Search

5 วิธีจัดการกับปัญหากลิ่นปากของคนท้อง

 

กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ทำไมดูเหมือนว่า แม่ตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหานี้ค่อนข้างมาก และจะมีวิธีจัดการกับมันอย่างไรโดยที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทารกในครรภ์ด้วย

 

ภาวะมี กลิ่นปาก (Halitosis) คืออะไร

Halitosis คือ ภาวะมีกลิ่นปาก ซึ่งเกิดจากการมีแบคทีเรียและจุลินทรีย์จำนวนมากในช่องปาก  โดยทั่วไปแล้วแบคทีเรียจะสะสมอยู่ที่ลิ้น เหงือก และระหว่างซอกฟัน  ผู้ที่มีภาวะกลิ่นปากจะมีอาการ  ปากแห้ง มีรสเปรี้ยวหรือรสชาติไม่พึงประสงค์ในปาก และลิ้นเป็นฝ้าสีขาว  ซึ่งทั้งนี้ แหล่งกำเนิดหลักของกลิ่นปากเกิดมาจากคราบจุลินทรีย์บนลิ้น เนื่องจากลิ้นมีพื้นผิวสัมผัสมากกว่าอวัยวะอื่นๆ ในช่องปาก ประกอบกับลิ้นมีลักษณะเป็นช่องหรือซอก การชะล้างของน้ำลายเข้าถึงได้ยาก ทำให้เกิดสภาวะที่มีออกซิเจนน้อย เหมาะกับการสะสมและเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

ภาวะที่มีกลิ่นปากไม่ถือว่าเป็นโรค เป็นเพียงสาเหตุทางกายภาพ (Physiologic Halitosis) ที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ก็อาจทำให้แม่ตั้งครรภ์เกิดความไม่สบายใจ ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม และส่งผลระยะยาวต่อสภาวะจิตใจได้  ซึ่งทั้งนี้ ผู้ประสบกับภาวะนี้มักจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังมีปัญหากลิ่นปากอยู่

 

 

สัญญาณของภาวะมี กลิ่นปาก สังเกตได้อย่างไร

  1. ขอให้คนใกล้ตัวช่วยตรวจสอบสภาพของกลิ่นปากให้
  2. ใช้ช้อนพลาสติกเล็ก ๆ ขูดด้านบนของลิ้น หรือใช้ไหมขัดฟันชนิดไม่เคลือบแว็กซ์ลากผ่านลงไปในซอกฟันด้านในแล้วดมกลิ่น
  3. ใช้ลิ้นเลียบริเวณด้านในของข้อมือ แล้วรอให้น้ำลายแห้ง  ถ้าลองดมแล้วได้กลิ่นเหม็นรุนแรงมาก ก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าเกิดปัญหากลิ่นปากขึ้นแล้ว
  4. หากไม่แน่ใจว่ามีปัญหากลิ่นปากหรือไม่ สามารถปรึกษากับทันตแพทย์ได้

 

ภาวะมี กลิ่นปาก ปัญหากวนใจของคนท้อง

หญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะมีกลิ่นปากมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ทำให้ปากของผู้ตั้งครรภ์มีสภาพเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งเมื่อในปากเป็นกรดก็จะทำให้แบคทีเรียตกค้างอยู่ในปากได้ง่ายขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาฟันผุ เหงือกบวม และมีเลือดออกตามมา และผลกระทบเหล่านี้ก็คือที่มาของภาวะมีกลิ่นปาก  นอกจากนั้น ระดับฮอร์โมนที่ไม่ปกติยังทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้อง หรือ คลื่นไส้ และอาเจียนบ่อยครั้ง ซึ่งจะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในปากมากกว่าคนทั่วไปด้วย

วิธีเดียวที่จะเอาชนะปัญหากลิ่นปากได้ก็คือ การต่อสู้กับต้นตอของปัญหา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุของภาวะกลิ่นปากเกิดมาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงร้ายแรง โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

สาเหตุของภาวะมี กลิ่นปาก และวิธีการป้องกัน

1. เศษอาหารตกค้าง

80% ของปัญหากลิ่นปากมีสาเหตุมาจากเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในปากนานเกินไป และกลายมาเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย นอกจากนี้ แม่ตั้งครรภ์บางคนก็มักจะทานอาหารที่มีกลิ่นฉุน หรือ อาหารที่ทำให้เกิดคราบตกค้างในปาก เช่น เครื่องเทศต่าง ๆ  หัวหอม กระเทียม สตอ ปลาร้า ทุเรียน นม  ชีส ปลา กาแฟ และน้ำอัดลม  ซึ่งอาหารเหล่านี้จะยิ่งไปซ้ำเติมให้กลิ่นปากมีความรุนแรงขึ้น

วิธีป้องกัน:

ดูแลความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ เมื่อแปรงฟันเสร็จให้แปรงลิ้นด้วย เพื่อเป็นการกำจัดแบคทีเรียที่มักจะสะสมอยู่บนลิ้น  ทั้งนี้ แม่ตั้งครรภ์ควรใช้ ยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์อย่าง Mama’s Choice Non-Fluoride Toothpaste เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ได้รับสารฟลูออไรด์ผ่านการแปรงฟันของแม่ เพราะฟลูออไรด์อาจทำให้ทารกมีภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ

ทั้งนี้ การทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันเพียงวิธีเดียวอาจยังไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาภาวะมีกลิ่นปากของแม่ตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดอย่างหมดจด แม่ตั้งครรภ์ควรใช้น้ำยาบ้วนปากของ Mama’s Choice ซึ่งสามารถจัดการกับปัญหากลิ่นปากได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันรวดเร็ว และยังช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหากลิ่นปากกลับมากวนใจได้อีก

ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นของ Mama’s Choice ปราศจากสารเคมีอันตราย คิดค้นสูตรโดยใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย แม่ๆ สามารถใช้ได้อย่างมั่นใจค่ะ

เซ็ทจับคู่ ยาสีฟัน+น้ำยาบ้วนปาก ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 159.- จาก จาก 228.- | จัดส่งฟรี! เมื่อช้อปครบ 300.-

 

2. ปัญหาสุขภาพเหงือกและฟัน

ภาวะมีกลิ่นปากในแม่ตั้งครรภ์บางคน อาจเกิดจากปัญหาฟันผุ ยิ่งฟันผุเป็นรูลึก ยิ่งมีกลิ่นเหม็นมาก เพราะมีเศษอาหารตกค้างอยู่ตามรูหรือซอกฟัน  นอกจากนี้ โรคเหงือกเป็นแผลซึ่งเกิดจากค่า pH ในปากที่ไม่สมดุล การระคายเคืองในช่องปาก และการแปรงฟันไม่สะอาดจนทำให้มีคราบและหินปูนสะสม เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นปาก หากไม่ได้รับการรักษา โรคเหงือกอักเสบก็จะลุกลามกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งจะทำให้ปากมีกลิ่นเหม็นรุนแรงยิ่งขึ้น

วิธีป้องกัน:

เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพเหงือกและฟัน ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร หรือ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยใช้เวลาแปรงอย่างน้อย 3  นาที ในแต่ละครั้ง และใช้น้ำยาบ้วนปากอย่างสม่ำเสมอ  นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะกลิ่นปากควรใช้ไหมขัดฟันและที่ขูดลิ้น เพื่อทำความสะอาดซอกฟันและลิ้นอย่างละเอียด ทั้งนี้ แม่ตั้งครรภ์ควรเลือกใช้ ยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์ และ น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

Mama's Choice toothpaste
Non-Fluoride Toothpaste ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 99.- จากปกติ 129.- | จัดส่งฟรี! เมื่อช้อปครบ 300.-

 

3. การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีอาการปากแห้ง อุณหภูมิในช่องปากสูง เกิดการสะสมของสารเคมีจากควันบุหรี่ในช่องปาก ลำคอ หลอดลมและปอด จนมีกลิ่นเหม็นบุหรี่ออกมาพร้อมกับลมหายใจ  นอกจากนี้ สารเคมีจากบุหรี่ยังสามารถเกาะติดกับฟัน เหงือก และกระพุ้งแก้ม จนก่อให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบของเยื่อบุช่องปากได้

ส่วนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ไม่เพียงทำให้ปากแห้งเท่านั้น แต่ยังเป็นที่มาของโรคเหงือก ปัญหากลิ่นอับในช่องปาก และกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นอาการที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นสู่ลำคอ และทำให้ลมหายใจมีกลิ่น ซึ่งนอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังมีส่วนทำให้เกิดแบคทีเรียตกค้างในช่องปากได้นานถึง 10 ชั่วโมง

วิธีการป้องกัน:

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดสาเหตุของการเกิดกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของทั้งแม่และทารกในครรภ์

 

4. ปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ

โรคบางชนิดส่งผลต่อสุขภาพในช่องปาก ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัด หรือไซนัสอักเสบ ซึ่งเกิดจากน้ำมูกไหลลงไปตกค้างในคอทางด้านหลังโพรงจมูก และกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย  และโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคหลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ กรดในกระเพาะอาหาร หรือกรดไหลย้อน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการมีแบคทีเรียส่วนเกินในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก หรือเศษอาหารติดอยู่ตามร่องของต่อมทอนซิล  ซึ่งผู้ที่มีโรคเหล่านี้มักจะมีอาการท้องอืด แน่น เรอมีกลิ่นเหม็น  นอกจากนี้ อาการท้องผูก หรืออาหารไม่ย่อย ก็มีผลทำให้กลิ่นอาหารที่คุณเพิ่งรับประทานไปย้อนกลับขึ้นมา เกิดเป็นกลิ่นปากที่รุนแรงได้เช่นกัน

วิธีการป้องกัน:

ผู้ที่มีปัญหากลิ่นปากเรื้อรัง ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อให้ทำการซักประวัติเรื่องของโรคประจำตัว และแนะนำวิธีการดูแลอนามัยภายในช่องปากที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นอยู่ และดูแลสุขภาพปากและฟันควบคู่ไปด้วย

 

5. สภาวะปากแห้ง

สภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งเมื่อมีการผลิตน้ำลายในปากน้อยลง ความสามารถในการชะล้างแบคทีเรียภายในปากก็จะลดลง เชื้อโรคต่าง ๆ จะตกค้างอยู่ในช่องปากเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดกลิ่นปากได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ร่างกายลดการผลิตน้ำลายเองตามธรรมชาติ เช่น เวลานอน อดอาหาร หิว หรือ เครียด โดยสภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป โดยเฉพาะช่วงตื่นนอนในตอนเช้าที่น้ำลายหยุดผลิตมาตลอดทั้งคืน นอกจากนี้ คนที่ใช้เสียงหรือต้องพูดมาก ๆ เช่น ครู และ ทนายความ จะมีปริมาณน้ำลายในปากน้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดภาวะปากแห้งและมีกลิ่นปากได้เช่นกัน

วิธีป้องกัน:

แม่ตั้งครรภ์ไม่ควรปล่อยให้ปากแห้งเป็นเวลานาน ควรดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร เพราะการดื่มน้ำสามารถช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในช่องปาก และช่วยขจัดคราบแบคทีเรียบนลิ้น รวมถึงชะล้างเศษอาหารที่ติดอยู่ตามร่องของต่อมทอนซิลหรือเสมหะในลำคอ  นอกจากนี้ ควรใช้ น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อกวาดล้างสิ่งสกปรกอย่างหมดจด และเพิ่มความชุ่มชื้นในช่องปากตลอดทั้งวัน

Mama’s Choice Natural Mouthwash ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 69.- จาก 99.- | จัดส่งฟรี! เมื่อช้อปครบ 300.-

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อาการแพ้ท้อง น้ำลายไหลมากผิดปกติ ป้องกันได้ด้วย 4 วิธีนี้

อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไร? คุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่จะรับมืออย่างไรดี?

4 อาการปวดหัวระหว่างตั้งครรภ์ ต้องรับมืออย่างไรถึงจะดีขึ้น?

Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า