การห่อตัวคืออะไรกันแน่และ วิธีห่อตัวเด็กทารก มีประโยชน์กับลูกน้อยอย่างไร? บทความนี้จะตอบคำถามทั้งหมดของคุณเกี่ยวกับเทคนิคการห่อตัวทารกให้คุณแม่และคุณพ่อหายข้องใจกันค่ะ
เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่คุณแม่จะมักห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าที่นุ่มสบายเพื่อให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกปลอดภัย เทคนิคนี้เราเรียกว่า “การห่อตัวเด็กทารก”
ซึ่งในขณะที่ทารกอยู่ในสภาพเหมือนรังไหมที่เลียนแบบครรภ์ของแม่ อุณหภูมิของร่างกายจะถูกควบคุม ช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ทำให้ผ่อนคลายและนอนหลับได้ดีขึ้น
อ่านต่อ: รู้จักกับ 6 Reflex ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กทารก
วิธีห่อตัวเด็กทารก ทำได้ปลอดภัยหรือไม่?
@mamaschoice.th วันนี้แม่มีของดีมาแนะนำค่ะ ผ้าห่อตัวเด็กสำเร็จรูปจาก Mama’s Choice ที่สามารถป้องกันปฏิกิริยา Reflex ได้อย่างมีประสิทธิภาพ #มาม่าช้อยส์ #แม่ลูกอ่อน #ผ้าห่อตัวแรกเกิด #รีวิว
มีการถกเถียงกันมากมายในหมู่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการห่อตัว เช่น ข้อสะโพกเคลื่อนผิดปกติ ความร้อนสูงเกินไป และปัญหาเกี่ยวกับการผ่อนคลายตัวเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการห่อตัวลูกน้อยอย่างถูกต้อง ผู้เชี่ยวชาญก็ยอมรับว่าการห่อตัวนั้นปลอดภัยสำหรับทารก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ การก่อตัวลูกอย่างถูกวิธี ซึ่งเราจะมีวิธีการบอกในหัวข้อต่อ ๆ ไปค่ะ
5 ประโยชน์ของการห่อตัวทารก อย่างถูกวิธี
ตอนนี้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับการห่อตัวมากขึ้นแล้ว นี่คือประโยชน์ที่ลูกน้อยจะได้รับเมื่อคุณแม่ห่อตัวให้:
1. ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ลูกน้อยของคุณแม่อาจควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ยากในวันที่อากาศเย็น การห่อตัวเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำให้ร่างกายอบอุ่นอย่างปลอดภัย
2. ปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าทารกที่ห่อตัวจะนอนหลับได้นานขึ้นและหลับลึกขึ้นกว่าเด็กที่ไม่ได้ห่อตัว เพราะเด็กจะรู้สึกสบาย และปลอดภัยจากสิ่งเร้าเวลานอนอยู่ในผ้าห่อตัวนั่นเอง
3. ลดความวิตกกังวล
เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เด็กทารกก็สามารถรู้สึกวิตกกังวลได้เช่นกัน วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการรับมือคือการอุ้มลูกเอาไว้ แต่ถ้าให้อุ้มตลอดเวลาก็คงไม่สะดวก การใช้ผ้าห่อตัวสามารถเลียนแบบความรู้สึกเหมือนอยู่ในอ้อมกอดและครรภ์แม่ได้ค่ะ
4. ป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเกา
เนื่องจากการตัดแต่งเล็บของทารกจนถึงอายุประมาณหนึ่งเดือนนั้นไม่ปลอดภัย การเกาอาจเป็นปัญหากับผิวที่บอบบางได้ คุณแม่สามารถสวมถุงมือบนมือของทารกได้ แต่จะไม่กระชับเท่ากับการใช้ผ้าห่อตัว
5. ช่วยให้พ่อแม่ได้พักผ่อนเพียงพอ
แน่นอนว่าเมื่อลูกน้อยมีความสุข ผ่อนคลาย และพักผ่อนเพียงพอ พ่อแม่และผู้ดูแลคนอื่น ๆ จะมีเวลาให้กับตัวเองมากขึ้น อย่างที่เราทราบกันดีว่าการเป็นแม่นั้นกินเวลาชีวิตอย่างมาก ดังนั้นการห่อตัวจึงเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้ลูกน้อยไม่ตื่นผวามาร้องไห้กลางดึกนั่นเอง
วิธีห่อตัวเด็กทารก อย่างถูกต้อง
1. วิธีห่อตัวเด็กทารก อย่าพันแน่นเกินไป
ผ้าต้องแนบสนิทพอดีเมื่อห่อตัว อย่างไรก็ตาม การห่อตัวแน่นเกินไปอาจทำให้ทารกถูกกดทับมากเกินไปและทำให้หายใจไม่ออก คุณแม่ควรสอดนิ้วเข้าไประหว่างผ้าห่อตัวกับตัวทารกได้ประมาณ 2-3 นิ้ว
2. ตรวจสอบผ้าและที่นอนลูก
มีความเป็นไปได้ที่ลูกน้อยของคุณแม่จะกลิ้งไปมาขณะห่อตัวและคว่ำหน้าลง ซึ่งจะทำให้หายใจลำบากได้ เพื่อป้องกัน คุณแม่ควรตรวจสอบผ้าห่อตัว และพื้นผิวที่วางลูกนอนว่าเรียบสนิท ปลอดภัยกับลูก
3. ทำให้ลูกน้อยของคุณเย็น
เนื่องจากทารกถูกห่อด้วยผ้า จึงเป็นเรื่องปกติที่ลูกจะรู้สึกอบอุ่น อย่างไรก็ตามในวันที่อากาศร้อนอุณหภูมิอาจต้องระวังเรื่องอุณหภูมิที่สูงเกินไป จะเป็นการดีที่สุดหากใช้พัดลมไฟฟ้าหรือเครื่องปรับอากาศให้ลูกด้วย หรือเลือกใช้ผ้าห่อตัวที่ระบายอากาศได้ดีก็จะช่วยระบายความร้อน ทำให้ลูกไม่อึดอัดได้ด้วยค่ะ
4. เลือกผ้าห่อตัวที่มีคุณภาพ
แม้ว่าผ้าห่อตัวจะสะอาดและมีเนื้อนุ่มจะใช้ได้ แต่ก็ควรใช้ผ้าห่อตัวแบบคุณภาพที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพของเด็กทารกเป็นพิเศษ
ขอแนะนำผ้าห่อตัวจาก Mama’s Choice ที่ออกแบบมาเหมาะกับพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่ 0-6 เดือน ที่สำคัญ ใส่แล้วนุ่มสบาย ไม่อึดอัด ระบายอากาศได้ดี ช่วยให้หลับสบายตลอดทั้งคืน!
ผ้าห่อตัวเด็กทารก 0-6 เดือน ลดพิเศษ 55%
เหลือเพียง ฿249 จาก ฿559 เท่านั้น!
Mama’s Choice Womby Instant Swaddle ผ้าห่อตัวเด็กทารกสำเร็จรูปที่ช่วยลดอาการตอบสนอง (reflex) จากการถูกกระตุ้นต่าง ๆ ในเด็กระหว่างการนอน ต้นเหตุของอาการสะดุ้งตกใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย และหลับไม่สนิท ด้วยการออกแบบผ้าห่อตัวให้เลียนแบบความรู้สึกเหมือนกับอยู่ในครรภ์แม่ ทำให้ลูกน้อยสามารถนอนหลับได้สนิทและหลับสบายตลอดทั้งคืน!
แถมยังผลิตจากผ้าฝ้ายพรีเมียม 100% ไม่ระคายเคืองผิวเด็ก และระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความร้อนที่สูงเกินไป ดีกับพัฒนาการของเด็กเพราะช่วยให้สะโพกได้เคลื่อนไหวและพัฒนา เช่น การงอ และเตะ ด้วยการออกแบบที่ส่งเสริมสุขภาพสะโพกเด็กตาม International Hip Dysplasia Institute (IHDI) อีกด้วยนะคะ อย่ารอช้า รีบช้อปเลย!
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
สาเหตุลูกไม่หลับและวิธีแก้ไข ปัญหาเด็กนอนไม่หลับ
ผื่นในเด็ก ที่เกิดบ่อยพร้อมวิธีป้องกันผื่นให้หายไป
ครีมกันแดดเด็ก 6 เดือนขึ้นไปยี่ห้อไหนดีที่ปลอดภัย ลูกไม่แพ้
ที่มา:
natkamon