Search

13 ขั้นตอน อาบน้ำเด็กแรกเกิด ไม่ยาก คุณแม่มือใหม่ก็ทำได้!

 

แม้ว่าคุณแม่มือใหม่จะได้ฝึกอาบน้ำให้ลูกน้อยกับพยาบาลในช่วงที่พักฟื้นหลังคลอดที่โรงพยาบาล แต่เมื่อกลับบ้านมาอาบน้ำให้ลูกน้อยด้วยตัวเองที่บ้าน ความรู้สึกมากมายทั้งรู้สึกอิ่มใจ ดีใจ ร่วมไปกับความกังวลสารพัดก็ประดังประเดเข้ามา Mama’s Choice จึงรวบรวมทุกเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้เกี่ยวกับการ อาบน้ำเด็กแรกเกิด เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมและบรรเทาความกังวลใจให้คุณแม่มาฝากค่ะ

 

ทำความเข้าใจทารกแรกเกิด

ทารกที่มีอายุตั้งแต่เแรกเกิดถึง 28 วัน เป็นช่วงที่มีการปรับตัวอย่างมาก จากสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นในครรภ์คุณแม่ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ทารกยังคอไม่แข็ง ผิวหนังบอบบาง จึงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ ทารกบางคนร้องไห้ในการอาบน้ำครั้งแรกๆ เพราะยังไม่ชินเวลาอาบน้ำ คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ หลังจากอายุ 3 สัปดาห์ ทารกส่วนใหญ่จะชื่นชอบการอาบน้ำแล้วค่ะ

อาบน้ำเด็กแรกเกิด อาบน้ำทารก

 

ความถี่และเวลาที่ควร อาบน้ำเด็กแรกเกิด

ทารกควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยแพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ให้คำแนะนำว่า เวลาที่เหมาะสมในการอาบน้ำให้ทารกช่วง 2-3 เดือนแรก คือช่วงสายๆ ก่อนกินนม หรือเวลาใดก็ได้ที่คุณแม่สะดวก แต่ควรก่อนกินนมเพราะทารกมักหลับไปเลยหลังกินนมเสร็จ แต่เมื่อลูกโตขึ้น อาจเปลี่ยนเวลาอาบน้ำเป็นหลังอาหารเย็นไปแล้ว 1 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกสบายตัวก่อนเข้านอน

 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำให้ทารก

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ทั้งหมดนี้ คุณแม่ควรเตรียมให้พร้อมก่อนเริ่มอาบน้ำให้ทารก เพื่อให้สามารถหยิบฉวยได้ทันที โดยไม่ต้องหันหลังให้ลูกน้อยหรือปล่อยลูกน้อยไว้ลำพังขณะอาบน้ำ 

อาบน้ำเด็กแรกเกิด อาบน้ำทารก

  1. อ่างอาบน้ำ
  2. แผ่นกันลื่น
  3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่และผืนเล็ก 
  4. ผ้าหรือฟองน้ำ
  5. สบู่และแชมพูสำหรับเด็ก
  6. สำลีใส่น้ำต้มสุกสำหรับเช็ดตา
  7. สำลี ไม้พันสำลีและแอลกอฮอล์ 70% สำหรับเช็ดสะดือ
  8. เสื้อผ้าสะอาดและผ้าอ้อม
  9. ที่รองนอน สำหรับถอดเสื้อผ้าและแต่งตัว หุ้มด้วยพลาสติกเพื่อกันน้ำ หรือหุ้มด้วยผ้าขนหนูเพื่อซับน้ำ

หากคุณแม่ยังไม่มีสบู่เหลวอาบน้ำเด็กในดวงใจล่ะก็ เราขอแนะนำ Mama’s Choice Hair & Body Wash สบู่เหลวและแชมพูอาบน้ำเด็กแบบ 2in1 อ่อนโยนด้วยสารสกัดจากธรรมชาติอย่างลาเวนเดอร์ คาโมมายล์ และน้ำตาลเมเปิ้ล ปราศจากสารเคมีอันตรายทุกชนิด สามารถใช้ได้กับผิวบอบบางของลูกน้อย

ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 149.- จาก 279.- | จัดส่งฟรี! เมื่อช้อปครบ 300.-

 

วิธี อาบน้ำเด็กแรกเกิด

ในการอาบน้ำให้ทารก ควรอาบในบริเวณที่อากาศไม่เย็น ปิดแอร์ก่อนอาบน้ำ และมีขั้นตอน ดังนี้ 

อาบน้ำเด็กแรกเกิด อาบน้ำทารก

1. เตรียมตัวคุณแม่หรือผู้อาบ

โดยต้องถอดนาฬิกา สร้อยข้อมือ หรือแหวนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขีดข่วนลูกน้อย และล้างมือให้สะอาด 

2. เตรียมอ่างอาบน้ำ ดังนี้

  • อุณหภูมิของน้ำที่ใช้อาบควรเป็นอุณหภูมิปกติ ไม่อุ่นหรือเย็นเกินไป คุณแม่สามารถใช้ข้อศอกหรือหลังมือทดสอบความอุ่นของน้ำ 
  • ควรใส่น้ำสูงไม่เกิน 2 นิ้วสำหรับผู้อาบน้ำมือใหม่
  • วางแผ่นกันลื่นไว้ในอ่างอาบน้ำ

3. ถอดเสื้อผ้าและห่อตัว

อุ้มลูกวางบนที่รองนอน ถอดเสื้อผ้าออก แล้วห่อตัวลูกด้วยผ้าขนหนูให้กระชับ เหลือเฉพาะส่วนของศีรษะ

4. เช็ดหน้าและหู

โดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดใบหน้า ใบหู ซอกหูและรูหูตื้นๆ  

5. เตรียมสระผม

โดยอุ้มลูกขึ้นจากที่รองโดยประคองศีรษะให้อยู่ในอุ้งฝ่ามือ ใช้แขนและศอกหนีบลำตัวลูกไว้ข้างเอว ใช้นิ้วมือพับใบหู 2 ข้าง เพื่อป้องกันน้ำเข้าหู

6. สระผม

โดยใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูผืนเล็ก (ถ้าเป็นผ้าขนหนูผืนเล็กให้พันรอบมือ) ชุบน้ำบีบให้หมาดลูบให้ทั่วศีรษะของลูก หยดแชมพู 1-2 หยด ใช้นิ้วกดเบาๆ ให้ทั่ว แล้วล้างออกให้สะอาด จากนั้นเช็ดศีรษะให้แห้ง

7. เตรียมอาบน้ำ

โดยวางลูกลงบนที่รองแล้วถอดผ้าขนหนูที่ห่อตัวลูกไว้ จากนั้นค่อยๆ นำตัวลูกลงอ่างอาบน้ำ โดยให้วางศีรษะลูกบนข้อมือของแขนข้างที่คุณไม่ถนัด แล้วใช้นิ้วโป้งและนิ้วมือทั้งสี่กำที่รอบต้นแขนบริเวณรักแร้ของลูก  

8. อาบน้ำด้านหน้า

ลูบตัวลูกให้เปียกด้วยฟองน้ำหรือผ้าขนหนูผืนเล็ก ใช้สบู่ลูบตัวทีละส่วนของร่างกาย ตั้งแต่แขน ซอกคอ ลำตัว ขา แล้วล้างฟองสบู่ออกให้หมด หากฟอกสบู่แล้ว ควรรีบล้างออกทันทีก่อนที่ลูกจะเอามือใส่ปาก อย่าลืมล้างบริเวณอวัยวะเพศและก้นของลูกให้สะอาด หากกลัวลูกหลุดลื่นจากมือขณะฟอกสบู่ สามารถใช้ที่รองขณะอาบน้ำ ลักษณะเป็นตาข่ายมีโครง สามารถพาดกับขอบของอ่างอาบน้ำ ช่วยให้คุณแม่สะดวกขึ้นได้ 

9. อาบน้ำด้านหลัง

เมื่อถูด้านหน้าเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้มืออีกข้างจับที่หัวไหล่โดยอุ้มคว่ำให้อกพาดที่แขนแม่ลูบสบู่ให้ทั่วหลัง ก้นและขา แล้วล้างออกให้สะอาด

10. เช็ดตัวให้แห้ง

อุ้มลูกขึ้นจากอ่างอาบน้ำ ซับน้ำให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกและข้อพับต่างๆ

11. แต่งตัวให้ลูกน้อย

โดยสวมใส่เสื้อผ้าตามฤดูกาล ถ้าอากาศร้อน ควรใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว ไม่ต้องใส่ถุงมือถุงเท้า

12. เช็ดสะดือ

สายสะดือของทารกจะค่อยๆ แห้งและหลุดไปภายใน 2 สัปดาห์ แต่ระหว่างนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลทำความสะอาดสะดือให้ลูกน้อย หากสะดือสกปรกอาจทำให้ทารกติดเชื้อได้ ทั้งนี้คำแนะนำในการดูแลสะดือเด็ก จะขอแยกอธิบายในหัวข้อถัดไป

13. ทำความสะอาด ตา จมูก ปาก ด้วยวิธีดังนี้

  • ตา ใช้สำลี 2 ก้อนชุบน้ำอุ่น บีบน้ำออกแห้งหมาดๆ ใช้สำลีเช็ดรอบตาลูกและป้ายไปทางเดียวจากหัวตาไปทางหางตา สำลี 1 ก้อนสำหรับการป้าย 1 ครั้ง หากป้ายครั้งแรกแล้วไม่สะอาดให้เปลี่ยนสำลีใหม่ แล้วป้ายอีกครั้ง เปลี่ยนสำลีและทำซ้ำจนกว่าจะสะอาดทั้ง 2 ข้าง (หากมีขี้ตามากผิดปกติต้องปรึกษาแพทย์)  
  • จมูก ทำความสะอาดรูจมูกทั้ง 2 ข้างเพียงบริเวณตื้นๆ โดยใช้ไม้พันสำลี
  • ปาก ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำต้มสุกพันรอบนิ้วมือ เช็ดให้ทั่วปาก

อาบน้ำเด็กแรกเกิด อาบน้ำทารก

 

วิธีดูแลสะดือเด็ก

สายสะดือของทารกนั้นประกอบด้วยเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงซึ่งสามารถเป็นทางผ่านของเชื้อโรคได้ รวมไปถึงผิวหนังบริเวณรอบๆ สะดือนั้น ค่อนข้างเปราะบาง ถ้าทำความสะอาดไม่ดี จะส่งผลให้ติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดูแลสะดือของเด็กแรกเกิดอย่างพิถีพิถัน โดยมีข้อแนะนำดังนี้

  • ทำความสะอาดสะดือ หลังจากอาบน้ำและเปลี่ยนผ้าอ้อม เช็ดสะดือให้แห้งทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • มัดผ้าอ้อมให้ต่ำกว่าสะดือและสายสะดือเพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าอ้อมที่เปียกชื้นถูกสะดือ
  • ถ้าสังเกตเห็นน้ำหนองหรือรอยแดงที่ฐานสะดือ หรือเด็กร้องเมื่อถูกสะดือ ควรพาลูกไปพบแพทย์

อาบน้ำเด็กแรกเกิด อาบน้ำทารก

วิธีการทำความสะอาดสะดือ แพทย์หญิงศศินี เอี่ยมอุไรรัตน์ได้แนะนำว่า ให้คุณพ่อคุณแม่ทำความคุ้นเคยกับสะดือ โดยจับสายสะดือขึ้นตั้งตรง แล้วหมุนด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้าและด้านหลัง จะพบว่าบริเวณโคนสะดือจะมีซอกเล็กๆ เกิดขึ้น สามารถทำความสะอาดได้ดังนี้

  1. ใช้ไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดบริเวณซอกโคนสะดือของลูกน้อย โดยหมุนไปทางเดียวกัน ไม่ควรเช็ดย้อนไปมา (หากใช้ไม้พันสำลี 1 ก้านแล้วยังเช็ดไม่สะอาด ควรทิ้งและใช้อันใหม่เช็ดจนกว่าสะดือของลูกน้อยจะสะอาด)
  2. ใช้สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดบริเวณสายสะดือของลูกน้อย โดยเช็ดบริเวณโคนสะดือขึ้นมาจนถึงปลายสะดือให้รอบทุกด้านจนกว่าจะสะอาด
  3. ใช้สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์ 70% บีบให้หมาด เช็ดบริเวณโคนสะดือที่เป็นผิวหนังของลูกน้อย  โดยหมุนวนประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อการฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง

 

ข้อควรระวังในการอาบน้ำให้ทารก

เวลาอาบน้ำให้ทารก คุณแม่จะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับทารกได้ คำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรระวังในการอาบน้ำให้ทารก มีดังนี้ค่ะ

  1. ห้ามออกจากห้องที่กำลังอาบน้ำให้ลูกไม่ว่าเหตุผลใดทั้งสิ้น ควรเตรียมทุกอย่างไว้ให้พร้อมหยิบฉวย
  2. หากเช็ดตัวหรืออาบน้ำให้ลูกบนโต๊ะ ควรระวังลูกพลัดตกจากโต๊ะขณะที่คุณหันหลังให้ลูกเพื่อหยิบข้าวของเครื่องใช้ จึงควรเตรียมทุกอย่างให้พร้อมหยิบฉวย
  3. ควรใช้ข้อมือด้านในซึ่งผิวของเราในส่วนนี้ค่อนข้างอ่อน วัดดูว่าน้ำร้อนไปหรือไม่ 
  4. ห้ามใช้สบู่ของผู้ใหญ่อาบน้ำให้ลูก ถ้าหมดให้อาบน้ำเปล่าๆ ไปก่อน 
  5. ห้ามใช้สบู่ทุกชนิดล้างหน้าให้ลูก ถีงแม้ว่าจะเป็นสบู่เด็ก ควรเริ่มอาบน้ำส่วนหน้าของลูกลงมาที่ตัวแขนขาและจบด้วยการสระผมเป็นขั้นสุดท้าย
  6. ทารกไม่ชอบให้มีอะไรมาปิดหรือบังตาทำให้รู้สึกมืดมิดกระทันหัน จึงไม่ควรใช้ผ้าทั้งผืนเช็ดลงมาทั้งหน้า ควรเช็ดเป็นส่วนๆ คือ หน้าผากก่อน แก้มทีละข้าง จมูก ปาก คาง ซอกคอ หลังคอ 
  7. การเช็ดตาควรเริ่มจากหัวตาไปด้านหางตา 
  8. หลังจากเช็ดตัวเสร็จแล้ว ควรคลุมด้วยผ้าเช็ดตัวแล้วจึงอุ้มออกมาแต่งตัว
  9. ห้ามใช้แป้งฝุ่นทาให้ทารก เพราะอาจเข้าจมูกและไปสะสมในปอด หรือเป็นภูมิแพ้ได้

สบู่อาบน้ำเด็ก สบู่เหลว

 

อ้างอิง

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ความเชื่อผิดๆ ที่คุณแม่หลังคลอดอย่าหาทำ!

วิธีปั๊มนม เทคนิคปั๊มนม รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับการปั๊มนมที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้

6 เคล็ดลับ ลดหุ่น ลดน้ำหนักหลังคลอด แบบไม่ต้องออกกำลังกาย

Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า