Search

แจกฟรี! ตารางบอกพัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ เซฟเก็บไว้ดูนะแม่ๆ

 

เจ้าตัวเล็กของเราเติบโตแค่ไหนแล้วนะ? คำถามที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักสงสัยอยู่เสมอ เรียกได้ว่าแม้ยังไม่เห็นหน้า แต่ก็อยากดูแลเขาทุกวินาที ดังนั้นในบทความนี้ Mama’s Choice ขอพาแม่ท้องมาติดตาม พัฒนาการทารกในครรภ์ ตลอดทั้ง 40 สัปดาห์แห่งความมหัศจรรย์ พร้อมบอกขนาดตัวและ น้ำหนักของทารกในครรภ์ เทียบกับผัก-ผลไม้ ช่วยให้คุณแม่จินตนาการออกว่าเจ้าตัวน้อยขนาดเท่าไหร่แล้ว ตามมาดูกันเลยค่ะ 🙂

*ท้ายบทความมีตารางอินโฟกราฟิกแบบครบทุกสัปดาห์นะคะ แม่ๆ เลื่อนลงไปเซฟเก็บไว้ดูได้เลย!

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1-4 

“Say Hello หม่ามี๊”

พัฒนาการทารกในครรภ์ น้ำหนักทารกในครรภ์ ขนาดตัว ทารกในครรภ์

ช่วง 1 ถึง 3 สัปดาห์แรก เรียกได้ว่าเป็นช่วงก่อร่างสร้างตัวของทารกในครรภ์ ไข่จะได้รับการปฏิสนธิจนกระทั่งตัวอ่อนของทารกฝังเข้าไปในผนังมดลูกได้สำเร็จสมบูรณ์ในสัปดาห์ที่ 4 โดยขนาดตัวอ่อนของทารกจะมีน้ำหนักน้อยกว่า 1 กรัม และมีความยาวไม่เกิน 3 มิลลิเมตร หากจะเปรียบเทียบเจ้าตัวน้อยของคุณแม่ในช่วงเวลานี้คงเป็นเพียงแค่เมล็ดงาเล็กๆ เท่านั้น

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 5-8 

“จุดเริ่มต้นของพัฒนาการ”

พัฒนาการทารกในครรภ์ น้ำหนักทารกในครรภ์ ขนาดตัว ทารกในครรภ์

แม้ร่างกายภายนอกของคุณแม่จะยังมองเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน แต่เจ้าตัวน้อยในครรภ์กลับมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นท่อประสาท ระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่นศีรษะ หัวใจ แขน ขา เป็นต้น โดยปกติแล้วทารกจะยังคงมีน้ำหนักน้อยกว่า 1 กรัม แต่จะมีขนาดความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร จะเห็นได้ว่าเขาโตขึ้นมาอีกนิดแล้ว ตอนนี้รูปร่างและขนาดของเขาจะเทียบได้กับเมล็ดถั่วแดง

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่  9-12

“ประสานการทำงาน”

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่  9-12

อวัยวะต่างๆ ของทารกอยู่ในรูปแบบที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์แล้ว เล็บมือและเล็บเท้าเริ่มงอก รวมไปถึงอวัยวะสืบพันธุ์ของทารก นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงที่สมองเริ่มทำงานประสานกันกับกล้ามเนื้อของส่วนต่างๆ ทำให้เจ้าตัวน้อยของคุณแม่เริ่มขยับแขนและขาเบาๆ ได้แล้ว โดยขนาดของทารกในสัปดาห์ที่ 12 จะมีขนาดเทียบได้กับลูกมะนาว น้ำหนักของเขาจะอยู่ที่ประมาณ 2 – 14 กรัม และจะมีความยาวประมาณ 2.5 – 5 เซนติเมตร

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 13-16

“รู้เพศหนูแล้วนะ”

พัฒนาการทารกในครรภ์ น้ำหนักทารกในครรภ์ ขนาดตัว ทารกในครรภ์

คุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจเต้นของเจ้าตัวน้อยชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขนจะเริ่มขึ้นตามบริเวณต่างๆ ใบหน้าเริ่มมีเค้าโครงที่ชัดเจนขึ้น ระบบประสาทพร้อมเริ่มทำงานตามหน้าที่ รวมไปถึงอวัยวะสืบพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ทำให้คุณแม่สามารถตรวจดูเพศของเขากันได้แล้วค่ะ และเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 16 ทารกจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 23 – 100 กรัม และมีความยาวประมาณ 7 – 18 เซนติเมตร เรียกได้ว่าเขามีขนาดเท่ากับแอปเปิ้ลกันแล้ว

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 17-20

“ก๊อกๆๆ หนูได้ยินเสียงแม่แล้วนะ”

ในช่วงนี้ทารกจะมีการพัฒนาไขมันเพื่อช่วยปกป้องผิวหนังและเส้นผมของเขา ในส่วนของกล้ามเนื้อก็กำลังพัฒนาให้แข็งแรงไปอีกขั้น คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกน้อยกำลังเคลื่อนไหวไป-มา นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวอย่างจริงจังครั้งแรกของเขาเลยค่ะ เช่นเดียวกับหูของเขาที่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และเริ่มได้ยินเสียงของคุณแม่แล้ว โดยทารกจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 140 – 300 กรัม และมีความยาวประมาณ 16 – 25 เซนติเมตร ขนาดของเขาตอนนี้เทียบได้กับผลกล้วยแล้วค่ะ 

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24

“คุยกับหนูหน่อยนะ”

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24

เป็นช่วงที่ทารกจะมีพัฒนาการช้าลงเพื่อให้ระบบภายในต่างๆ ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน เขาจะเริ่มตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ด้วยการเคลื่อนไหว ดังนั้นคุณแม่สามารถพูดคุยหรือเปิดเพลงให้เขาฟังได้ และในสัปดาห์ที่ 24 ตอนนี้เจ้าตัวเล็กของคุณแม่ได้กลายเป็นฝักข้าวโพดน้อยกันแล้วค่ะ โดยน้ำหนักของเขาจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 300 – 600 กรัม และมีความยาวประมาณ 25 – 30 เซนติเมตร

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 25-28

“หนูลืมตาแล้วนะ”

พัฒนาการทารกในครรภ์ น้ำหนักทารกในครรภ์ ขนาดตัว ทารกในครรภ์

ร่างกายของทารกยังคงเติบโตและมีการพัฒนาต่อมรับรส ที่สำคัญคือ เขาสามารถหลับตาและลืมตาได้แล้ว อีกทั้งยังตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดีขึ้นทำให้เขาขยับเปลี่ยนตำแหน่งอยู่บ่อยครั้ง  โดยเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 28 เจ้าตัวน้อยจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 600 – 1200 กรัม และมีความยาวประมาณ 30 – 35 เซนติเมตร รูปร่างและขนาดของเขาจะคล้ายกับมะเขือม่วงอวบอ้วนเลยค่ะ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32

“ใกล้เข้ามาอีกนิด”

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32

ในช่วงสัปดาห์นี้ ลูกน้อยของคุณแม่ได้เปลี่ยนจากมะเขือม่วงตัวอวบอ้วนกลายเป็นหัวผักกาดขาวขนาดเหมาะมือแล้ว โดยเขาจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,000 – 1,600 กรัม และมีความยาวประมาณ 35 – 40 เซนติเมตร ในส่วนของส่วนพัฒนาการทางด้านร่างกาย เขายังคงมีผิวหนังที่ย่นและแดงบางอยู่ แต่ระบบภายในส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว อาจจะยกเว้นปอดที่อาจจะยังพัฒนาไม่เต็มที่

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 33-36

“อีกไม่นานแล้ว”

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 33-36

ในช่วงสัปดาห์นี้ เจ้าตัวน้อยจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดีขึ้น เขาจะตอบสนองต่อเสียง แสง และการสัมผัส ทำให้บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกถึงแรงดิ้นจากเขาที่แรงจนสามารถเห็นความเคลื่อนไหวจากภายนอกได้ และในช่วงสัปดาห์ที่ 36 เจ้าตัวน้อยของคุณแม่จะมีขนาดเท่ากับลูกมะพร้าว น้ำหนักของเขาจะอยู่ที่ราวๆ 1600 – 2500 กรัม และมีความยาวประมาณ 40 – 45 เซนติเมตร  

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 37-40

“แม่รักหนู…หนูก็รักแม่นะ”

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 33-36

ในเดือนสุดท้ายนี้ ปอดและผิวหนังของทารกจะถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ตามหลักแล้วทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 2500 – 3400 กรัม และมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ก่อนคลอด หรือเทียบได้กับแตงโมลูกใหญ่ และอย่าลืมว่าคุณแม่สามารถคลอดเมื่อใดก็ได้ ดังนั้น ช่วงก่อนครบกำหนดคลอด 40 สัปดาห์ คุณแม่ควรเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตร จัดของตามเช็กลิสต์รายการต่างๆ อย่าให้ขาด แล้วไปรอเจอเจ้าตัวเล็กกันนะคะ 😉

 

ตารางพัฒนาการ ขนาด และน้ำหนัก ทารกในครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ น้ำหนักทารถในครรภ์ ทารกในครรภ์

 

อ้างอิง

https://bit.ly/3zB9reh

https://bit.ly/3lG4JXu

https://bit.ly/3CxxUCK

https://bit.ly/2Z9B5lP

https://bit.ly/3hONHFI

th.theasianparent.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเบิกค่าคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคม เบิกได้ ไม่ยาก!

ไขข้อข้องใจคุณแม่มือใหม่ คลอดธรรมชาติเป็นอย่างไร เจ็บมากไหม

คู่มือเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการ ‘ผ่าคลอด’ ฉบับคุณแม่มือใหม่!


Mama's Choice Shopee ผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก สินค้าแม่และเด็ก

Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า