Search

การขับถ่ายของทารกแรกเกิด ควรถ่ายวันละกี่ครั้ง

รวมข้อมูลเกี่ยวกับ การขับถ่ายของทารกแรกเกิด เด็กควรถ่ายวันละกี่ครั้งกันนะ เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกต้องอย่าลืมมาสังเกตการขับถ่ายของลูกกันนะคะ!

การขับถ่ายเป็นกิจวัตรสำคัญที่สุดในชีวิตของทารกแรกเกิดและเป็นสัญลักษณ์ว่าระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยนั้นทำงานได้อย่างปกติดี การหมั่นคอยสังเกตผ้าอ้อมทุกครั้งและการเข้าใจถึงกระบวนการการขับถ่ายลูกของเราเองจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกได้ดียิ่งขึ้น เพราะถ้าหากผิดปกติก็จะได้สามารถไปพบคุณหมอและรับการรักษาได้อย่างรวดเร็วนั่นเองค่ะ

ในบทความนี้เราจะพูดถึงการขับถ่ายของทารกแรกเกิดให้คุณพ่อคุณแม่ที่พึ่งมีลูกเข้าใจและเตรียมตัวเอาไว้ตามช่วงอายุต่างๆ ค่ะ

 

การขับถ่ายของทารกแรกเกิด

1. การขับถ่ายของทารกแรกเกิด (0-3 วัน)

ในช่วงแรกของทารกแรกเกิด อุจจาระจะเรียกว่า “ขี้เทา” ซึ่งเป็นชื่อของของเสียที่ถูกรวบรวมไว้ในลำไส้เมื่อตอนทารกยังอยู่ในครรภ์แม่ โดยลักษณะจะมีสีเขียวเข้มหรือน้ำตาล

การดูแลลูกในช่วงนี้:

  • ให้ความรักและความอบอุ่น: เนื่องจากลูกน้อยพึ่งเกิดจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากคุณพ่อคุณแม่เป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยกับสภาพแวดล้อมใหม่หลังคลอด
  • หมั่นตรวจสอบการขับถ่าย: คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบการขับถ่ายของลูกเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นปกติ และสังเกตอาการผิดปกติหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย เช่น มีเลือดออก เป็นต้น

 

2. การขับถ่ายของทารกช่วง 4-6 สัปดาห์

ในช่วงเวลานี้ เด็กทารกจะมีการฉี่และขับถ่ายบ่อยขึ้น อาจเป็นสีเหลืองอ่อนและส่วนใหญ่จะถ่ายอุจจาระวันละ 2-5 ครั้ง เนื่องจากช่วงนี้ระบบทางเดินอาหารของลูกกำลังเริ่มพัฒนา

การดูแลลูกในช่วงนี้:

  • การเลือกนมอย่างถูกต้อง: ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตั้งใจจะให้นมเป็นอาหารหลักสำหรับลูก ควรให้นมแม่เป็นอาหารแรกในช่วงนี้เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่สำคัญที่สามารถป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพของลูก
  • สังเกตอาการผิดปกติ: คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมชาติเช่น อาการท้องอืดหรือมีอาการท้องเสีย ถ้ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นควรพูดคุยกับแพทย์เพื่อการประเมินและการรักษาเพิ่มเติม

 

3. การขับถ่ายของทารกช่วง 6 สัปดาห์-3 เดือน

ความถี่ของการขับถ่ายมักจะลดลงจากช่วงเวลาก่อน โดยทารกส่วนมากจะขับถ่ายเพียงวันละครั้ง ซึ่งไม่เป็นปัญหาหากลูกน้อยยังคงมีน้ำหนักที่แข็งแรงปกติ

การดูแลลูกในช่วงนี้:

  • สังเกตอาการท้องเสีย: หากเด็กทารกมีอาการท้องเสียหรือท้องอืด คุณพ่อคุณแม่ควรให้การดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการขาดน้ำหรือขาดสารอาหาร ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการให้น้ำเกลือเพิ่มเติมหรือยารักษาอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย
  • ดูแลรักษาความสะอาด: อาบน้ำเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการดูแลลูกแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมและสะอาดสำหรับการอาบน้ำ รวมถึงเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าที่อ่อนโยนจนแห้ง เพื่อป้องกันการเกิดผดผื่น โดยเฉพาะผื่นผ้าอ้อมเวลาที่ลูกต้องใส่ผ้าอ้อมเป็นเวลานาน

 

การศึกษาวิจัยของปี 2012 โดยวิเคราะห์ความถี่ในการอุจจาระของเด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 3 เดือน จำนวน 600 คน พบว่า

ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ทารกที่กินนมแม่อุจจาระเฉลี่ย 3.65 ครั้งต่อวัน โดย 3 เดือน อุจจาระเฉลี่ย 1.88 ครั้งต่อวัน ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่จะอุจจาระถี่น้อยลงเล็กน้อยในแต่ละช่วงพัฒนาการ

เพราะเด็กๆ มีการขับถ่ายบ่อยมากเลยอยากแนะนำให้พ่อแม่ใช้แผ่นรองฉี่และอุจจาระเด็กแรกเกิดแบบซักได้ จะได้หมดกังวลว่าฉี่และอุจจาระจะซึมออกมาจากผ้าอ้อมและเลอะตามบริเวณต่างๆ

แผ่นรองฉี่เด็ก

ลด 26% เหลือเพียง ฿359 จาก ฿485

shopee button

หมดปัญหาฉี่และสิ่งสกปรกซึมเลอะที่นอนหรือบ้านด้วย Mama’s Choice Comfy Waterproof Mat

✅ ทำจากผ้าคอตตอน ปลอดภัยต่อผิวบอบบาง 100%

✅ ดูดซับได้อย่างรวดเร็วภายใน <5 วินาที

✅ หนา 5 ชั้นป้องกันการรั่วไหลได้หมดจด

✅ คุณสมบัติกันลื่นไม่เลื่อนขยับได้ง่าย ช่วยลดอุบัติเหตุเด็กลื่นล้ม

✅ ใช้งานแบบมัลติฟังก์ชัน กะทัดรัด พกพาสะดวกใช้งานได้ทุกที่

✅ ทำความสะอาดด้วยเครื่องซักผ้าได้ ทนทานใช้ซ้ำได้นาน

 

การขับถ่ายที่ผิดปกติของเด็กทารก

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอุจจาระของลูกน้อยทุกครั้ง และถ้าหากมีความผิดปกติดังต่อไปนี้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมค่ะ

  • อุจจาระสีน้ำตาลแดงหรือเลือด
  • อุจจาระสีดำหลังจากที่ลูกของคุณผ่านขี้เทาไปแล้ว (ปกติหลังจากวันที่สี่)
  • อุจจาระสีขาวหรือสีเทา
  • อุจจาระมากผิดปกติเทียบกับวันอื่นๆ
  • อุจจาระมีมูกหรือน้ำจำนวนมาก

หากเด็กทารกแรกมีอาการท้องเสียหรือท้องร่วงในช่วงสองสามเดือนแรก อาจเป็นเพราะไวรัสหรือแบคทีเรีย และมักจะมาพร้อมกับภาวะขาดน้ำเมื่อท้องเสียด้วยเช่นกัน

การให้นมกับลูกน้อยก็อาจทำให้มีอาการท้องผูก อุจจาระแข็ง มีปัญหาในการถ่ายอุจจาระได้ด้วย หรือก็อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยยังกินได้ไม่เพียงพอ

 

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรมีความเข้าใจและหมั่นสังเกตการขับถ่ายของลูกอยู่เสมอ รวมถึงอย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหาที่ไม่แน่ใจ เพราะสุขภาพของลูกคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อจะได้เติบโตได้อย่างแข็งแรงต่อไป 🙂

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

สาเหตุลูกไม่หลับและวิธีแก้ไข ปัญหาเด็กนอนไม่หลับ

ผื่นในเด็ก ที่เกิดบ่อยพร้อมวิธีป้องกันผื่นให้หายไป

วิธีเลือกซื้อ เสื้อผ้าเด็กอ่อน สวมใส่ง่าย ปลอดภัยกับลูก

 

 

อ้างอิง:

medicalnewstoday

healthline

Author natkamon

natkamon

COMMENTS

0 Comments
Leave a comment

Your Cart (0)

Close

เพิ่ม ฿300.00 เพื่อรับสิทธิในการจัดส่งฟรี!

Mini Cart

ตะกร้าสินค้าของคุณว่างเปล่า

Shop now

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า