Search

ลูกหัวแบน ลูกหัวเบี้ยว ปัญหาที่แม่ๆ มักกังวล มีวิธีป้องกัน!

 

ลูกหัวแบน‘ เป็นปัญหาที่คุณแม่ส่วนใหญ่มักกังวล เพราะอยากให้ลูกน้อยมีหัวทุยสวย วันนี้ Mama’s Choice มีความรู้เกี่ยวกับภาวะศีรษะแบน (flat head syndrome) รวมทั้งคำแนะนำที่คุณแม่สามารถทำตามได้ง่ายๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหัวแบนค่ะ

 

ภาวะศรีษะแบน (Flat Head Syndrome) คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ภาวะศีรษะแบนหรือ Plagiocephaly เป็นความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ โดยกะโหลกมีลักษณะผิดรูป สังเกตได้จากบริเวณท้ายทอยที่แบนราบ หากแบนทั้ง 2 ข้าง ซ้ายและขวาอย่างเท่าๆ กันก็จะเห็นเป็นลักษณะลูกหัวแบน แต่หากแบนเพียงข้างใดข้างหนึ่งก็จะเห็นเป็นลักษณะว่าลูกหัวเบี้ยว 

โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกหัวแบนหรือหัวเบี้ยว ได้แก่

  • ตำแหน่งการนอนของลูก
  • ท้องแฝด
  • ทำคลอดด้วยการใช้คีมดึงศรีษะ หรือใช้เครื่องดูดสุญญากาศ  
  • คลอดก่อนกำหนด

ลูกหัวแบน ศีรษะแบน flat head syndrome

 

วิธีสังเกตว่า ลูกหัวแบน หรือไม่

อาการลูกหัวแบนนั้น ทั่วไปแล้วจะมองเห็นได้ง่ายค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณแม่ลองสังเกตในช่วงเวลาที่อาบน้ำให้ลูก เพราะรูปศีรษะของเด็กจะเด่นขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดังนี้ 

  • บริเวณศรีษะมีส่วนที่แบนหรือเอียงตรงด้านข้างหรือด้านหลัง
  • ตำแหน่งหูไม่เท่ากัน
  • มีจุดหัวล้านหรือผมน้อยอยู่บริเวณเดียว
  • มีสันกระดูกบนกะโหลกศรีษะ
  • ไม่มีกระหม่อมบนศีรษะ

หากคุณแม่สังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในลูกน้อย สามารถปรึกษากุมารแพทย์เพื่อให้ลูกได้รับการตรวจที่เหมาะสม และเพื่อคลายความกังวลให้คุณแม่ด้วยเช่นกันค่ะ

อาการหัวแบน

 

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ ลูกหัวแบน

ในกรณีส่วนใหญ่อาการหัวแบนมักจะหายไปเองเมื่อเด็กอายุ 2 ปี อย่างไรก็ตามมีหลายวิธีที่คุณแม่อย่างเรา สามารถช่วยลูกน้อยของเราจากการเป็นโรคหัวแบนได้ค่ะ

 

ลูกหัวแบน ลูกหัวเบี้ยว แก้ยังไง ป้องกันยังไง หมอนหลุม หมอนหัวทุย หมอนหลุมหัวทุย

 

1. ฝึกคว่ำบ่อยๆ 

เมื่อลูกอายุได้ 2-3 เดือน ก็จะเริ่มพลิกตัวจากท่านอนหงายเป็นนอนตะแคง หากช่วงนี้คุณแม่มาเล่น หรือหอมที่พุงน้อยๆ ของลูก เด็กก็จะตอบสนองด้วยการขยับทำท่าเหมือนจะพลิกตัว และเริ่มโยกตัวไปมาพลางถีบเท้า (แต่ยังไม่คว่ำเพราะต้องรอให้กล้ามเนื้อของแข็งแรงขึ้นก่อน) หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกฝึกคว่ำ ก็สามารถจับลูกน้อยให้นอนตะแคง แล้วนำหมอน ม้วนผ้าห่ม หรือตุ๊กตา มาดันไว้ที่ข้างหลังของลูก เพื่อให้ลูกชินกับท่าทางและคว่ำง่ายขึ้นได้ค่ะ

 

2. อุ้มลูกให้บ่อยขึ้น

ถึงแม้ว่าการเป็นแม่จะยุ่งมากเหลือเกิน แต่ Mama’s Choice ขอแนะนำให้คุณแม่อุ้มลูกบ่อยๆ ค่ะ นอกจากเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกแล้ว ยังเป็นการฝึกกล้ามเนื้อรอบคอด้วย หรือหากคุณแม่ไม่มีเวลาจริงๆ อาจใช้วิธีให้ลูกนั่งในที่นั่งเด้งดึ๋งหรือชิงช้าสำหรับทารกก็ได้เช่นกัน

 

3. สลับตำแหน่งการนอนของทารก

ตำแหน่งการนอนหลับที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทารก คือ การนอนหงาย ท่านี้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการทารกเสียชีวิตอย่างกะทันหัน แต่ในทางกลับกัน กลับเพิ่มโอกาสที่ลูกน้อยจะเกิดอาการหัวแบน ดังนั้น สิ่งที่คุณแม่ทำได้ คือ ให้เปลี่ยนตำแหน่งศีรษะของลูกจากหันซ้ายไปขวา และคอยจับสลับข้างอยู่เรื่อยๆ 

 

4. ให้ลูกนอนหมอนหลุมหรือหมอนหัวทุย

หมอนหัวทุย ป้องกันหัวแบน

หมอนหลุมหรือหมอนหัวทุยที่ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงกะโหลกศีรษะของทารกโดยเฉพาะจะช่วยลดแรงกดที่ด้านหลังศีรษะของทารก และกระจายแรงกดทั้งสองข้างของกะโหลกศีรษะให้เท่าๆ กันได้

อีกทั้งหมอนหัวทุยยังช่วยปรับรูปร่างกะโหลกศีรษะของทารก และลดแรงกดที่ศีรษะและกล้ามเนื้อคอ ซึ่งมีพ่อแม่จำนวนมากที่เห็นผลลัพธ์ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ และก็พึงพอใจกับรูปทรงศีรษะของลูกน้อยด้วย

หมอนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ อาจใช้ในการรักษาทารกที่มีอาการผิดปกติทางพัฒนาการได้ – Anna M Ohman

อย่างไรก็ตาม หากใช้หมอนหัวทุยกับทารกที่ตัวเล็ก คุณแม่ควรระมัดระวังและเฝ้าดูตลอดเวลาในขณะที่ลูกน้อยใช้หมอน และอย่าปล่อยลูกน้อยทิ้งไว้โดยไม่มีใครดูแลค่ะ ที่สำคัญ ขอเน้นย้ำว่าหมอนหลุมเป็นแค่ตัวช่วยอย่างหนึ่งเท่านั้น ถึงจะให้ลูกนอนหมอนหลุม คุณแม่ก็ยังต้องจับลูกพลิกซ้ายพลิกขวาอย่างสม่ำเสมอนะคะ

หากคุณแม่สนใจให้ลูกนอนหมอนหลุม ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกลค่ะ Mama’s Choice มีหมอนหลุม หมอนหัวทุยเกรดพรีเมียมช่วยซัปพอร์ตศีรษะลูกน้อยทั้ง 4 ทิศทาง ป้องกันอาการหัวแบนได้ ผลิตจากออร์แกนิกเมมโมรี่โฟม 100% ชั้นนอกห่อหุ้มด้วยผ้าฝ้าย นุ่มสบาย ไม่ทำให้เจ้าตัวเล็กระคายเคือง

ลดราคาพิเศษ เหลือเพียง 349.- จากราคาเต็ม 509.- | จัดส่งฟรี!

shopee button

 

หาก ลูกหัวแบน ต้องกังวลหรือไม่ จะมีอาการแทรกซ้อนหรือเปล่า?

กลุ่มอาการศีรษะแบนมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงระดับรุนแรง โดยอาการอย่างหลังจะส่งผลต่อคอ หู ตา และขากรรไกรของลูก ซึ่งตามบทความในวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย Carl Cummings จาก Canadian Pediatric Society พบว่าจะพบอาการหัวแบนในเด็กอายุ 6 สัปดาห์ถึง 2 เดือนเนื่องจากเป็นช่วงวัยที่พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอนในท่าเดียว

แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวล! เพราะอาการหัวแบนมักหายได้เอง นอกจากนี้ มักจะไม่สังเกตเห็นด้วยซ้ำเมื่อผมของลูกเริ่มยาวขึ้นค่ะ 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

10 เทคนิคกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับลึกที่คุณแม่มือใหม่ทำตามได้ง่ายๆ

‘หมอนหัวทุย’ อีกหนึ่งตัวช่วยป้องกัน ‘อาการหัวแบน’ ที่พบได้บ่อยในทารก

วิธีเบิกค่าคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคม เบิกได้ ไม่ยาก!

 

ลดราคาพิเศษ 31% เหลือเพียง 349.- จากราคาเต็ม 509.- | จัดส่งฟรี!

Mama's Choice Flathead prevention pillow หมอนหัวทุย

ที่มา :   1

Author wanvisammc

wanvisammc

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า