 

 

วิธีการรับมือกับลูกน้อยที่มีอาการโควิดจะแตกต่างกันไปตามเด็กแต่ละคน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้เวลาในการค้นหาวิธีที่เหมาะกับลูกน้อยของเรา โดยก่อนอื่นคุณแม่ต้องจัดการความรู้สึกของตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ความเสียใจ ความกลัว ความรู้สึกไร้ความสามารถ ความรู้สึกผิด ไปจนถึงความโกรธ ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา จากนั้นลองสังเกตและทำตามวิธีต่อไปนี้ดูค่ะ

 

1. เช็คให้แน่ใจว่าลูกน้อยไม่ได้หิว และอย่าบังคับให้ลูกกินถ้าลูกไม่ต้องการ

2. ใช้ขวดนมที่ช่วยป้องกันโคลิค ใช้ขวดทรงโค้งที่มีตัวล็อกสำหรับป้องกันอากาศ อย่างเช่น Mama’s Choice Anti Colic Baby Bottle ที่มีรูปทรงโค้งเว้า และมีตัวล็อกพิเศษช่วยป้องกันไม่ให้อากาศเข้าท้องลูกน้อยระหว่างดูดนม ที่สำคัญขวดนมของเราปลอดภัยเพราะผลิตจากซิลิโคน food grade และปราศจาก BPA

ขวดนมป้องกัน โคลิค

ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 399-499.- จาก 509-629.- | จัดส่งฟรี!

 

3. จับลูกเรอบ่อยๆ ขณะให้นม และคอยระวังไม่ให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปมากขณะป้อนนม โดยจับลูกตั้งตรงเวลาป้อนนม

4. ปรับเปลี่ยนท่าให้ลูกน้อย จับนั่งพิงถ้าร้องไห้ในขณะนอนอยู่ อุ้มหันหน้าออกถ้าร้องไห้ขณะอุ้มลูกน้อยเข้าหาคุณอยู่ อุ้มเดินเล่น โยกไปมา

5. ดึงดูดความสนใจลูกน้อย ด้วยการร้องเพลงหรือพูดคุยกับลูกน้อย หรือให้หยิบจับสิ่งของที่มีรูปร่าง สี ลักษณะหรือขนาดที่แตกต่างกัน 

6. สร้างบรรยากาศการเลี้ยงดูให้สงบ ไม่ให้มีสิ่งเร้ามาก อาจเปิดเสียงบำบัด (white noise)  ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่สม่ำเสมอ ราบเรียบ ช่วยตัดความสนใจและความวุ่นวายจากเสียงอื่นๆ ช่วยให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลายได้ เช่น เสียงฝนตก เสียงธรรมชาติ เสียงพัดลม 

7. กรณีให้นมแม่ คุณแม่ลองหลีกเลี่ยงอาหารจากนมวัว ไข่ ถั่ว เนื่องจากเด็กอาจมีอาการแพ้อาหารดังกล่าวและไม่สบายตัว

8. ใช้ยาขับลม เช่น Simethicone Gripe Water เพื่อลดอาการท้องอืด ย่อยไม่ดี แต่ต้องระวังในส่วนประกอบว่ามีน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลเสียกับทารกได้  ยากลุ่มที่ลดการบีบตัวของลำไส้อาจทำให้อาการดีขึ้น แต่จะต้องระวังผลข้างเคียงของยา เช่น กดการหายใจ ทำให้ง่วงซึม  จึงควรหลีกเลี่ยง

9. อาบน้ำและนวดผ่อนคลาย เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคงาย ช่วยไล่ลมและกระตุ้นระบบย่อยอาหารได้ด้วย การนวดผ่อนคลายสามารถทำได้ทุกวัน โดยมีท่าต่างๆ ดังนี้

    • ท่าวนเป็นก้นหอย ใช้นิ้วมือแตะที่บริเวณสะดือแล้วนวดวนเป็นก้นหอย ทิศทางตามเข็มนาฬิกาจากด้านในออกสู่ด้านข้างหรือด้านล่างของลำตัว ไออุ่นของนิ้วมือจะช่วยให้ทารกผ่อนคลายและรู้สึกสงบลง
    • ท่าเท้าแตะปลายจมูก เป็นท่าที่ช่วยไล่ลม โดยให้ทารกนอนหงาย งอเข่าเล็กน้อย จับฝ่าเท้าทั้ง 2 ชนติดกัน แล้วพยายามยกไปแตะที่ปลายจมูก
    • ท่าบิดหมุน ให้ทารกนอนหงาย พยายามให้ช่วงตัวครึ่งบนราบติดพื้น เหยียดขาตรงหรืองอเข่าเล็กน้อย จับที่ปลายเท้าของทารก แล้วโยกไปมาจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ท่านี้อาจช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายได้
    • ท่างอและยืดขา ให้ทารกนอนราบไปกับพื้น เหยียดขาตรง แล้วจับปลายเท้าของทารกขึ้นให้เข่างอไปแตะที่บริเวณกลางลำตัว ท่านี้จะช่วยไล่ลมได้เช่นเดียวกัน
    • ท่านิ้วโป้งนวดวน ให้ทารกอยู่ในท่าที่สบาย แล้วใช้นิ้วโป้งนวดวนเป็นก้นหอยที่บริเวณฝ่าเท้าหรือฝ่ามือของทารก จะส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหารและไล่ลมได้

ทั้งนี้ มีข้อควรระวังที่สำคัญมากคือ ห้ามเขย่าหรือสั่นทารกแรงๆ พ่อแม่บางคนที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อาจเขย่าหรือสั่นตัวทารกอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดอันตรายต่อสมองและถึงแก่ความตายได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือปัญหาที่เกิดขึ้นโดยด่วน และหากลูกต้องได้รับการดูแลจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คุณ ควรแน่ใจว่าลูกจะปลอดภัยจากการกระทำดังกล่าวจากบุคคลที่ดูแลลูก ขณะที่คุณไม่อยู่บ้าน  

 

 

เมื่อไหร่ต้องพาลูกไปหาหมอ?

 

ถึงแม้ว่า อาการโคลิคสามารถเกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน โดยไม่เป็นอันตราย แต่หากมีอาการเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาไปพบแพทย์ ได้แก่

  • ร้องไห้หนักมาก ร้องนาน ร้องเสียงแหลม กระสับกระส่าย 
  • มีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ตัวร้อน อาเจียนเป็นของเหลวสีเขียวๆ 
  • ไม่ยอมกินนม 
  • อุจจาระมีลักษณะผิดปกติ เช่นมีสีแดงเหมือนแยม ซึ่งอาจเป็นอาการของลำไส้กลืนกัน 
  • อุ้มขึ้นมาและทารกตัวอ่อนปวกเปียก
  • กระหม่อมบุ๋ม
  • มีอาการชัก
  • มีการหายใจผิดปกติ
  • ตัวเขียวหรือผิวซีด

 

การรับมือกับลูกน้อยที่มีอาการโคลิคนั้นยากกว่าที่คิด แต่ที่สำคัญกว่าคือคุณพ่อคุณแม่ต้องจัดการอารมณ์กับตัวเองให้มั่นใจว่าอาการโคลิคไม่ใช่ความผิดของใคร รับมือและทดลองวิธีต่างๆ ในการจัดการกับลูกน้อยอย่างมีสติ และทุกอย่างจะดีขึ้นเมื่อลูกน้อยมีอายุย่างเข้า 4-6 เดือนค่ะ Mama’s Choice ขอเอาใจช่วยคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกท่านนะคะ 🙂

 

Mama's Choice Anti-Colic Baby Bottle

อ้างอิง 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

13 ขั้นตอน อาบน้ำเด็กแรกเกิด ไม่ยาก คุณแม่มือใหม่ก็ทำได้!

6 เคล็ดลับ ลดหุ่น ลดน้ำหนักหลังคลอด แบบไม่ต้องออกกำลังกาย

7 ความเชื่อผิดๆ ที่คุณแม่หลังคลอดอย่าหาทำ!

 

 

Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า