Search

วิธีเก็บนมแม่ สต็อกนมแม่อย่างไรให้อยู่ได้นาน มีคุณค่าทางอาหารเหมือนเดิม

 

เมื่อตัดสินเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว คุณแม่ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มทำสต็อกนมแม่ให้ลูกน้อยได้มีกินนานๆ หรือวางแผนไว้สำหรับเวลาที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงานนอกบ้าน ลูกน้อยจะได้มีนมแม่กินต่อไป ว่าแต่คุณแม่จะเก็บรักษาสต็อกนมแม่อย่างไรให้อยู่ได้นาน น้ำนมยังมีสารอาหารสำคัญเหมือนเดิม น้ำนมไม่เหม็นหืน ลูกน้อยกินแล้วไม่ท้องเสีย ในบทความนี้ Mama’s Choice ได้รวบรวม วิธีเก็บนมแม่ อย่างถูกต้องมาฝากกันค่ะ 🙂

 

เก็บนมแม่ได้นานแค่ไหน?

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) มีคำแนะนำเกี่ยวกับระยะเวลาที่สามารถเก็บนมแม่แต่ละแบบดังนี้

น้ำนมแม่ เก็บได้นานแค่ไหน วิธีเก็บนมแม่

วิธีเก็บนมแม่ อย่างปลอดภัย

การเก็บรักษานมแม่อย่างปลอดภัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ก่อนปั๊มนม

  1. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่า 60%
  2. ตรวจสอบปั๊มนมให้แน่ใจว่าสะอาดก่อนการใช้งาน หากใช้ร่วมกับผู้อื่นให้ทำความสะอาดภายนอกปั๊มและบริเวณใกล้เคียงด้วยกระดาษเช็ดฆ่าเชื้อ 
  3. คุณแม่เริ่มปั๊มนมด้วยมือหรือเครื่องปั๊มตามสะดวก

ปั๊มนม วิธีเก็บนมแม่ สต็อกนมแม่

2. การบรรจุใส่ถุงหรือภาชนะ

  1. ใช้ถุงเก็บนมแม่ หรือภาชนะเกรดที่ใช้กับอาหารและสะอาด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าภาชนะทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท หลีกเลี่ยงการใช้ขวดที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลหมายเลข 7 
  2. ห้ามเก็บน้ำนมแม่ในขวดแบบใช้แล้วทิ้งหรือถุงพลาสติกที่ไม่ได้มีไว้สำหรับเก็บนมแม่

3. การเก็บรักษาในอุณหภูมิต่างๆ

  1. ที่อุณหภูมิห้อง สามารถเก็บได้ถึง 4 ชั่วโมง
  2. ในตู้เย็น เก็บได้ถึง 4 วัน
  3. ในช่องแข็ง เก็บภายใน 6 เดือน คุณภาพดีที่สุด ถ้ามากกว่า 6 เดือนแต่ไม่เกิน 12 เดือน คุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ หากเกินกว่านั้น ทาง CDC แนะนำว่าจะไม่ได้คุณภาพที่ดีที่สุด ส่วนคุณหมอสุธีรา แนะนำว่า หากเกิน 1 ปี คุณแม่ต้องชิมทุกถุงก่อนให้ลูกทาน ถ้าไม่เปรี้ยวกินได้ค่ะ

ถุงเก็บนมแม่ วิธีเก็บนมแม่

 

เทคนิคการเก็บรักษานมแม่

  • เขียนฉลากติดลงบนถุงนมให้ชัดเจนว่าปั๊มเมื่อไหร่
  • ไม่เก็บถุงนมแม่ที่ฝาตู้เย็นหรือฝาตู้แช่แข็ง เนื่องจากจะทำให้อุณหภูมิของนมแม่เปลี่ยนไปเวลาเปิดปิดตู้ทำให้ไม่สามารถเก็บได้นานตามที่แนะนำข้างต้น
  • ถ้าคุณไม่มีแผนจะใช้นมที่คุณปั๊มภายใน 4 วัน ควรจะแช่แข็งทันที เพื่อรักษาคุณภาพของนมแม่
  • ในการแช่แข็งนมแม่ มีเทคนิคดังนี้
    • ให้แบ่งเป็นถุงเล็กๆ พอทานในแต่ละมื้อ หรือประมาณ 2-4 ออนซ์ เพื่อไม่ต้องให้นมเหลือ 
    • ควรบรรจุนมให้มีระยะห่างจากปากถุงประมาณ 1 นิ้ว เพราะนมจะขยายตัวเมื่อแข็ง
    • ควรรีดอากาศออกจากถุงให้มากที่สุดก่อนแช่แข็ง เพื่อไม่ให้นมเหม็นหืนมากนัก
  • ถ้าจะต้องนำนมแม่ไปให้ลูกน้อยใช้ที่โรงเรียนหรือสถานดูแลเด็ก ควรระบุชื่อลูกน้อยให้ชัดเจน
  • นมแม่ที่ปั๊มออกมาสามารถเก็บในถุงเก็บความเย็นได้ถึง 24 ชั่วโมงระหว่างที่คุณต้องเดินทาง และเมื่อถึงที่หมาย ต้องนำนมออกมาเข้าตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งในทันที
  • มีบางกรณีที่ตู้เย็นอาจปิดไม่สนิท หรือ ไฟดับ ทำให้มีปัญหานมละลาย แต่ยังมีความเย็นอยู่ กรณีนี้อายุของนมที่เก็บจะไม่นานเท่าเดิม หากจะใช้นม จะต้องทำการชิมทุกครั้งว่าเปรี้ยวหรือไม่ ถ้าเปรี้ยวหรือไม่แน่ใจ ก็ไม่ควรนำมาให้ลูกกิน

เขียนวันที่บนถุงเก็บนมแม่

 

ทั้งนี้ หากคุณแม่มีความจำเป็นต้องพาลูกน้อยไปทำธุระนอกบ้าน หรืออยากพาเจ้าตัวเล็กไปเที่ยวเปิดหูเปิดตา และต้องการพกพานมแม่ไปด้วย เราขอแนะนำ Mama’s Choice Sling Cooler Bag กระเป๋าเก็บนมแม่ซึ่งสามารถรักษาอุณหภูมิได้นานสูงสุดถึง 8 ชั่วโมง และสามารถใส่ขวดนมไซส์เล็กได้ถึง 9 ขวด

นอกจากนี้ Mama’s Choice Sling Cooler Bag ยังมีช่องสำหรับใส่เครื่องปั๊มนมด้วยนะคะ คุณแม่จะใช้เป็นกระเป๋าสำหรับพกติดตัวไปปั๊มนมระหว่างที่ไปทำงานหรือไปทำธุระได้ เพราะสามารถรักษาอุณหภูมิของน้ำนมแม่เอาไว้ได้ระหว่างที่คุณแม่ยังอยู่นอกบ้าน เพื่อไม่ให้น้ำนมแม่บูดเน่าหรือสูญเสียคุณค่าทางสารอาหารไปค่ะ

ราคาพิเศษ เพียง 479.- จาก 879.- | จัดส่งฟรี!

วิธีอุ่นนมแม่อย่างปลอดภัย

  • นำนมแม่ถุงที่เก่าที่สุดมาละลายก่อนเสมอ ต้องพึงระลึกว่าเข้าก่อนออกก่อน เนื่องจากคุณภาพของนมแม่จะลดลงตามกาลเวลา
  • วิธีในการนำนมแม่มาละลาย ดังนี้ 
    • นำจากช่องแช่แข็งมาไว้ในช่องแช่เย็นก่อน 1 คืนล่วงหน้า 
    • นำมาละลายในภาชนะที่มีน้ำอุ่น
    • เปิดน้ำอุ่นผ่านนมแม่เพื่อละลาย
  • ห้าม ละลายนมแม่โดยใช้ไมโครเวฟ เนื่องจากไมโครเวฟจะทำลายสารอาหารในนมแม่และจะร้อนเกินสำหรับเด็กทารก
  • ถ้าคุณละลายนมในตู้เย็นต้องให้ทารกทานภายใน 24 ชั่วโมง โดยนับจากจุดที่นมละลายอย่างสมบูรณ์ ไม่ได้นับจากเวลาที่ย้ายจากตู้แช่แข็ง
  • ถ้านมแม่ถูกเอาออกมาวางในอุณหภูมิห้อง ต้องใช้ภายใน 2 ชั่วโมง
  • ห้าม นำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับเข้าช่องแช่แข็ง

 

วิธีป้อนนมแม่

  • ทารกสามารถทานนมแม่ที่อุณหภูมิห้องหรือเย็นได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนมอุ่น
  • ถ้าต้องการให้นมอุ่น มีคำแนะนำดังนี้
    • ตรวจสอบว่าภาชนะที่ใส่นมแม่ปิดสนิท ไม่มีรอยรั่ว
    • ใส่ภาชนะที่มีนมแม่ลงในอ่างน้ำอุ่นหรือถือไว้ให้น้ำอุ่นไหลผ่าน
    • ทดสอบอุณหภูมิของนมแม่ก่อนป้อนทารก โดยการหยดลงบนข้อมือ 2-3 หยด 
    • ห้ามนำนมแม่ไปให้ความร้อนบนเตาหรือไมโครเวฟ
  • กรณีที่ไขมันแยกจากนมแม่ คุณแม่หรือผู้ดูแลสามารถเขย่าขวดนมวนเบาๆ เพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  • ถ้าลูกน้อยทานนมไม่หมด สามารถเก็บได้อีก 2 ชั่วโมงหลังจากทานเสร็จ แต่ถ้าเกิน 2 ชั่วโมงแล้วต้องทิ้งเท่านั้น

แม้จะมีงานวิจัยที่ชี้ว่า นมแม่ที่เก็บไว้ในตู้เย็นมีคุณสมบัติด้อยกว่านมแม่สดใหม่จากเต้า แต่นมแม่ก็ยังเปี่ยมคุณค่าสารอาหารและมีประโยชน์มากกว่านมผงที่ชงใหม่ๆ เพราะยังคงมีเซลเม็ดเลือดขาว สารภูมิคุ้มกัน เอ็นไซม์ ฮอร์โมน สารต้านมะเร็ง ซึ่งยังทำงานได้เป็นอย่างดี และหาไม่ได้ในนมผงทุกยี่ห้อ Mama’s Choice ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่มือใหม่มีความสุข สนุกสนานไปกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจของลูกน้อยนะคะ 🙂

อ้างอิง 1, 2, 3, 4, 5

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเลือกเครื่องปั๊มนม แบบไหนปั๊มเกลี้ยงเต้า น้ำนมไหลดี ไม่เจ็บหัวนม มาดูกัน!

วิธีปั๊มนม เทคนิคปั๊มนม รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับการปั๊มนมที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้

7 เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่สำหรับคุณแม่มือใหม่ ทำตามนี้รับรองพุ่งปรี๊ด!

กระเป๋าเก็บนมแม่ Sling Cooler Bag Mama's Choice

Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า