Search

ปวดท้อง ท้องแข็ง ในช่วงตั้งครรภ์อันตรายหรือไม่? ต้องรับมืออย่างไร?

 

ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ แม่ตั้งครรภ์ยิ่งมีความรู้สึกตึงท้องมากเท่านั้น  แล้วอาการ ปวดท้อง หรือ ท้องแข็ง ระหว่างตั้งครรภ์เป็นอันตรายหรือไม่?

แม่ๆ ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะหากเรารู้ถึงสาเหตุของอาการนี้ และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ย่อมดูแลรักษาได้อย่างแน่นอน ซึ่งบทความนี้อาจช่วยตอบข้อสงสัยในเรื่องนี้ได้ค่ะ

 

สาเหตุของอาการ ปวดท้อง ท้องแข็ง ในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์

รู้หรือไม่ว่า ขนาดของอายุครรภ์ในแต่ละช่วง ทำให้เกิดอาการท้องแข็งที่แตกต่างกันไป ซึ่งทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขด้านสุขภาพของทารกและมารดา ดังนั้น แม่ควรรู้ข้อมูลเบื้องต้นของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องแข็ง เพื่อหาวิธีป้องกันหรือรักษาได้อย่างถูกวิธีและทันเวลา

 

1. อาการปวดท้อง ท้องแข็ง ที่เกิดขึ้นช่วงไตรมาสแรก

ปวดท้อง ท้องแข็ง ตั้งครรภ์ ใกล้คลอด

อาการปวดท้อง หรือ ท้องแข็ง อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แม่เริ่มตั้งครรภ์ไตรมาสแรก โดยอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้

1.1 การขยายตัวและตำแหน่งของมดลูก

โดยปกติมดลูกจะยืดขยายตัวตามขนาดของทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

วิธีการดูแล:

อาการที่เกิดในช่วงนี้ยังถือเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม หากแม่รู้สึกปวดหรือไม่สบายตัวมาก สามารถบรรเทาได้ด้วยการประคบผ้าชุบน้ำอุ่น และพยายามอย่าเคลื่อนไหว หรือ เปลี่ยนท่าทางเร็วเกินไป แม่ควรเคลื่อนไหวช้าๆ อย่างระมัดระวัง  นอกจากนี้แม่ยังอาจใช้ น้ำมันนวดผ่อนคลายของ Mama’s Choice เพื่อนวดบรรเทาอาการปวดที่อาจขยายไปถึงบริเวณเอวและหลังได้

 

1.2 แม่รับประทานมากเกินไป

เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจรู้สึกหิวบ่อยขึ้น จึงอาจรับประทานอาหารมากจนเกินไป ซึ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้คุณแม่บางคนเกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือจุกเสียดขึ้นได้  แต่ไม่เป็นไรนะคะ อาการนี้สามารถจัดการได้ง่ายมากค่ะ

วิธีการดูแล:

หากคุณแม่รู้สึกหิวบ่อย แนะนำให้แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ และรับประทานปริมาณพอดีในแต่ละครั้ง หรือหากคุณแม่บางคนกลัวว่าจะรับประทานมากเกินไป ให้ใช้วิธีตั้งเวลาในการรับประทานให้เป็นกิจจะลักษณะ และเลือกรับประทานเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้น วิธีนี้จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้เป็นปกติ และป้องกันอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือจุกเสียดได้เป็นอย่างดี

 

1.3 สัญญาณของการแท้งบุตร

อาการปวดท้องของแม่ตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะไม่นำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรง ยกเว้นในกรณีที่เกิดอาการปวดท้อง หรือ ท้องแข็งอย่างรุนแรง ประกอบกับการเป็น ตะคริวที่หลังส่วนล่าง และมีเลือดไหลออกจากช่องคลอด เหล่านี้จะเป็นสัญญาณของการแท้งบุตรที่แม่ต้องรู้ไว้

วิธีการดูแล:

หากอาการปวดท้องร่วมกับอาการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คุณแม่ต้องรีบไปพบคุณแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

 

2. อาการปวดท้อง ท้องแข็ง ที่เกิดขึ้นช่วงไตรมาสที่สอง

ปวดท้อง ท้องแข็ง ตั้งครรภ์ ใกล้คลอด

2.1 อาการปวดหน่วงท้องน้อย

ระหว่างตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สอง ท้องของแม่จะมีการยืดขยายหรือหดเกร็งอย่างรวดเร็วของเส้นเอ็นยึดมดลูก (round ligament) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนหน้าของมดลูกกับขาหนีบส่วนที่ติดกับเชิงกราน ยิ่งทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่เท่าใด เส้นเอ็นที่ยึดมดลูกนี้ก็จะยืดตัวออกมากขึ้นเท่านั้น ทำให้แม่มีโอกาสเกิดอาการปวดท้องขึ้นได้ และในบางคนอาจเกิดอาการปวดบริเวณสะดือลงไปที่ช่องท้องส่วนล่าง หรือปวดบริเวณขาหนีบร่วมด้วย

วิธีการดูแล

เพื่อแก้ไขอาการปวดหน่วงท้องน้อย แม่ควรใช้วิธีออกกำลังกายเบาๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  นอกจากนี้ แม่ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น การพลิกตัว หรือ ลุกขึ้นยืน และไม่ควรไอหรือจามอย่างรุนแรง ควรงอสะโพกก่อนที่จะไอ จาม หรือหัวเราะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงดึงกระชากที่เส้นเอ็น

 

2.2 อาหารไม่ย่อย

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในระหว่างตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่สอง อาจมีผลทำให้กระบวนการย่อยอาหารช้าลง ซึ่งจะทำให้แม่เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด และท้องผูกได้ง่าย

วิธีการดูแล:

ดื่มน้ำให้เพียงพอและรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณกากใยอาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

 

2.3 การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

ในช่วงไตรมาสที่สอง ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการให้การได้ยินแล้ว จึงมีการเคลื่อนไหวเพื่อพยายามปฏิสัมพันธ์กับแม่และสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อทารกเคลื่อนไหว ในบางครั้งแม่อาจรู้สึกเจ็บ ท้องตึง หรือท้องแข็ง

วิธีการดูแล:

ทำใจให้สบาย!  การพูดคุยระหว่างแม่และทารกในครรภ์ อาจช่วยให้ทั้งคู่เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้น และเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของแม่ ทำให้จิตใจผ่อนคลาย ไม่จดจ่ออยู่กับความเจ็บปวด

 

3. อาการปวดท้อง ท้องแข็ง ที่เกิดขึ้นช่วงไตรมาสที่สาม

ปวดท้อง ท้องแข็ง ตั้งครรภ์ ใกล้คลอด

3.1 อาการเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องหลอก

หรือ แบรกซ์ ตันฮิกส์  (Braxton hicks contraction) ซึ่งเกิดจากการที่มดลูกบีบตัวเป็นระยะเพื่อให้มดลูกแข็งแรง เป็นการซ้อมการบีบตัวของมดลูกเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการคลอดจริง แม่บางคนอาจจะไม่รู้สึกอะไร หรือรู้สึกถึงแรงบีบเพียงเล็กน้อย  แต่เมื่อคลำดูบริเวณมดลูกจะรู้สึกว่าท้องแข็ง ปกติอาการเจ็บท้องเตือนจะเกิดขึ้นเพียง 1-2 นาที หรืออาจจะเจ็บบ่อยขึ้น หรือนานถึง 5 นาทีได้ในบางครั้ง  นอกจากนี้ การเจ็บท้องที่เกิดจากการบีบตัวของมดลูกยังอาจเกิดได้จากปัจจัยอื่นๆ เช่น  การเคลื่อนไหวของทารก การยกของหนักของแม่ การสัมผัสที่ท้องบ่อยเกินไป การมีเพศสัมพันธ์ กระเพาะปัสสาวะเต็ม หรือร่างกายขาดน้ำ

วิธีการดูแล:

นอนพักผ่อนในท่าที่ถูกต้อง โดยนอนตะแคงซ้าย ใช้หมอนสำหรับคนท้องเพื่อให้รองรับขนาดของท้องอย่างพอดี  และเพื่อช่วยจัดท่านอนให้สบายยิ่งขึ้น ลดกิจกรรมที่ต้องออกแรง ไม่อั้นปัสสาวะ ดื่มน้ำบ่อยๆ หายใจเข้าออกยาวๆ ลึกๆ ช้าๆ  หากแพทย์อนุญาต แม่อาจผ่อนคลายโดยการแช่น้ำอุ่น  และแม่ต้องไม่ลืมที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ตลอดเวลา

 

3.2 อาการท้องแข็งในระยะใกล้คลอด

อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณแม่พร้อมที่จะคลอดเจ้าตัวน้อยแล้ว โดยคุณแม่จะรู้สึกแน่นท้อง ท้องแข็ง ร่วมกับมีอาการปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน หรือปวดหน่วงคล้ายปวดอุจจาระ อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเป็นเพียงการเจ็บท้องเตือน หรือ เจ็บท้องหลอก เท่านั้น แม่จึงควรสังเกตุลักษณะของอาการเพื่อแยกแยะได้ถูก ซึ่งโดยปกติ สัญญาณของการหดตัวของมดลูกเพื่อเตรียมคลอด คือ ภาวะท้องแข็งและเกร็ง ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

    • รู้สึกจุกตรงกลางอก หรือ มีอาการกรดไหลย้อน ที่กินเวลานานและต่อเนื่อง
    • ปวดและรู้สึกเกร็งที่ท้องต่อเนื่อง 45-60 วินาทีโดยไม่หยุด แม้ว่าจะขยับตัวหรือเปลี่ยนท่าทางแล้ว
    • มีการบีบตัวของมดลูกถี่ขึ้น จนแม่มีอาการปวดเกร็งท้องบ่อยขึ้น เช่น จากปวดทุกๆ 10 นาที เร็วขึ้นเป็นทุกๆ 7 นาที  5 นาที และถี่ขึ้นเรื่อยๆ ติดต่อกันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
    • มีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากช่องคลอด
    • มีอาการน้ำเดิน โดยมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ คล้ายน้ำปัสสาวะไหลออกมาทางช่องคลอดจำนวนมาก

วิธีการดูแล:

หากคุณพบอาการเหล่านี้ ให้รีบไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะนี่คือสัญญาณที่ร่างกายบอกว่าแม่พร้อมที่จะคลอดลูกแล้ว

ปวดท้อง ท้องแข็ง

วิธีจัดการกับ อาการ ปวดท้อง ระหว่างตั้งครรภ์

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะความเจ็บปวดต่างๆ อาจทำให้ร่างกายของแม่ขาดน้ำ และคุณแม่ควรเปลี่ยนตำแหน่งการนอนหรือนั่งทุกๆ 15 นาที เพื่อไม่ให้เกิดการกดทับที่ท้อง และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

นอกจากนี้ Mama’s Choice ขอแนะนำให้แม่นวดเบาๆ ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย  โดยเฉพาะบริเวณบั้นเอวและหลัง ซึ่งจะทำให้แม่รู้สึกผ่อนคลายและลดความตึงเครียดของท้องได้ โดยแม่อาจขอให้ผู้ที่ใกล้ชิดช่วยนวด หรืออาจใช้บริการสปาที่มีผู้เชี่ยวชาญในการนวดคนท้อง

ซึ่ง Mama’s Choice Relaxing Massage Oil  เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยให้แม่ได้ผ่อนคลายอย่างปลอดภัย  เพราะน้ำมันนวดของ Mama’s Choice ได้คัดสรร น้ำมันหอมระเหย ที่มีมาตรฐานและปลอดภัยสำหรับแม่ตั้งครรภ์ 100% นอกจากนี้ การผสมผสานกันอย่างลงตัวของสารสกัดจาก ลาเวนเดอร์ เกรปฟรุ๊ต  และ น้ำมันจากผลส้ม ที่ให้ความหอมสดชื่น ช่วยให้แม่รู้สึกสบายตัวและอารมณ์ดีในขณะนวด 

🌟คลิกลิงก์นี้เพื่อซื้อ Mama’s Choice Relaxing Massage Oil ในราคาพิเศษเพียง 239 บาท จากปกติ 299 บาท

 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ปวดท้อง ตอน ตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติหรือไม่?

4 อาการปวดหัวระหว่างตั้งครรภ์ ต้องรับมืออย่างไรถึงจะดีขึ้น?

คนท้อง ปวดหลัง อันตรายหรือไม่ ดูแลอย่างไรให้หายดี


Author Kankanid

Kankanid

Content Manager at Mama's Choice

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า