Search

7 โรคในเด็ก ที่พบบ่อย พ่อแม่ต้องรู้ไว้ กันไว้ดีกว่าแก้!

ได้เห็นลูกๆ ซุกซนก็ทำให้แม่หลายๆ คนยิ้มได้ เพราะแปลว่าลูกน้อยกำลังมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดด แต่แม่ๆ ก็ต้องตระเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมและสะอาดปลอดภัยไว้ให้เจ้าตัวเล็กได้ลองฝึกคลาน ฝึกเดิน หรือวิ่งเล่นกัน เพราะภัยเงียบที่มองไม่เห็นอย่างเชื้อโรคหลากหลายชนิดมักจะติดมากับมือของเด็กๆ  ซึ่งหากเขาเผลอนำมือเข้าปากหรือขยี้ตาก็อาจทำให้เขาติดเชื้อ โรคในเด็ก ได้ 

สารพัดเชื้อโรคเหล่านี้สามารถทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง? แล้วแม่ๆ จะป้องกันไม่ให้ลูกน้อยสัมผัสเชื้อโรคได้อย่างไร วันนี้ Mama’s Choice รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ

 

7 โรคในเด็ก ที่พบบ่อยกันไว้ดีกว่าแก้!

1. โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง (Conjunctivitis)

โรคพบบ่อยในเด็ก โรคเจอบ่อยในเด็ก โรคเด็กเล็ก

โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือ โรคตาแดง  คือ ภาวะที่เยื่อบุตาเกิดอาการอักเสบ สาเหตุเบื้องต้นอาจเกิดขึ้นจากการได้รับสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น ฝุ่น ขนตา ขนสัตว์ เป็นต้น หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิดที่แฝงตัวอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ 

โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ ที่เริ่มหยิบจับสิ่งของต่างๆ รอบตัวได้เองแล้วเชื้อโรคและแบคทีเรียเหล่านั้นก็มักจะติดมากับมือ เมื่อเจ้าตัวเล็กเผลอเอามือไปขยี้ตา เชื้อโรคก็จะแพร่กระจายเข้าสู่ดวงตาจนทำให้เกิดอาการอักเสบ 

อาการเบื้องต้น : โรคตาแดงจะมีลักษณะของอาการต่างแตกกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค โดยคุณแม่อาจสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้ 

  • เกิดจากเชื้อไวรัส เด็กๆ จะมีอาการตาแดง เคืองตา ปวดตาเล็กน้อย มีน้ำตาไหล ดวงตาไม่สู้แสง ขณะเดียวกัน อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ อาการหวัด เป็นต้น ซึ่งหากอาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ 
  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เด็กๆ จะมีอาการตาอักเสบเป็นสีแดงเข้ม มีขี้ตามากหลังการตื่นนอนจนอาจทำให้ลืมตาไม่ขึ้น 
  • เกิดจากการแพ้ฝุ่น ควัน สิ่งแปลกปลอม เด็กๆ จะรู้สึกคันตา น้ำตาไหล ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ ทำให้เขาอาจมีอาการจาม คันจมูก คัดจมูก น้ำมูลไหลร่วมด้วย  

วิธีป้องกันโรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดงเบื้องต้น มีดังนี้ 

  • ล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อ 
  • อย่าให้เด็กเอามือขยี้ตา หากเด็กมีอาการตาแดงผิดปกติให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที

 

 

2. โรค RSV (Respiratory Syncytial Virus)

โรคในเด็ก RSV

โรค RSV เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะแสดงอาการออกมาให้เห็นภายใน 4-6 วัน โดยโรค RSV จะมีลักษณะอาการคล้ายกับการเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่หากพบในเด็กเล็กจะปรากฏอาการอาการที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะเด็กที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือเป็นโรคปอดเรื้อรัง

อาการเบื้องต้น : อาการของโรค RSV จะมีลักษณะคล้ายกับไข้หวัด  คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก มีเสียงดังครืดคราดขณะหายใจ มีเสมหะในลำคอมากกว่าการเป็นไข้หวัดธรรมดา มีอาการเบื่ออาหาร ไม่อยากทานน้ำ ทานนม เป็นต้น

วิธีป้องกันโรค RSV เบื้องต้น มีดังนี้ 

  • ควรล้างมือให้ลูกน้อยบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น ก่อน-หลัง รับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ หรือเล่นของเล่น 
  • หมั่นทำความสะอาดของเล่นของลูกน้อย เพราะของเล่นเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี 
  • แยกของใช้ส่วนตัวของเด็กๆ เพราะ เด็กช่วงวัยนี้ เป็นช่วงวัยที่ต้องรักษาความสะอาดเป็นอย่างมาก เพราะเขายังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่เพียงพอ 

 

 

3. โรคมือ เท้า ปาก (Hand-Foot-Mouth Disease)

โรคในเด็กเล็ก มือ เท้า ปาก

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) โรคมือ เท้า ปาก (HMFD) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enterovirus สามารถพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี 

ขณะเดียวกัน ยังสามารถแพร่กระจายและติดต่อกันได้ทั้งตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น เด็กๆ ได้สัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง หรือ อาจได้รับผ่านการสัมผัสกับของเล่นตามสถานที่สาธารณะ 

อาการเบื้องต้น :  เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้จะมีไข้ มีผื่นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตามช่องปาก อาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้ภายใน 7-10 วัน  แต่เด็กๆ อาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ได้  ดังนั้น หากแม่ๆ พบว่าลูกน้อยมีอาการของโรคมือ เท้า ปาก ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ทันที

วิธีป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เบื้องต้น มีดังนี้ 

  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกน้อยสัมผัสใกล้ชิดเด็กที่ป่วย 
  • หมั่นให้เขาล้างมือบ่อยๆ 
  • ควรแยกอุปกรณ์และภาชนะต่างๆ ไม่ใช้ร่วมกับคนอื่นในครอบครัว 

 

 

4.  โรคท้องร่วง (Diarrhea)

ท้องเสีย ท้องร่วง โรคในเด็ก

โรคท้องร่วงมักมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด และบางครั้งอาจติดมาจากเชื้อไวรัสที่เกาะอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ มักพบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กๆ มักชอบเผลอนำมือเข้าปากโดยไม่รู้ตัว หากเจ้าตัวเล็กได้รับเชื้อไวรัสเหล่านี้จะทำให้เขามีอาการปวดท้องและถ่ายเหลวจนร่างกายอาจเกิดอาการขาดน้ำได้ 

อาการเบื้องต้น : ถ่ายเหลวมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป ปวดท้อง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หากมีอาการขั้นรุนแรงจะทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่จำนวนมากจนอาจทำให้เสียชีวิตได้

วิธีป้องกันโรคท้องร่วงเบื้องต้น มีดังนี้ 

  • ดูแลรักษาบริเวณบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ให้เด็กๆ ดื่มน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุก
  • ล้างมือเขาให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ
  • ควรใช้ฝาชีครอบ หรือนำอาหารใส่ตู้กับข้าวให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้แมลงวันมาตอมอาหาร 
  • ควรให้เขาทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ แต่หากอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่เหลือค้างไว้ ควรนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนนำไปให้ลูกน้อยรับประทาน

 

 

5. โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema)

เกิดจากการติดเชื้อราชนิดไมโครสปอร์รุ่ม คานิส (Microsporum Canis) หรือ ชนิดไตรโคฟีตันรูบรัม (Trichophyton Rubrum) ที่แฝงตัวอยู่ในสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักอย่างสุนัขและแมว แต่ในบางกรณีก็อาจได้รับเชื้อมาจากการถอดรองเท้าเล่นในพื้นดินที่มีเชื้อราหรือการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นก็ได้เช่นกัน

อาการเบื้องต้น : ผิวหนังจะเป็นผื่นแดงหรือเป็นวงๆ ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ มีการคัน มีขุยขาวๆ รอบๆ วง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำตัว แขน ขา เป็นต้น อาจมีตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใสๆ ร่วมด้วย สามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วร่างกายหากเผลอไปเกา เพราะเชื้อราจะติดไปตามเล็บมือ และถ้ารักษาไม่หายขาดอาจเป็นซ้ำที่เดิมได้อีก

วิธีป้องกันโรคผิวหนังอักเสบเบื้องต้น มีดังนี้ 

  • พาลูกน้อยอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) 
  • หมั่นล้างมือและเท้าของลูกให้สะอาดทุกครั้งหลังการเล่นสนุกนอกบ้าน 
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ 
  • รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม หมอน เป็นต้น

 

 

6. โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)

โรคไข้เลือดออกนั้นเกิดขึ้นจากการที่โดน “ยุงลาย” ซึ่งเป็นพาหะนำโรคกัดเข้าตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หลังจากที่ถูกยุงกัดแล้วมันแพร่กระจายเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ที่อยู่แฝงอยู่ในน้ำลายเข้าไปแทนที่ โดยยุงลายเหล่านี้มักจะเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งรอบๆ บริเวณบ้าน เช่น รางน้ำ โอ่ง ถังน้ำ เป็นต้น

อาการเบื้องต้น : มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียสตลอดระยะเวลา 1 สัปดาห์ รวมถึงมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และมีจุดเลือดออกตามผิวหนังร่วมด้วย หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกเบื้องต้น มีดังนี้ 

  • ควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตัวอย่างเช่น ไม่ปล่อยให้มีแหล่งน้ำขังรอบบ้าน 
  • หากมีแหล่งน้ำขังควรหาฝาปิดให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่ 
  • พยายามปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง สะอาด ลมพัดผ่าน เป็นต้น

 

 

7. โรคภูมิแพ้ (Allergy)

โรคภูมิแพ้ จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากโรคนี้จะมีสาเหตุจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ยังเกิดจากสภาพความเป็นอยู่ที่มีสารก่อภูมิแพ้ เช่น มีแมลงสาบ ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ หรือการเลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น  มลพิษทางอากาศ ควันรถ ควันบุหรี่ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่มากผิดปกติทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง จมูก ดวงตา ปอด เป็นต้น 

อาการเบื้องต้น : โรคภูมิแพ้สามารถปรากฏอาการให้เห็นได้ในหลายๆ ส่วนของร่างกายขึ้นอยู่สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เบื้องต้นเด็กๆ อาจจะปรากฏอาการ ดังนี้ 

  •  ระบบทางเดินหายใจส่วนบน เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก มีน้ำมูกไหลใสๆ บางๆ อย่างต่อเนื่องแม้ในอุณหภูมิห้องปกติ 
  • ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจทำให้เกิดเสียงหวีดเบาๆ ขณะที่เขาหายใจ แต่หากมีเสียงหวีดของลมหายใจ ร่วมกับอาการไอแห้งเป็นระยะเวลานาน หรือมีลักษณะหายใจหอบ อาจเป็นการบ่งบอกถึงอาการบวมของระบบทางเดินหายใจ
  • ดวงตา มีขี้ตามากผิดปกติ แห้งเกรอะติดเปลือกตาจนไม่สามารถลืมตาขึ้นได้ เป็นอาการอักเสบที่เกิดการจากการขยี้ตาขณะนอนหลับ เพราะรู้สึกเคืองตา จากฝุ่นละอองหรือไรฝุ่นบนที่นอน 
  • ผิวหนัง หากเขามีอาการแพ้ผงซักฟอก เนื้อผ้าที่เป็นขนสัตว์  หรือสารระคายเคืองอื่นๆ ร่างกายของลูกน้อยจะปรากฏผื่นแดงขึ้นเป็นหย่อมๆ บางครั้งอาจมีอาการคันร่วมด้วย 

วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้เบื้องต้น มีดังนี้ 

  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ในห้องนอน เช่น เครื่องปรับอากาศ ผ้าม่าน เครื่องนอน เป็นประจำ 
  • ลดสิ่งของตกแต่งในห้องนอนที่เป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง 
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศ 
  • หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน 
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงสาบในบ้าน 
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวของเด็กเล็ก
  • ควรพาเด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้อวัยวะต่างๆ แข็งแรง มีภูมิต้านทานที่ดีขึ้น
  • เลี่ยงสถานที่ที่จะได้รับสารกระตุ้นภูมิแพ้ 
  • สามารถพาลูกไปทดสอบสารก่อภูมิแพ้ เพื่อระมัดระวังและหลีกเลี่ยง

 

แนะนำให้แม่ๆ ใช้ทิชชูเปียกคอยเช็ดทำความสะอาดมือ ปากและร่างกายของลูกน้อยให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะเด็กๆ มักไม่ระวังชอบเอามือสกปรกเข้าปากอยู่ตลอด ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ด้วยนั่นเอง   

ทิชชูเปียกเด็ก Mama's Choice

ทิชชู่เปียกเด็ก 30 แผ่น แบบพกพาง่าย

ลดพิเศษเหลือ 79 บาท จาก 104 บาท

shopee button

มาพร้อมส่วนผสมจากธรรมชาติสำคัญสำหรับลูกน้อย

🌸 ว่านหางจระเข้: ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวและป้องกันผิวแห้ง

🌸 โรสแมรี่: มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคต้านเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติ

🌸 คาโมมายล์: ช่วยปกป้องผิวลูกน้อยจากการระคายเคือง

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็น 7 โรคยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นกับเด็กๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งสาเหตุหลักๆ ล้วนเกิดมาจากการไม่รักษาความสะอาดบวกกับภูมิคุ้มกันของเด็กๆ ที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ทำให้เขาไม่อาจต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านี้ได้จนทำให้เกิดอาการป่วยตามมา จะเห็นได้เลยว่าการรักษาความสะอาดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นอย่าลืม รักษาความสะอาดกันในทุกๆ วันด้วยนะคะ 😉

 

เจลอาบน้ำเด็ก 2in1 ให้ลูกน้อยมีสุขอนามัยที่ดี ลดพิเศษเพิ่มอีก 50% เหลือเพียง ฿139 จาก ฿279

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

10 อาชีพเสริม หารายได้เสริม เลี้ยงลูกอยู่บ้านก็ทำได้!

7 ความเชื่อผิดๆ ที่คุณแม่หลังคลอดอย่าหาทำ!

7 ท่าออกกำลังกาย เปลี่ยนหุ่นพังหลังคลอดให้ปังปุริเย่!

 

อ้างอิง 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8

Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า