การรู้จักและเข้าใจพัฒนาการต่าง ๆ ของลูกน้อยตามช่วงวัยเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรศึกษาเรียนรู้ หนึ่งอย่างที่ควรเข้าใจก็คือ ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กทารก (Reflex) ที่ทำให้เด็กเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าก็เป็นหนึ่งสิ่งที่ควรศึกษาเอาไว้เพื่อให้ดูแลลูกได้อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของเด็กทารกเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณการเอาตัวรอดที่จำเป็นในการเติบโต
ในบทความนี้เราจะพาคุณพ่อแม่มือใหม่ไปดูรีเฟล็กซ์ 6 ประเภทต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในเด็กทารกตามหัวข้อดังนี้เลยค่ะ:
ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กทารกคืออะไร?
ทำไมพ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กทารก?
Moro Reflex
Rooting Reflex
Sucking Reflex
Tonic Neck Reflex
Palmar Grasping Reflex
Stepping Reflex
ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กทารก คืออะไร?
ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กแรกเกิด (Reflex) เป็นการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่ทารกทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่างที่เกิดขึ้น เช่น ดูด กำนิ้ว สะดุ้ง เป็นต้น โดยการตอบสนองเหล่านี้ไม่ได้มาจากการเรียนรู้ แต่มาจากการเชื่อมต่อกับระบบประสาทของเด็ก และมักจะหายไปหรือเกิดน้อยลงเมื่อระบบประสาทของเด็กเติบโตเต็มที่แล้ว
โดยปฏิกิริยาตอบสนองมีหลายแบบที่ต่างกัน เช่น รีเฟล็กซ์ที่ช่วยให้ทารกพร้อมเริ่มหาอาหาร หรือรีเฟล็กซ์ที่ช่วยให้ทารกป้องกันตัวเองจากอันตราย เป็นต้น
ทำไมพ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับ ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กทารก?
สำหรับคุณพ่อแม่มือใหม่ การรู้จักเกี่ยวกับรีเฟล็กซ์ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะจะได้สามารถเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ และดูแลลูกน้อยได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เข้าใจว่าทำไมลูกถึงหันศีรษะและอ้าปากเมื่อถูกลูบแก้ม แบบนี้ก็จะช่วยให้พ่อแม่จัดท่าทางของลูกน้อยระหว่างให้นมได้ดีขึ้นกว่าเดิมนั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ยังสามารถเข้าใจปัญหาของพัฒนาการลูกน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน หากเจ้าตัวน้อยไม่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่างหรือแสดงการตอบสนองที่มากเกินไป คุณพ่อคุณแม่จะได้รู้ว่ามีอะไรผิดปกติที่ต้องรีบไปปรึกษากับคุณหมอก่อนตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ด้วยค่ะ
6 Reflex ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กทารก
รีเฟล็กซ์ของทารกแรกเกิดมีหลายแบบ แต่ในบทความนี้เราจะให้พ่อแม่มือใหม่ได้รู้จักกับประเภทที่สามารถพบได้บ่อยในเด็กทารกมากที่สุด
1. Moro Reflex
Moro reflex หรือที่เรียกว่า startle reflex เป็นรีเฟล็กซ์ที่ทารกจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างกะทันหัน รีเฟล็กซ์นี้มักเกิดจากเสียงดังหรือการเคลื่อนไหวที่กะทันหัน โดยเด็กจะเริ่มดิ้น ร้องไห้งอแงและเหวี่ยงแขนขาเข้าออก และอาจทำให้เด็กนอนหลับได้ไม่สนิทในเวลากลางคืนด้วย ซึ่งรีเฟล็กซ์ Moro มีอยู่ตั้งแต่แรกเกิดและมักจะหายไปเมื่อเด็กมีอายุได้ 3-6 เดือน
คุณพ่อคุณแม่สามารถลด Moro reflex ได้ด้วยการทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น โดยการใช้ผ้าห่อตัวทารกก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการรบกวนจากสิ่งเร้าให้ลูกน้อยได้ค่ะ
ขอแนะนำคุณแม่ให้ใช้ Mama’s Choice Womby Instant Swaddle ผ้าห่อตัวเด็กทารกสำเร็จรูปที่ช่วยลดอาการตอบสนองจากการถูกกระตุ้น (reflex) ต่าง ๆ ในเด็กระหว่างการนอน ต้นเหตุของอาการสะดุ้งตกใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย ร้องไห้งอแงและหลับไม่สนิท
@mamaschoice.th วันนี้แม่มีของดีมาแนะนำค่ะ ผ้าห่อตัวเด็กสำเร็จรูปจาก Mama’s Choice ที่สามารถป้องกันปฏิกิริยา Reflex ได้อย่างมีประสิทธิภาพ #มาม่าช้อยส์ #แม่ลูกอ่อน #ผ้าห่อตัวแรกเกิด #รีวิว
ลดพิเศษ 30% จาก ฿559 เหลือ ฿389 ส่งฟรี!
ผ้าห่อตัวนี้มีความนุ่มและอบอุ่นมาก สามารถเลียนแบบความรู้สึกเหมือนกับอยู่ในครรภ์แม่ ทำให้เด็กจะรู้สึกปลอดภัยคล้ายได้สัมผัสจากคุณแม่โดยตรง โดยที่คุณแม่ไม่ต้องคอยกอดไว้ตลอดเวลา ผลลัพธ์ก็คือ ลูกจะตื่นกลางดึกน้อยลง สามารถนอนหลับได้สนิทและหลับสบายตลอดทั้งคืนมากขึ้นเลยค่ะ!
อ่านต่อ: สาเหตุลูกไม่หลับและวิธีแก้ไข ปัญหาเด็กนอนไม่หลับ
2. Rooting Reflex
Rooting Reflex ช่วยให้ทารกสามารถหาอาหารและเริ่มกินได้ เมื่อคุณพ่อแม่ลูบแก้มของลูก เด็กจะหันศีรษะและอ้าปากเข้าหาเพื่อหาอาหาร รีเฟล็กซ์นี้มีตั้งแต่แรกเกิดและมักจะหายไปเมื่ออายุได้สี่เดือน
รีเฟล็กซ์นี้มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของเด็กทารกเวลาต้องการกินอาหาร และในฐานะพ่อแม่มือใหม่ การเข้าใจรีเฟล็กซ์นี้สามารถช่วยให้จัดท่าทางของลูกน้อยระหว่างให้นมจากเต้าหรือขวดนมได้ดีขึ้น และเช็กแน่ใจว่าลูกได้รับอาหารเพียงพอหรืออิ่มแล้วนั่นเองค่ะ
3. Sucking Reflex
รีเฟล็กซ์การดูดช่วยให้ทารกสามารถทานอาหารได้ เมื่อเด็กถูกสัมผัสที่ริมฝีปากก็จะตอบสนองด้วยการดูดกลับ โดยจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดและมักจะหายไปเมื่ออายุได้ 6-9 เดือน
ในฐานะพ่อแม่มือใหม่ การเข้าใจปฏิกิริยาสะท้อนนี้สามารถช่วยให้มั่นใจได้ว่าลูกน้อยของคุณได้รับอาหารอย่างเหมาะสมและมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หากสังเกตเห็นว่าเด็กมีปัญหาในการดูดนมหรือไม่แสดงปฏิกิริยาการดูดออกมาเลย ควรรีบเข้ารับคำปรึกษาจากกุมารแพทย์ด้วยนะคะ
4. Tonic Neck Reflex
รีเฟล็กซ์ที่ช่วยให้ทารกพัฒนาการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เมื่อเด็กหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง แขนข้างหนึ่งจะยืดออกไปทางด้านนั้นและจะงอแขนอีกข้างเข้า รีเฟล็กซ์นี้มีตั้งแต่แรกเกิดและมักจะหายไปเมื่ออายุได้ประมาณ 4-6 เดือน
5. Palmar Grasping Reflex
รีเฟล็กซ์นี้ที่ทำให้ทารกสามารถจับสิ่งของที่วางอยู่ในฝ่ามือได้ เมื่อวางสิ่งของหรือนิ้วไว้ในมือทารก เด็กจะงอนิ้วเข้ามาจับไว้โดยอัตโนมัติ รีเฟล็กซ์นี้มีตั้งแต่แรกเกิดและมักจะหายไปเมื่ออายุได้ 3-6 เดือน
รีเฟล็กซ์ประเภทนี้มีความสำคัญต่อพัฒนาการของทารก เนื่องจากช่วยให้เรียนรู้วิธีการถือวัตถุต่าง ๆ พ่อและแม่เองก็สามารถช่วยส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีให้กับลูกได้ด้วย เช่น หาของเล่นที่ช่วยในการจับให้ลูกน้อย
6. Stepping Reflex
รีเฟล็กซ์ประเภทสุดท้ายนี้ทำให้ทารกสามารถก้าวเมื่อเท้าสัมผัสกับพื้นผิว โดยจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดและมักจะหายไปเมื่ออายุได้ 2-3 เดือน
สเต็ปรีเฟล็กซ์มีความสำคัญต่อพัฒนาการของทารก เนื่องจากช่วยให้ทารกพัฒนากล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อการก้าวเดินได้นั่นเองค่ะ
ทั้งหมดนี้คือ 6 Reflex ของเด็กที่พบได้บ่อย คุณพ่อและแม่อย่าลืมนะคะว่าการทำความเข้าใจปฏิกิริยาตอบสนองของลูกน้อยเป็นส่วนสำคัญมากในการดูแลทารกแรกเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เขาแสดงออก สามารถสร้างความรู้สึกที่ปลอดภัย มั่นใจว่าลูกน้อยได้รับอาหารที่เพียงพอ สามารถส่งเสริมทักษะการจับหรือเดิน รวมถึงหาความผิดปกติที่ควรต้องรีบไปพบแพทย์อีกด้วยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
หมอนหัวทุยอีกหนึ่งตัวช่วยป้องกันอาการหัวแบนที่พบได้บ่อยในทารก
ผื่นในเด็ก ที่เกิดบ่อยพร้อมวิธีป้องกันผื่นให้หายไป
ลูกต้องเรอแบบไหนถึงจะเรียกว่าถูกต้อง?
natkamon