อาการ เจ็บหัวนม หรือเจ็บบริเวณเต้านมที่เกิดจากการให้นมลูกเป็นหนึ่งในประสบการณ์มากมายที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนต้องรับมือ เราเข้าใจดีว่า ความรู้สึกนี้ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดและเป็นกังวลใจ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นวิธีการเลี้ยงลูกที่คุณแม่ส่วนใหญ่เลือกใช้ เพราะถือเป็นกระบวนการชองพัฒนาการของลูกและเป็นการสร้างสายใยสัมพันธ์สำหรับคุณแม่และลูกน้อย แต่คุณแม่ทราบไหมว่า จากการศึกษาของสถาบัน CDC* พบว่า คุณแม่กว่า 75% มีอาการเจ็บเต้านมและหัวนมหลังการคลอด 2 สัปดาห์ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างแท้จริงก็คือ มีคุณแม่เพียงครึ่งเดียวในจำนวนนี้ที่บอกอาการและขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
ช่วงเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น คุ้มค่าและแสนวิเศษกว่าที่จะเมินค่าได้ วันนี้เราจึงมีสาเหตุของอาการเจ็บเต้านมหรือเจ็บหัวนม รวมถึงวิธีการแก้ไขมาให้คุณแม่ได้ลองปฏิบัติตาม เพื่อการให้นมลูกอย่างราบรื่น ไม่สะดุดเพราะอาการเจ็บนั่นเอง
สาเหตุอาการ ‘เจ็บหัวนม’ หรือ ‘เจ็บเต้านม’ ของคุณแม่ และวิธีแก้ไข
Mama’s Choice เข้าใจและขออยู่เคียงข้างคุณแม่ทุกคนในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ เพื่อช่วยคุณแม่ให้ได้มากที่สุด วันนี้เราได้สรุปสาเหตุต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังของอาการเจ็บเต้านม หรือเจ็บหัวนม พร้อมวิธีแก้ไขในแบบที่คุณแม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองมาฝากกัน
สาเหตุที่ 1 ลูกอยู่ผิดตำแหน่ง (ให้นมลูกผิดท่า)
เมื่อคุณแม่ให้นมลูกผิดท่า และลูกไม่สามารถดูดนมได้จนเกลี้ยงเต้า นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกเจ็บหัวนมแล้ว ยังส่งผลต่อความสามารถในการกำจัดนม และเมื่อน้ำนมไม่ได้รับการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาเช่น ท่อน้ำนมอุดตัน การคัดตึง รวมถึงเต้านมอักเสบ
วิธีแก้ไข:
ตอนที่คุณแม่ให้นมลูกนั้น คุณแม่ควรอุ้มลูกให้หัวของลูกอยู่ในระดับเดียวกับหน้าอกของคุณแม่ เพราะหากลูกน้อยอยู่ในท่าที่หัวอยู่ต่ำกว่าหน้าอก ก็อาจทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนมจากการที่ลูกต้องดูดหัวนมแล้วดึงลงมาด้านล่างนั่นเอง
คุณแม่สามารถนอนตะแคง หรือหาหมอนมาหนุนรองเพื่อให้ลูกอยู่ในระดับที่สามารถดูดนมได้ถนัด อีกทั้งคุณแม่ยังสามารถใช้นิ้วกดคางของลูกลงมาเบา ๆ เพื่อที่จะให้เค้าอ้าปากดูดนมได้กว้างขึ้นและควรให้ลูกงับถึงลานนม เพราะนอกจากจะช่วยให้แม่ไม่เจ็บหัวนมแล้ว ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
สาเหตที่ 2 อาการเต้านมคัด
เต้านมคัดมักเกิดขึ้นเมื่อลูกไม่สามารถดูดนมออกจากเต้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือลูกดูดนมน้อยเกินไปหรือไม่บ่อยพอที่จะทำให้น้ำนมสะสมใหม่ได้ ซึ่งอาการนมคัดตึงนี้อาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บเต้านม รวมถึงอาจมีการบวมของเต้านม
วิธีแก้ไข:
ประคบร้อนด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น พันรอบเต้านมก่อนให้นมลูก ประมาณ 5 -10 นาที ช่วยให้น้ำนมจะไหลได้ดีขึ้น และประคบเย็นหลังให้นมลูก ประมาณ 10 นาที ช่วยลดอาการปวดและบวมของเต้านม ที่สำคัญคุณแม่ต้อง ให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น และในขณะที่ลูกดูดนม ให้คุณแม่นวดเต้านมเบาๆ จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น หรือใช้เครื่องปั๊มนม เพราะแม้ลูกจะไม่ได้ดูดจากเต้า แต่อย่างน้อยเราก็จะได้กระตุ้นน้ำนมให้ไหลเวียนได้เหมือนเดิม ช่วยลดอาการเต้านมคัดได้เช่นกัน
สาเหตุที่ 3 ท่อนมอุดตัน
ลักษณะของเต้านมอุดตันนั้น จะเป็นก้อนที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของเต้านมอาจจะไม่ได้เป็นทั้งเต้า เวลาที่กดไปจะรู้สึกเจ็บและมีอาการบวมแดงด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะน้ำนมบริเวณนั้นข้นขึ้นไหลไม่สะดวก จะค้างอุดตันในท่อน้ำนมท่อใดท่อหนึ่ง น้ำนมส่วนที่เหนือขึ้นไปก็จะคั่งอยู่จนกลายเป็นก้อนแข็งดังกล่าว
วิธีแก้ไข:
ประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัดประมาณ 3-5 นาทีก่อนให้นมลูก ให้ลูกดูดจากเต้าที่มีปัญหาก่อนค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อระบายน้ำนมออกจากท่อน้ำนมให้มากขึ้น นวดคลึงเต้านมเบาๆ ขณะที่ลูกกำลังดูดนม โดยนวดเหนือบริเวณที่อุดตัน ไล่ลงไปถึงหัวนม เพื่อเป็นการดันก้อนที่อุดตันออก หากมีอาการนานกว่า 2 วันแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตร
สาเหตุที่ 4 หัวนมแตก
หัวนมที่เจ็บแตกพองและมีเลือดออกเป็นเรื่องปกติของคุณแม่มือใหม่ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด เนื่องจากหัวนมมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษหลังคลอดบุตร อีกทั้งร่างกายของคุณแม่ยังไม่ชินกับการให้นมลูก ซึ่งในบางครั้งการให้นมผิดท่าหรือภาวะลิ้นติดของทารกก็เป็นสาเหตุของความผิดปกตินี้ได้เช่นกัน
วิธีแก้ไข :
- ดูแลผิวบริเวณเต้านมและหัวนมของคุณแม่ให้ชุ่มชื้นด้วยครีมบำรุงหัวนมชนิด Food Grade เช่น Mama’s Choice Intensive Nipple Cream ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนมซึ่งพบได้บ่อยในช่วงแรก ๆ ของการให้นมบุตร
- หลีกเลี่ยงชุดชั้นในที่รัดหน้าอกหรือเสียดสีจนเกินไป
- เมื่อลูกน้อยเริ่มโตขึ้น ฟันของพวกเขาก็จะเริ่มขึ้น อาจทำให้หัวนมคุณแม่เจ็บและมีเลือดออกตามมา ขอแนะนำให้ใช้แผ่นซิลิโคนป้องกันหัวนมแม่ที่ช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมลูกน้อยได้บ่อยตามต้องการ ในขณะที่หัวนมแตกเป็นแผล
- หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ แชมพู และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพราะอาจทำให้หัวนมแห้ง
สาเหตุที่ 5 เต้านมอักเสบ
คุณแม่จะคลำเจอก้อนไตแข็งๆ ภายในเต้า ซึ่งเป็นลักษณะอาการส่วนหนึ่งของเต้านมอักเสบที่มักเกิดในคุณแม่ที่ให้นมลูก คุณแม่บางรายก็มีอาการเป็นไข้ร่วมด้วย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ท่อน้ำนมอาจอุดตัน หรือมีน้ำนมที่ข้นคั่งค้างอยู่มาก เพราะคุณแม่ลืมปั๊มนมตามรอบ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
วิธีแก้ไข:
หากคุณแม่สงสัยว่ากำลังเป็นโรคเต้านมอักเสบ ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะโดยปกติแล้วจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะหนึ่งรอบเพื่อล้างการติดเชื้อ และคุณหมอจะจัดยาปฏิชีวนะให้เพื่อลดอาการปวดให้คุณแม่นั่นเอง
ความเจ็บปวดจากการให้นมลูกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณแม่สามารถเอาชนะได้!
เพราะไม่มีใครให้นมแม่ได้สมบูรณ์แบบตั้งแต่แรก ประสบการณ์ที่เจ็บปวดนั้น กลับมาเป็นช่วงเวลาแสนวิเศษได้เสมอ หากคุณแม่ได้รับกำลังใจจากคนที่รักและได้การดูแลจากผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและปลอดภัย
ให้ Mama’s Choice Intensive Nipple Cream ครีมรักษาหัวนมแตกสูตรเข้มข้น ช่วยปลอบประโลมและเติมความชุ่มชื้นให้กับหัวนมที่แห้งและแตกของคุณแม่ ด้วยส่วนผสมที่คัดสรรมาอย่างดีที่สุด ได้แก่ สารสกัดจากอินทผลัม น้ำมันมะพร้าว และเชียร์บัตเตอร์ ส่วนผสมทั้งหมดเป็น Food Grade และมาจากธรรมชาติ 100% ทำให้สะดวกกับคุณแม่เพราะไม่จำเป็นต้องล้างออกก่อนให้นมลูก
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ของมันต้องมี! เหตุผลที่คุณแม่ต้องใช้ ครีมทาหัวนม ป้องกันหัวนมแตก
มาทำความรู้จักอาการท้องแตกลาย และผู้ช่วยที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาให้หมดไป
เคล็ดลับใส่คอร์เซตหลังคลอดให้หุ่นเป๊ะ
ratchadaporn