Search

ไขข้อข้องใจคุณแม่มือใหม่ คลอดธรรมชาติเป็นอย่างไร เจ็บมากไหม

 

พอเริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 บรรดาเหล่าคุณแม่ตั้งครรภ์ก็เริ่มเตรียมตัวสำหรับการมาถึงของลูกน้อยกันแล้ว ยิ่งเข้าใกล้กำหนดวันคลอดมากเท่าไหร่ ความตื่นเต้นและความกังวลใจก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น โดยหัวข้อที่ถูกยกมาประเด็นถกเถียงกันของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสนี้ก็คือ วิธีการคลอดลูกที่ไม่รู้ว่าควรจะตัดสินใจเลือกคลอดด้วยวิธีแบบไหนกันดี ซึ่งวิธีการคลอดหลักๆ ก็จะแบ่งออกเป็นอยู่ 2 ประเภท คือ คลอดธรรมชาติ และการผ่าคลอด

โดยทั้งสองประเภทจะมีกระบวนการ ข้อดีและข้อเสีย รวมไปถึงขั้นตอนการเตรียมตัวที่แตกต่างกันไป สำหรับในบทความนี้ Mama’s Choice ขอพาคุณแม่มาเริ่มไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ‘การคลอดธรรมชาติ’ กันก่อนเลยว่าจะเป็นอย่างไร จะน่ากลัวอย่างที่แม่ท้องหลาย ๆ ท่านคิดกันหรือไม่? มาดูกันเลยค่ะ

 

ทำความรู้จักวิธีการ ‘คลอดธรรมชาติ’

การคลอดธรรมชาติ คือการคลอดผ่านทางช่องคลอดด้วยแรงเบ่งของตนเอง ซึ่งจะทำควบคู่ไปกับการบล็อกหลังหรือการใช้ยาเพื่อระงับความเจ็บปวดชั่วคราว ซึ่งการคลอดแบบธรรมชาตินี้เป็นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำสำหรับแม่ท้องที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ซึ่งในปัจจุบันการแพทย์ในบ้านเราก็ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การคลอดแบบธรรมชาติเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น สะดวกมากยิ่งขึ้น และสามารถทำได้แม้กระทั่งในกรณีฉุกเฉินเหมือนอย่างที่คุณแม่ได้ยินในข่าวกันบ่อยๆ 

คลอดธรรมชาติ

 

คลอดธรรมชาติ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร?

แน่นอนว่า ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกคลอดด้วยวิธีแบบไหนก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป คุณแม่จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ โดยสำหรับข้อดีและข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ มีดังนี้

ข้อดีของการ คลอดธรรมชาติ

  • ได้รับกำลังใจ คุณพ่อสามารถเข้าไปอยู่ในห้องคลอดกับคุณแม่ได้เพื่อคอยให้กำลังใจและช่วยคุณแม่ผ่อนคลายความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น 
  • แผลขนาดเล็ก หากเป็นท้องแรกต้องบอกไว้เลยว่าช่องคลอดของคุณแม่อาจจะมีความยืดหยุ่นไม่เพียงพอสำหรับการคลอดลูก ดังนั้น แพทย์อาจจะมีการผ่าตัดเปิดขยายช่องคลอด (ตัดฝีเย็บ) เพื่อให้คุณแม่ทำการคลอดได้ง่ายขึ้น ซึ่งขนาดของแผลจะขึ้นอยู่กับขนาดของทารก 
  • ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ กระบวนการคลอดธรรมชาติจะทำให้ทารกบีบของเหลวในปอดออกมาได้มาก ทำให้ทารกส่วนใหญ่ที่คลอดออกมาด้วยวิธีนี้ มักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ฟื้นตัวเร็ว เนื่องจากแผลที่เกิดขึ้นจากการคลอดนั้นมีขนาดเล็ก ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกเจ็บน้อยลง และยังคงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ สามารถขยับร่างกาย ลุก นั่ง หรือเดินได้หลังคลอด 
  • ภูมิคุ้มกันดี ผลการศึกษาพบว่าการคลอดธรรมชาติ สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทารกจะได้รับโปรไบโอติกผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะต่างจากการผ่าคลอดที่ทารกจะไม่ได้รับในส่วนนี้ 

คลอดลูก พ่อแม่ลูก ทารก แรกเกิด เด็กอ่อน โรงพยาบาล

ข้อเสียของการ คลอดธรรมชาติ

  • กำหนดเวลาคลอดไม่ได้ การคลอดแบบธรรมชาติคุณแม่ไม่สามารถเลือกกำหนดวันคลอดได้ จนกว่าจะรู้สึกเจ็บท้องคลอดเอง สำหรับคุณแม่สายมู วิธีนี้อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมเท่าไหร่นัก 
  • ใช้เวลานาน แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกเจ็บท้องและมาถึงโรงพยาบาลแล้ว ก็ใช่ว่าจะสามารถคลอดได้เลย เพราะขั้นตอนการคลอดแบบธรรมชาตินั้นแบ่งออกเป็นหลายระยะ หากปากมดลูกยังเปิดไม่สุดก็ไม่สามารถทำการคลอดได้
  • กลั้นปัสสวะได้ลดลง ผลจากการวิจัยของ PLOS Medicine พบว่าแม่ที่เลือกคลอดธรรมชาติจะไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้เป็นเวลานานเมื่อเทียบกับคุณแม่ที่ผ่าคลอด
  • ร่างกายอ่อนเพลีย เนื่องจากมีการใช้เวลาอยู่ในห้องที่นานอย่างน้อย 4 ถึง 5 ชั่วโมงนั้น เป็นผลทำให้คุณแม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยและอ่อนเพลีย
  • เสี่ยงเกิดอาการบาดเจ็บกับทารก มีหลากหลายสาเหตุที่อาจทำให้ทารกเกิดอาการบาดเจ็บขณะคลอดได้โดยมีระดับตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง ตัวอย่างเช่น ทารกตัวใหญ่เกินไป ส่งผลทำให้ขณะคลอดแพทย์ต้องออกแรงดึงมากจนอาจทำให้ทารกกระดูกแตกหักได้ เป็นต้น 

เด็กทารก เด็กอ่อน คลอดลูก คลอดธรรมชาติ

เตรียมตัวให้พร้อม แล้วไปรอเจอเจ้าตัวเล็กกัน! 

สำหรับคุณแม่ที่เลือกคลอดแบบธรรมชาติ หากจะบอกว่าไม่มีความกังวลเลยคงเป็นไปไม่ได้ นอกจากจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติแล้ว คุณแม่ยังจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนการมาถึงของเจ้าตัวเล็ก คุณแม่มีวิธีการเตรียมตัวได้อย่างไรบ้าง? ตามมาเลยค่ะ 

  • เตรียมตัว เมื่อคุณแม่ตัดสินใจที่จะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติก็สามารถเริ่มเตรียมตัวได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือการทำจิตใจและอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ส่งผลดีกับคุณแม่ในวันคลอดทั้งสิ้น
  • ปรึกษาแพทย์ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 คุณแม่ควรปรึกษากับแพทย์ที่ดูแลคุณแม่อยู่เกี่ยวกับอุปกรณ์จำเป็นที่ต้องเตรียม กำหนดวันเวลาที่ควรเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรอคลอด รวมไปถึงกระบวนการทำคลอดที่อาจจะมีการใช้ยาหรือวิธีอื่นๆ เพื่อช่วยคุณแม่บรรเทาความเจ็บปวดระหว่างคลอด
  • ศึกษาข้อมูลการเดินทาง หากคุณแม่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลในช่วงสัปดาห์ที่มีกำหนดคลอด เราขอแนะนำให้คุณแม่ศึกษาเกี่ยวกับเส้นทาง ตำแหน่งที่ตั้งของโรงพยาบาล วางแผนการเดินทาง และจดจำเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน เผื่อกรณีเกิดเจ็บท้องกระทันหัน
  • แพ็กกระเป๋า เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งสำหรับคุณแม่และลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ รวมไปถึงเอกสารสำคัญที่จำเป็นต่อการใช้ดำเนินการต่างๆ ภายในโรงพยาบาล
  • เตรียมใจ คุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการอื่นๆ ที่สามารถช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลและบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างรอคลอดและขณะคลอดลูก ตัวอย่างเช่น วิธีการหายใจที่ถูกต้อง การแบ่งปันความกลัวในจิตใจกับคุณพ่อหรือแพทย์ พยาบาลที่ช่วยทำคลอด เป็นต้น 

เด็กทารก เด็กอ่อน คลอดธรรมชาติ

3 ขั้นตอนการคลอดธรรมชาติที่แม่ควรรู้

เมื่อใกล้คลอดความตื่นเต้นก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่การทำเข้าความใจและไล่เรียงลำดับเหตุการณ์การคลอดธรรมชาติก็ถือว่าเป็นการเตรียมตัวอย่างหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายความกังวลลงไปได้บ้างไม่มากก็น้อย โดยเหตุการณ์ที่คุณแม่จะต้องเผชิญในระหว่างคลอดมีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ ได้แก่ 

คลอดธรรมชาติ

ระยะที่ 1 ปากมดลูกขยายออกและบางตัวลง

ระยะแรกนี้จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อคุณแม่รู้สึกถึงการหดรัดตัวเบาๆ ของมดลูก และจะมีการบีบรัดตัวเป็นระยะๆ ปากมดลูกของคุณแม่จะค่อยๆ ขยายออก และนิ่มลง บางลง ซึ่งเป็นระยะที่ลูกน้อยจะเคลื่อนลงมาสู่ช่องคลอดได้มากที่สุด สามารถแบ่งออกเป็นระยะย่อยๆ ได้อีก 2 ระยะ คือ

  • ระยะปากมดลูกเปิดในช่วงต้น ปากมดลูกจะค่อยๆ เริ่มเปิดออก โดยอาจมีสารคัดหลั่งปนเลือดเล็กน้อยไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งคุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการหดรัดตัวของปากมดลูกที่บางเบา เป็นระยะๆ  คล้ายกับเป็นการเตือน
    • ใช้เวลานานแค่ไหน? ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละท่าน โดยเฉลี่ยต่างกันไปในแต่ละชั่วโมง หากเป็นท้องแรกด้วยแล้วอาจจะต้องใช้เวลาในระยะนี้นานสักหน่อย
    • กิจกรรมระหว่างรอ เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน คุณแม่สามารถทำกิจกรรมเพื่อเป็นการผ่อนคลายความวิตกกังวลได้ด้วยการอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ลุกเดินช้าๆ หรือฝึกการหายใจเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับคลอดบุตร

คลอดธรรมชาติ เจ็บคลอด

  • ระยะปากมดลูกเปิดตัวเร็ว พอพ้นช่วงระยะต้นมา ปากมดลูกจะเริ่มมีการหดตัวถี่ขึ้น รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มรู้เหนื่อย อ่อนล้า ปวดเกร็งบริเวณหลัง ท้อง ต้นขา รวมไปถึงอาจมีอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้ร่วมด้วย จนกว่าจะมีน้ำคร่ำแตกออกมา ซึ่งในระยะนี้ปากมดลูกจะค่อยๆ เริ่มขยายออกจนสุดให้ทารกคลอดออกมาได้ หากคุณแม่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์ทันที
    • ใช้เวลานานแค่ไหน? โดยเฉลี่ยแล้วปากมดลูกจะขยายออกชั่วโมงละ 1 เซนติเมตร อาจจะใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 5 ชั่วโมง เพื่อให้มดลูกขยายไปได้ถึงประมาณ 7 เซนติเมตร
    • กิจกรรมระหว่างรอ ระยะนี้คุณแม่จะต้องเผชิญกับความปวด ดังนั้นวิธีที่จะช่วยบรรเทาได้ก็คือ การฝึกลมหายใจและการนวดเบาๆ ไปตามร่างกายจะสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้

นอกจากนี้ ในระยะปากมดลูกเปิดตัวเร็วยังรวมถึงระยะเปลี่ยนผ่านที่ถือเป็นช่วงสุดท้ายของการคลอดระยะที่ 1 ปากมดลูกจะขยายตัวไปจนถึงประมาณ 8 ถึง 10 เซนติเมตร จนคุณแม่รู้สึกอยากที่จะเบ่งคลอด แต่หากปากมดลูกยังเปิดไม่มากพอ แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ทำการกลั้นไว้ก่อนเผื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 20 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมง เลยทีเดียว

คลอดธรรมชาติ

ระยะที่ 2 ระยะเบ่งคลอด 

ระยะที่ 2 หรือระยะเบ่งคลอด ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สิ้นสุดการรอคอยของคุณแม่กันแล้ว ซึ่งอาจจะใช้เวลายาวนานแตกต่างกันไป คุณแม่บางท่านก็เรียกได้ว่าคลอดง่ายมาก เพียงแค่คุณหมอให้ออกแรงเบ่งเพียงไม่กี่ครั้งก็ได้ยินเสียงร้องของเจ้าตัวน้อยกันแล้ว แต่สำหรับคุณบางท่านที่คลอดยากอาจใช้เวลานานนับชั่วโมง โดยที่คุณหมอจะมีการให้ยาระงับอาการปวดเป็นระยะๆ ซึ่งสิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ในช่วงระยะที่ 2 นี้ก็คือ พยายามตั้งสติ คอยฟังการให้จังหวะเบ่งคลอดจากแพทย์ รวมไปถึงปฏิบัติคำแนะนำต่างๆ เพื่อให้การคลอดสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จนกระทั่งแพทย์ทำการตัดสายสะดือและพาทารกไปทำความสะอาด

คลอดธรรมชาติ

ระยะที่ 3 ระยะคลอดรก 

ระยะคลอดรก ระยะของช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นนี้ หลังจากที่คลอดทารกสำเร็จ ความเจ็บปวดทั้งหมดจะถูกบรรเทาลง แต่คุณแม่อาจจะยังรู้สึกได้ถึงการบีบรัดตัวเบาๆ ของปากมดลูก ซึ่งนั่นหมายว่าคุณแม่กำลังอยู่ในระหว่างการคลอดรก ซึ่งแพทย์จะขอให้คุณแม่ทำการเบ่งอีกครั้งเพื่อคลอดรกออกมา โดยอาจใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 30 นาที ขณะเดียวกันแพทย์อาจมีการให้ยากระตุ้นเพื่อเร่งการหดรัดตัวของช่องคลอด และลดการมีเลือดออกจนกว่ารกจะลอกตัวออกมา

 

ดูแลตัวเองหลังการคลอดธรรมชาติ

หลังจากจบขั้นตอนการคลอดแล้ว แพทย์จะทำการตรวจเช็คความเรียบร้อยของร่างกายคุณแม่ ก่อนพากลับไปยังห้องพักฟื้น และหลังจากผ่านไป 1 ถึง 2 ชั่วโมง แพทย์ก็พาเจ้าตัวน้อยมาให้คุณแม่ให้นมกันแล้ว ซึ่งการให้นมบุตรนั้นก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยฟื้นฟูให้มดลูกกลับมากระชับ เนื่องจากจะมีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินหรือฮอร์โมนความรักออกมาช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายวิธีสำหรับการดูแลตัวเองหลังคลอดที่คุณแม่ควรปฏิบัติตามกัน ได้แก่ 

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนโดยรวมให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองโดยเร็ว โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยตนเอง อาจจะต้องเผชิญกับการหลับๆ ตื่นๆ ตามเสียงร้องลูกน้อยที่มักจะตื่นบ่อยครั้ง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้คุณแม่พักผ่อนไม่เพียงพอได้ 
  • การดูแผลฝีเย็บ แผลที่เกิดจากการผ่าตัดขยายช่องคลอด ปกติแล้วแผลจะหายภายใน 5 ถึง 6 วัน โดยระหว่างนั้นคุณแม่จะรู้สึกปวดแผลบริเวณนี้เป็นปกติ ซึ่งการดูแลแผลฝีเย็บนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด เราขอแนะนำให้คุณแม่หมั่นล้างแผลฝีเย็บด้วยน้ำต้มสุกอุ่นๆ แล้วใช้ผ้าหรือสำลีค่อยๆ ซับให้แห้งสนิท ซึ่งในระยะนี้คุณแม่ไม่ควรใช้หัวฉีด เพราะอาจทำให้แผลฉีกขาดและติดเชื้อได้
  • นอกเหนือจากนี้ ร่างกายจะมีการขับน้ำคาวปลาหรือเนื้อเยื่อและเลือดที่เกิดจากการหลุดลอกตัวของรกออกมาเป็นระยะๆ คล้ายกับประจำเดือน จนกว่าแผลฝีเย็บจะแห้งสนิทดี โดยจะใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 6 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ซึ่งในระยะนี้คุณแม่จำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัยและทำการเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อรักษาความสะอาดหรือป้องกันการติดเชื้อ
  • ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ สำหรับคุณแม่หลังคลอดควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่าย รสชาติไม่จัด และมีไฟเบอร์สูงเพื่อป้องกันอาการท้องผูก นอกเหนือจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ไปช่วยเสริมสร้างน้ำนมให้กับคุณแม่ รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนไปก่อน เนื่องจากอาจส่งผลต่อคุณภาพของน้ำนมแม่ 
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูโดยเร็ว คุณแม่ควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการออกกำลังโดยการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะช่วยทำให้ช่องคลอดกลับมากระชับ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดปัสสวะเล็ดได้อีกด้วย
  • สวมใส่คอร์เซ็ตสำหรับคุณแม่หลังคลอด คอร์เซ็ทจะช่วยให้ร่างกายคุณแม่ฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น เพราะช่วยพยุงหลังและกระชับหน้าท้อง รวมทั้งช่วยให้คุณแม่เคลื่อนไหวตัวได้สะดวกมากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ อย่างเช่น Mama’s Choice Adjustable Corset ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่เนื้อผ้านิ่มสบาย สวมใส่ได้ทั้งวันโดยไม่บาดผิว ซึ่งตอนนี้จัดโปรโมชั่น ราคาพิเศษเพียง 379 บาท จาก 489 บาท และส่งฟรี!

  • การเข้ารับการตรวจร่างกาย หลังจากผ่านไปประมาณ 4 ถึง 6 สัปดาห์ คุณแม่ควรได้รับการตรวจร่างกายเพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บ การคืนสภาพของปากมดลูก และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกขณะเดียวกัน หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง น้ำคาวปลามีสีแดงผิดปกติ แผลฝีเย็บบวมหรือเป็นหนอง มีก้อนที่เต้านม และอื่นๆ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติที่เราได้นำมาฝากให้กับแม่ท้องได้นำข้อมูลไปใช้สนับสนุนก่อนตัดสินใจเลือกว่าจะใช้วิธีคลอดธรรมชาติดีหรือไม่ แม้ว่าคุณแม่บางท่านอาจจะยังมีความกังวลและความกลัวอยู่ภายในจิตใจลึกๆ แต่เราเชื่อว่าด้วยพลังแห่งรักที่ยิ่งใหญ่ของคุณแม่นั้นจะทำให้คุณแม่สามารถคลอดเจ้าตัวน้อยออกมาได้อย่างแข็งแรงและปลอดภัยแน่นอนค่ะ  

 

อ้างอิง

amarinbabyandkids.com

bccgroup-thailand.com

journals.plos.org

mayoclinic.org

paolohospital.com

pobpad.com

si.mahidol.ac.th

stanfordchildrens.org

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คลอดลูกง่ายขึ้นด้วย 7 ท่าโยคะคนท้องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทำตามได้ง่ายๆ

แม่ท้องต้องรู้ไว้! ปัจจัยเสี่ยง ‘ครรภ์เป็นพิษ’ และวิธีป้องกัน

ทุกเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้เกี่ยวกับ ‘การฝากครรภ์’


Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า