ตลอดช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร คุณแม่ย่อมสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของหน้าอกได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ขนาด หรือความไวต่อสัมผัสต่างๆ และอาจเปลี่ยนแปลงไปได้อีกเมื่อคุณแม่เริ่มให้นมเจ้าตัวเล็กอย่างจริงจัง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตั้งครรภ์จะทำให้หน้าอกของคุณแม่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งหย่อนคล้อย เล็กลง และไม่กระชับ แน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลงนี้อาจกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่ได้เหมือนก่อนตั้งครรภ์
แต่ที่สำคัญ คือ คุณแม่หลายคนหมดความมั่นใจกับรูปร่างหน้าอกที่เปลี่ยนแปลงไป และเข้าใจว่าไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้แล้ว
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Mama’s Choice ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับหน้าอกที่เปลี่ยนไปหลังการให้นมบุตร รวมไปถึงสารพัดวิธีฟื้นฟูเต้านมหลังให้นมลูกมาฝากกันแล้วค่ะ ตามมาเลยค่ะ
หน้าอกของคุณแม่จะเปลี่ยนไปหลังให้นมบุตรใช่หรือไม่?
คำตอบจากเราคือ “ใช่ค่ะ” แต่จริงๆ แล้วความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่คุณแม่เริ่มให้นมลูก แต่หน้าอกนั้นเริ่มเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน และโปรแลคติน เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมนั่นเองค่ะ โดยการเปลี่ยนแปลงหลักๆ มีดังนี้
รูปร่างของหน้าอกหลังให้นม
รูปร่างของหน้าอกจะเริ่มเปลี่ยนไปทั้งในช่วงก่อนและหลังให้นม โดยในช่วงให้นมคุณแม่จะสังเกตได้ว่าหน้าอกจะดูอวบอิ่มและขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิม เนื่องจากด้านในมีการผลิตน้ำนมและเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก ในทางกลับกัน เมื่อคุณแม่ให้นมลูกเสร็จแล้ว ก็จะรู้สึกได้ว่าหน้าอกมีขนาดเล็กลงจนให้ความรู้สึกหย่อนคล้อย ไม่กระชับ
อย่างไรก็ตาม การให้นมไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้รูปร่างของหน้าอกเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นอายุ น้ำหนักระหว่างการตั้งครรภ์ พันธุกรรม และอื่นๆ ก็อาจส่งผลทำให้รูปร่างของหน้าอกเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกันค่ะ
ขนาดของหัวนมหลังให้นม
ในระหว่างตั้งครรภ์ ระดับที่สูงขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนสามารถส่งผลต่อบริเวณหัวนมของคุณแม่ได้เช่นกัน เช่น หัวนมมีขนาดเพิ่มขึ้น ลานนมมีสีคล้ำขึ้นและเกิดเป็นริ้วหรือเส้นได้ ขณะเดียวกัน การเลี้ยงลูกด้วยการให้นมโดยตรงอย่างต่อเนื่องอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดและเจ็บหัวนมตามมาได้เช่นกัน
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยหรือไม่?
ความเชื่อที่ว่าการเลี้ยงลูกด้วยแม่หรือการให้นมลูกโดยนั้นจะทำให้คุณแม่มีหน้าอกที่หย่อนคล้อย จริงๆ แล้วเป็นความเชื่อที่ผิดนะคะ เพราะการศึกษาพบว่า หน้าอกที่หย่อนคล้อยของคุณแม่นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของข้อต่อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในหน้าอกหรือเส้นเอ็นของคูเปอร์ (Cooper’s ligaments) ยืดขยายออก ซึ่งนั่นหมายความว่า ไม่ว่าคุณแม่จะเลี้ยงเจ้าตัวเล็กด้วยการให้นมลูกโดยตรงหรือไม่ หน้าอกของคุณแม่อาจประสบกับความหย่อนคล้อยอยู่ดีนั่นเองค่ะ
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้หน้าอกเล็กลง?
เช่นเดียวกับคำถามด้านบนที่เราต้องตอบว่าไม่จริงเลยค่ะ เพราะการเลี้ยงลูกด้วยการให้นมแม่โดยตรงไม่ทำให้หน้าอกของคุณแม่เล็กลง แต่เป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลง โดย Deedra Franke ที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตร ประจำ Mercy Medical Center กล่าวว่า “ตลอดช่วงที่ให้นมบุตรนั้น หน้าอกของคุณแม่จะเต็มอิ่มไปด้วยน้ำนม แต่เมื่อหลังจากที่ลูกหย่านมแล้ว ท่อน้ำนมของคุณแม่จะไม่มีการผลิตน้ำนมอีกต่อไป เป็นผลทำให้ขนาดของหน้าอกเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งซึ่งนี่เป็นกระบวนการปกติของร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน”
วิธีฟื้นฟูเต้านมหลังให้นมลูก เปลี่ยนหน้าอกหย่อนคล้อยให้สวย
แม้ว่าคุณแม่แต่ละคนจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป เช่น อายุ พันธุกรรม น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ หรือโรคประจำตัว ที่อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าอกของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกันไป แต่ก็ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถช่วยป้องกันและฟื้นฟูเต้านมหลังให้นมลูกของคุณแม่ให้กลับมากระชับดั่งเดิมได้ มีวิธีอะไรบ้าง?
1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
แม้ว่าการออกกำลังจะไม่ได้ช่วยให้ต่อมเต้านม เซลล์ไขมัน หรือเส้นเอ็นใต้ผิวหน้าอกได้รับประโยชน์แต่อย่างใด แต่อย่างน้อยการออกกำลังจะช่วยให้คุณแม่มีกล้ามเนื้อหน้าอกที่กระชับขึ้น ไม่หย่อนคล้อยเหมือนเก่า โดยคุณแม่สามารถเลือกการออกกำลังกายตามต้องการได้ เช่น
- ใช้ดัมเบล คุณแม่สามารถออกกำลังกายด้วยดัมเบลในรูปแบบต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ยืดตัวตรง ย่อเข่าลงเล็กน้อย ใช้มือทั้งสองข้างถือดัมเบลขนาดพอเหมาะและยืดชกตรงไปด้านหน้าประมาณ 20 ครั้งต่อเซ็ท เป็นต้น
- วิดพื้น สำหรับคุณแม่สามารถออกกำลังกายด้วยการวิดพื้นแบบเฉพาะสำหรับผู้หญิงได้ค่ะ ให้คุณแม่นั่งในท่าคุกเข่า โน้มตัวขนานกับพื้นโดยใช้มือดันพื้นเอาไว้ จากนั้นให้งอศอกลงให้หน้าอกแนบชิดกับพื้นค้างไว้สักครู่หนึ่งก่อนกลับคืนสู่ท่าเดิม ทำซ้ำ 20 ครั้ง
2. ลดน้ำหนักอย่างช้าๆ
คุณแม่หลังคลอดหลายคนชอบโหมออกกำลังกายหนักๆ เพราะอยากกลับไปมีหุ่นสวยดั่งเดิม แต่การโหมออกกำลังกายหนักๆ แบบนี้อาจทำให้หน้าอกที่หย่อนคล้อยของคุณแม่ดูแย่ลงกว่าเดิม และไม่สามารถกลับไปกระชับได้อีกต่อไป ดังคำที่ว่า “อะไรที่ตึงเกินไปมักไม่เกิดผลดี”
ดังนั้น อย่าเร่งรีบที่จะลดน้ำหนัก แต่ให้คุณแม่ค่อยๆ ทำทุกอย่างแบบค่อยเป็นไป และอย่าลืมเลือกวิธีที่ปลอดภัยกับสุขภาพด้วยนะคะ
3. ให้ความชุ่มชื้นและผลัดเซลล์ผิว
คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าการเพิ่มความชุ่มชื้นและผลัดเซลล์ผิวบริเวณหน้าอกสามารถช่วยให้หน้าอกที่หย่อนคล้อยกลับมากระชับได้อย่างไร
แต่จริงๆ แล้วความเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวทุกวันจะช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้นและคงความกระชับให้กับผิวหน้าอก โดยคุณแม่สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนช่วยให้ผิวเต่งตึงกระชับได้
ที่สำคัญอย่าลืม ใช้สครับผิวหรือใยบวบเพื่อขัดผิวเต้านมอย่างอ่อนโยนขณะอาบน้ำทุกวันเพื่อกำจัดเซลล์ที่ตายแล้ว เพิ่มการไหลเวียนโลหิต และคืนความยืดหยุ่นให้กับผิวหน้าอกด้วยนะคะ
4. ปรับบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพเป็นเรื่องที่สำคัญทุกคน โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่มักจะมีท่าทางการเดินที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด และสำหรับคุณแม่ที่ต้องการฟื้นฟูเต้านมหลังให้นมลูก เราขอแนะนำว่าไม่ให้คุณแม่เดินหลังค่อมและไหล่งอ เพราะจะยิ่งทำให้หน้าอกของคุณแม่ดูหย่อนคล้อยมากกว่าเดิม
ดังนั้น คุณแม่ควรใส่ใจและเริ่มปรับปรุงท่าทางการเดินด้วยการยืดไหล่และหลังตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้แทนจะดีกว่าค่ะ เพราะการเดินแบบอกผายไหล่ผึ่งจะทำให้หน้าอกของคุณแม่ไม่ดูหย่อนคล้อยและได้รูปสวยนั่นเองค่ะ
5. บริโภคไขมันสัตว์ให้น้อยลง
หากคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรตัดอาหารจำพวกไขมันสัตว์ที่เต็มไปด้วยคอเรสเตอรอลออกไปให้มากที่สุดดีกว่าค่ะ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้หน้าอกกลับมากระชับแล้วยังทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มขึ้นด้วย
ขณะเดียวกัน คุณแม่ควรหันไปรับประทานอาหารที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอย่างธัญพืช ผัก และผลไม้แทน รวมไปถึงการรับประทานน้ำมันมะกอก วิตามินบี และวิตามินอีแทนที่ไขมันสัตว์ ซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านริ้วรอย ปรับโทนสีผิว และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวของคุณแม่ได้อีกด้วย
6. อาบน้ำร้อนและเย็น
การอาบน้ำร้อนจะช่วยเปิดรูขุมขน ในขณะที่การอาบน้ำเย็นจะช่วยกระชับรูขุมขน ซึ่งการสลับอุณหภูมิในห้องน้ำเช่นนี้จะยิ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้นจะช่วยปรับโทนสีผิวให้แลดูสม่ำเสมอ ขับสารพิษ และทำให้สารอาหารในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
7. ปรับปรุงท่าทางการให้นม
การให้นมลูกด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น วางเจ้าตัวเล็กไว้บนที่นอนและคุณแม่โน้มตัวลงไปป้อนนมเขา จะยิ่งทำให้หน้าอกของคุณแม่ยิ่งดูหย่อนคล้อยมากขึ้น ดังนั้น คุณแม่อาจขอรับคำแนะนำและศึกษาท่าทางการให้นมลูกที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือคุณแม่ที่มีประสบการณ์มาก่อนได้ค่ะ
8. หย่านมลูกช้าๆ
หากคุณแม่ต้องการที่จะเริ่มหย่านมลูก เราขอแนะนำให้ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปค่ะ ค่อยๆ ลดการให้นมเขาทีละน้อยๆ เพื่อให้เนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหน้าอกมีเวลามากพอที่จะฟื้นตัวและกลับไปมีรูปร่างหน้าอกที่คล้ายก่อนการตั้งครรภ์
โดยคุณแม่สามารถศึกษาวิธีการหย่านมอย่างถูกต้องจากช่องทางบนอินเทอร์เน็ตหรือขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตรได้ด้วยเช่นกัน และเราก็มีเคล็ดลับสำหรับการหย่านมเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันด้วยค่ะ
- ค่อยๆ หยุดให้นมเจ้าผ่านการให้นมโดยตรงแต่เปลี่ยนไปให้นมแม่ผ่านการใช้ขวดนมแทน
- ใช้ช่วงเวลาที่เขากำลังเรียนรู้ทักษะต่างๆ เบี่ยงเบนความสนใจจากการดูดนมจากอกแม่ไปเป็นการดื่มนมจากถ้วยหัดดื่มแทนได้
- เพื่อไม่ให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกตกใจกับการเปลี่ยนแปลงที่กะทันหันเกินไป คุณแม่สามารถผสมอาหารบดอื่นๆ กับน้ำนมแม่ไปก่อนได้
- หลังจากที่ลูกเริ่มคุ้นชินกับอาหารบดแล้ว คุณแม่สามารถเพิ่มมื้ออาหารและลดปริมาณน้ำนมลงได้แล้วค่ะ
9. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
ไม่ว่าคุณแม่คนไหนก็ต้องรู้ว่าการสูบบุหรี่นั่นไม่เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่อยากฟื้นฟูเต้านมหลังให้นมลูก เพราะจากการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ช่วยลดความสามารถในการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นในตัวเองของผิวได้อย่างมาก รวมไปถึงจะขัดการการผลิตเซลล์ผิวขึ้นมาใหม่ นำไปสู่การเกิดริ้วรอยก่อนวัย ผิวแห้งกร้าน หน้าอกหย่อนคล้อย เป็นต้น
10. สวมเสื้อชั้นใน
การซื้อเสื้อผ้าอาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณแม่จะทำหลังคลอดเพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมที่สุด แต่สิ่งจำเป็นอย่างเสื้อชั้นในนั้น ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมตั้งแต่ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงหลังคลอด
โดยกุญแจสำคัญของการเลือกเสื้อชั้นในสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร ควรเน้นไปที่ความยืดหยุ่น สวมใส่สบาย กระชับพอดีตัว ช่วยพยุงหน้าอก และสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับรูปร่างของคุณแม่ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ แต่แน่นอนว่าการหาเสื้อชั้นในที่เหมาะสมกับคุณแม่ได้อาจเป็นเรื่องยาก เพราะหากเลือกไม่ดีเนื้อเยื่อเต้านมที่มีความบอบบางจะไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและทำให้เต้านมเกิดการหย่อนคล้อยตามมา
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณแม่ควรมองหาเสื้อหาชั้นในที่ออกแบบมาเพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรโดยเฉพาะ โดยคำแนะนำจาก Sherry A. Ross แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของผู้หญิงประจำ Providence Saint John’s Health Center แนะนำว่า คุณแม่ควรสวมใส่เสื้อชั้นในที่ซัพพอร์ตเนื้อเยื่อเต้านมได้อย่างเหมาะสมในระหว่างการทำกิจกรรมประจำวันตามปกติ เนื่องจากเสื้อชั้นในที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันอาการปวดและการหย่อนคล้อยของเต้านมขณะให้นมลูกได้
โดยเธอยังแนะนำต่ออีกว่า คุณแม่ควรซื้อชุดชั้นในชุดใหม่ หลังจากที่เริ่มให้นมลูกไปแล้ว 3 ถึง 6 เดือน เพื่อให้ร่างกายและหน้าอกได้ปรับตัวเข้ากับรูปร่างใหม่ และเมื่อคุณแม่เลือกซื้อเสื้อชั้นในที่เหมาะสมได้แล้ว ก็อย่าลืมเก็บเสื้อชั้นแฟชั่นทั้งหลายพับเก็บลงตู้เอาไว้ก่อนนะคะ
Mama’s Choice Maternity Nursing Bra ออกแบบมาเพื่อคุณแม่โดยเฉพาะ
Mama’s Choice Maternity Nursing Bra เสื้อชั้นในนมบุตรจาก Mama’s Choice ผลิตจากโพลีเอสเตอร์ และสแปนเด็กซ์ เนื้อผ้ามีความยืดหยุ่น นุ่มสบาย ไม่บาดผิว ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น ไม่ระคายเคือง ให้คุณแม่สวมใส่สบายตลอดทั้งวัน
มาพร้อมกับตะขอบนสายเสื้อใน เพิ่มความสะดวกให้กับเหล่าคุณแม่ เพียงแค่ปลดตะขอตรงสายเสื้อในที่ทางเราออกแบบไว้ แม่ ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากกับการถอดเสื้อชั้นในเข้าออกเพื่อปั๊มนมหรือให้นมลูกน้อยอีกต่อไป ให้คุณแม่โฟกัสที่เจ้าตัวเล็กได้เต็มที่
นอกจากนี้ ยังมีตะขอด้านหลัง 3 แถว ปรับได้ 3 ระดับ สามารถรองรับกับสรีระที่เปลี่ยนแปลงของคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์จนกระทั่งถึงช่วงให้นมบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
—
ทั้งหมดนี้ เป็นวิธีการฟื้นฟูเต้านมหลังให้นมลูกที่เราได้นำมาฝากกัน แน่นอนว่าไม่มีคุณแม่คนไหนสามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฟื้นฟูเต้านม แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปหากคุณแม่เลือกวิธีและเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง เราเชื่อว่าไม่นานเกินรอคุณแม่จะกลับมามีหน้าอกที่สวยกระชับอย่างแน่นอนค่ะ
Wanvisa